18/12/61

|

อ่านแล้ว 368 ครั้ง

หลักเกณฑ์ประกัน ที่ใช้ลดหย่อนภาษี 2561

หลักเกณฑ์ ลดหย่อนภาษี 2561 ที่ผู้เสียภาษีควรรู้

 
ในช่วงสิ้นปีถือเป็นช่วงที่ มนุษย์เงินเดือน หรือ บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ ต้องจัดการวางแผนในเรื่องของการจ่ายภาษี สำหรับการยื่นภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาของปี 2561 ในช่วงต้นปี 2562 ที่จะถึงนี้ การลดหย่อนภาษี คืออะไร? การลดหย่อนภาษี คือการที่ให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีเพื่อบรรเทาภาระสำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีให้ การเสียภาษีนั้นน้อยลง หรือ อาจเป็นรูปแบบของภาษีเงินคืนที่เพิ่มขึ้น เมื่อคำนวณตามอัตราของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหากต้องการลดในส่วนของค่าภาษีลงนั้นก็ต้องใช้จ่ายในรูปแบบอื่น เพื่อเป็นการลดหย่อนภาษีนั้นเองโดยมีเกณฑ์กำหนดไว้อย่างชัดเจน เช่น การทำประกัน การช้อปช่วยชาติ หรือ แม้แต่การเลี้ยงดูบุตรเป็นต้น
 
หลักเกณฑ์ประกัน ที่ใช้ลดหย่อนภาษี
 
ซึ่งไม่ใช่ใครก็สามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่จ่ายภาษีต้องมีการคำนวณในส่วนของรายได้สุทธิตลอดทั้งปีของผู้ยื่นภาษี ว่าอยู่ไหนขั้นไหนสำหรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ต้องใช้ยื่นในแต่ละปี แต่ก็ไม่ใช่ว่ามีเงินเดือนน้อยแล้วไม่ต้องยื่น เพราะทางกรมสรรพากรได้มีการกำหนดให้ผู้มีรายได้ แม้ไม่ถึงเกณฑ์ก็ต้องมีการเสียภาษี และยื่นแบบแสดงรายได้เช่นเดียวกัน
 
สำหรับคนโสด
หากมีรายได้จากการจ้างงาน เพียงประเภทเดียวต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินเกินได้ 120,000 บาท หรือหากมีเงินได้ประเภทอื่น หรือ ในกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
 
สำหรับคนมีคู่
หากมีเงินได้จากการจ้างแรงงานเพียงประเภทเดียวต้องยื่นแบบภาษี เมื่อมีเงินได้เกิน 220,000 บาท หรือหากมีเงินได้ประเภทอื่น หรือ ในกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน จะต้องยื่นแบบภาษีเมื่อมีเงินได้เกิน 120,000 บาท
 
สำหรับปี 2561 จะยังใช้โครสร้างในส่วนของภาษีบุคคลธรรมดาเหมือนกับปี 2560 ซึ่งกำหนดอัตราการเสียภาษีเป็นรูปแบบขั้นบันได เริ่มตั้งแต่ 5 – 35 % เช่นเดิม สำหรับผู้ที่มีรายได้สุทธิที่ไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีเฉกเช่นเดิม โดยมีการเพิ่มค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้อยู่ที่ 60,000 บาท สำหรับคู่สมรส 60,000 บาท สำหรับการเลี้ยงดูบุตร 30,000 บาท
 

ตารางภาษี 2562 (ปีภาษี 2561)

 
เงินได้สุทธิ
อัตราภาษี
0 – 150,000
ยกเว้น
150,001 - 300,000
5%
300,001 - 500,000
10%
500,001 - 750,000
15%
750,001 – 1,000,000
20%
1,000,001 - 2,000,000
25%
2,000,001 - 5,000,000
30%
5,000,001 – 9,999,999,999
35%
 
 
นอกจาการลดหย่อนภาษีในส่วนเงินได้สุทธิของตัวเองแล้วนั้น ยังมีในส่วนการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมเข้ามาอีกหลายประเภท จะแบ่งเป็นอะไรบ้าง และ มีเกณฑ์แบบไหนไปดู
 
กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
• ลดหย่อนส่วนบุคคล ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท
• ลดหย่อนจากคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ ใช้ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท สำหรับสามี-ภรรยา ที่จดทะเบียนสมรส โดยเลือกนำมาคำนวนภาษีพร้อมกัน
• ลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ คนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 3 คน ในช่วงปีภาษีนั้น บุตรต้องมีอายุอยู่ระหว่างแรกเกิดจนถึง 20 ปี หากมีอายุ 21-25 ปี ต้องกำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป ในปีภาษีนั้น
 
อุปการะเลี้ยงดูบิดา - มารดา
• ลดหย่อนจากบิดา – มารดาของตัวเอง และ บิดา-มารดา ของคู่สมรส ได้คนละ 30,000 บาท มากสุดไม่เกิน 4 คน บิดา-มารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ในปีภาษีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท
• อุปการะคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ใช้ลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 60,000 บาท หากเป็นผู้ที่ดูแลคนพิการตามกฎหมาย
• ฝากครรภ์และคลอดบุตร ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาล จากการตั้งครรภ์และคลอดบุตร ค่าตรวจครรภ์ รับฝากครรภ์ ค่าทำคลอด  ค่ายาและค่าเวชภัณฑ์ หักค่าใช้จ่ายตามจริง สูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท
 

กลุ่มประกัน การลงทุน และ เงินออม

ประกันสังคม
• ลดหย่อนได้ตามจริงตามที่จ่ายไป สูงสุดปีละ 9,000 บาท
 

ประกันชีวิต
• ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้ผลตอบแทนคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสม
• ประกันชีวิตบำนาญ สามารถลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้ ซึ่งจะไม่เกิน 200,000 บาท ต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเป็นกรมธรรม์จากบริษัทประกันชีวิตที่ดำเนินกิจการในไทย
 

ประกันสุขภาพ
• ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี ซึ่งเมื่อรวมเบี้ยประกันชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องเป็นประกันที่ ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่เกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยในส่วนของการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ ประกันภัยโรคร้ายแรง เป็นต้น

 
เบี้ยประกันสุขภาพบิดา - มารดา
• ประกันสุขภาพของบิดา-มารดาสำหรับผู้มีเงินได้ ก็สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
 
 
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ Long term equity fund (LTF)
• สามารถนำจำนวนเงินที่ซื้อกองทุนมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
 
 
สำหรับในด้านของการเลือกทำประกันเพื่อนำไปลดหย่อนภาษี สามารถเลือกดูในส่วนผลิตภัณฑ์ของ TQM เพราะมีรองรับ ในส่วนของประกันมนุษย์เงินเดือน ประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต ที่ให้คุณได้เลือกประกันที่ดีที่สุด เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีของคุณในปี 2562
 
 
 READ MORE : 
 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล