เมื่อมีการเตือนภัยพิบัติเกิดขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง คือ
การเตรียมพร้อมรับมือกับน้ำท่วม ซึ่งในช่วงฤดูฝน เรามักจะเจอกับพายุฝนที่ทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ เสี่ยงต่อการเกิด
ปัญหาน้ำท่วม และ
น้ำป่าไหลหลาก ซึ่งทางกรมอุตุนิยมวิทยาจะมีการประกาศเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยง และหากเราเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่นั้น จึงควรมีการเตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เกิดความเสียน้อยที่สุด และสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ดี วันนี้พี่หมี
TQM จึงนำ
วิธีเตรียมความพร้อมก่อนเจอน้ำท่วมบ้านมากฝากครับ
7 วิธีเตรียมความพร้อมก่อนเจอน้ำท่วมบ้าน
การเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า จะช่วยให้เราสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ดี โดยเราสามารถเตรียมความพร้อมได้ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้
1. ติดตามข่าวสาร และสถานการณ์น้ำท่วม จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งสัญญาณเตือนความผิดปกติต่างๆ โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน อย่างสม่ำเสมอ
2. จัดเตรียมน้ำสะอาด อาหารกระป๋องหรืออาหารแห้ง ยาที่จำเป็นต่างๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาหยอดตา ยาใส่แผล ผงน้ำตาลเกลือแร่ ยาประจำตัวของผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้ชีวิต เช่น อุปกรณ์การสื่อสารพร้อมแบตเตอรี่สำรอง อุปกรณ์ชูชีพ เช่น ห่วงยาง ไฟฉายหรือเทียนไข ไม้ขีดไฟ ถุงใส่ขยะหรือถุงพลาสติกให้เพียงพอ ให้สามารถยังชีพได้อย่างน้อย 3 ถึง 5 วัน และจดเบอร์โทรฉุกเฉินที่จำเป็นไว้ คือ หมายเลข 1669 ขอความช่วยเหลือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหมายเลข 1784 และสายด่วนกรมควบคุมโรคหมายเลข 1422 ปรึกษากรณีเจ็บป่วย ตลอด 24 ชั่วโมง
3. ศึกษาแผนปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินของหมู่บ้าน หรือในชุมชน เกี่ยวกับสัญญานเตือนภัยต่างๆ การติดต่อสื่อสาร เส้นทางอพยพและสถานที่ตั้งที่พักฉุกเฉินหรือศูนย์อพยพในพื้นที่
4. จัดเตรียมช่องทาง หรือเบอร์โทรศัพท์ติดต่อกับหน่วยงานกู้ภัยในท้องถิ่น ชุมชน ในกรณีต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะบ้านที่มีกลุ่มเสี่ยงได้รับอันตรายจากน้ำท่วม เช่น เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการ
5. หากมีสัตว์เลี้ยง ให้จัดเตรียมสิ่งของจำเป็นสำหรับการดูแลสัตว์ เช่น อาหาร พื้นที่หลบภัยสำหรับสัตว์ รวมทั้งการป้องกันโรคที่อาจเกิดมาจากสัตว์สู่คน เช่นโรคฉี่หนู เป็นต้น
6. การจัดเตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้าภายในบ้าน หรือระบบไฟสำรอง รวมทั้งถุงบรรจุทรายเพื่อป้องกันน้ำท่วม หากจำเป็น ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ควรเคลื่อนย้ายไปไว้ในจุดที่ปลอดภัยน้ำท่วมไม่ถึงและติดตั้งให้มั่นคง ป้องกันการหล่นน้ำขณะใช้งาน เช่นพัดลม หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เป็นต้น พร้อมทั้งยกระดับปลั๊กไฟฟ้าให้สูงขึ้นจากพื้นที่ที่คิดว่าอาจเสี่ยงต่อน้ำท่วมประมาณ 1-2 เมตร หากไม่สามารถยกระดับปลั๊กไฟได้ ให้ใช้วิธีตัดวงจรไฟฟ้าที่เต้ารับหรือสวิทช์หลักที่น้ำท่วมถึง รวมทั้งตัดวงจรไฟฟ้าโคมไฟที่รั้วบ้าน โคมไฟที่สนาม ไฟกริ่ง และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆที่เดินสายไฟฝังอยู่ใต้ดิน ในกรณีที่ประเมินความเสี่ยงแล้วว่าน้ำอาจท่วม เพื่อป้องกระแสไฟฟ้ารั่วหรือไฟดูดขณะมีน้ำท่วมเกิดขึ้น
7. มองหาหลักประกันเพื่อเยียวยาหลังน้ำลด หมายถึง การทำประกันภัยที่จะเข้ามาช่วยชดเชยค่าเสียหายของทรัพย์สินหลังน้ำลดแล้ว เช่น ประกันบ้าน คุ้มครองบ้านและสิ่งของภายในบ้านจากภัยน้ำท่วม และ ประกันรถยนต์ชั้น 1 คุ้มครองกรณีน้ำท่วมรถ เช็คราคาและความเสี่ยงก่อนทำประกัน
สิ่งที่ต้องระวังระหว่างอพยพหนีน้ำท่วม
1. ห้ามเดินตามเส้นทางที่น้ำไหล เพราะหากน้ำมีความเชี่ยวของกระแสน้ำ อาจทำให้เสียหลักและล้มได้
2. ห้ามขับรถในพื้นที่ที่น้ำกำลังท่วม เพื่อลดความเสี่ยงในการจมน้ำ
3. ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ เนื่องจากน้ำเป็นสื่อนำกระแสไฟได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมในพื้นที่ของคุณ สิ่งสำคัญอย่างแรกคือ การตั้งสติให้ดี เพื่อวางแผนเตรียมพร้อมรับมือ ไม่ควรประมาทว่าน้ำจะไม่ท่วม เพราะเวลาน้ำมา เพียงชั่วพริบตา ระดับน้ำก็สามารถสูงเกินกว่าจะอาศัยอยู่ได้ การปกป้องที่อยู่อาศัยและของมีค่าภายในบ้านจึงควรมีหลักประกันที่คุ้มครองครอบคลุมอย่าง ประกันบ้าน คุ้มครองทั้งบ้าน ชีวิต และทรัพย์สิน ให้คุณอุ่นใจยามเกิดภัยต่อบ้าน เช็คความเสี่ยงบ้านพร้อมเลือกแผนประกันภัยบ้านที่เหมาะสม คลิกที่นี่เลย หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 1737 พี่หมียินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข