02/08/62

|

อ่านแล้ว 700 ครั้ง

รับหิ้วของต่างประเทศเสียภาษีเท่าไหร่

หิ้วเก่ง! ปี 2562 นี้รับหิ้วแบบไหน เสียภาษี และต้องเสียเท่าไหร่?

     การเดินทางต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องง่ายในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น นอกจากการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศแล้ว เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเราเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ต้องมีการซื้อสินค้าต่างๆ กลับมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นของฝากให้เพื่อน ญาติ คนรู้ใจ หรือ สิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ เป็นต้น และในวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมาทางกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า ได้มีการทบทวนเรื่องการยกเว้นภาษีพัสดุไปรษณีย์จากต่างประเทศ และ สินค้านำเข้าทางไปรษณีย์และพัสดุเร่งด่วน ที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาท จะมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%(VAT) เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีเป็นจำนวนไม่น้อย โดยจะเริ่มการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มการนำเข้าสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2562 โดยเบื้องต้นอาจจะแยกกลุ่มของการเก็บภาษี ซึ่งจะแบ่งเป็น
-  สำหรับคนที่สั่งซื้อสินค้าราคาต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อนำมาใช้ส่วนตัวเป็นของตัวเองจะได้รับยกเว้นภาษี
-  สำหรับนำเข้ามาเพื่อค้าขาย ถึงแม้จะต่ำกว่าราคา 1,500 บาท จะต้องเสียภาษีทั้งหมดไม่มียกเว้น
 
รับหิ้วสินค้าต่างประเทศ ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
 
     นอกจากการสั่งซื้อออนไลน์แล้ว การเลือกซื้อสินค้าต่างๆ เข้ามาด้วยตัวเอง ก็มีข้อกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกัน ซึ่งทุกวันนี้มีความเข้มงวดในส่วนของการเก็บภาษีขาเข้าสำหรับผู้ที่เดินทางโดยท่าอากาศยาน โดยการแสกนกระเป๋าเดินทางทุกใบ พร้อมทั้งทางเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบวัตถุต้องห้ามในการนำเข้า อย่าง ยาเสพติด และสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีสำหรับสินค้านำเข้า โดยที่ผู้โดยสารได้รับยกเว้นอากรสำหรับของส่วนตัวเพื่อใช้เอง หรือใช้ในวิชาชีพมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท และต้องไม่เป็นของต้องห้าม และของต้องมีใบอนุญาต ได้แก่ ยาและอาหารเสริม สัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง อาวุธปืน พืช และโดรน สำหรับผู้โดยสารที่นำของที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท หรือของที่เป็นลักษณะเชิงพาณิชย์ถึงแม้จะมีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ต้องเสียภาษีอากร
 

วิธีการคำนวณค่าภาษี

     สำหรับอัตราภาษีอากรนำเข้า จะแตกต่างกันตามชนิดและประเภทสินค้า อาทิ กระเป๋า 20% นาฬิกา 5% เครื่องสำอาง 30% เข็มขัด 30% เป็นต้น และ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คำนวณได้ดังนี้
 
ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ= อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
ตารางอัตราภาษีอากรนำเข้าจากกรมศุลกากร
 
หิ้วของแบบไหนไม่เสียภาษี
     สำหรับผู้โดยสารที่ไม่มีของต้องสำแดง ของส่วนตัวมูลค่า ไม่เกิน 20,000 บาท และเป็นของที่ไม่มีลักษณะที่เป็นลักษณะทางการค้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 ลิตร หากบุหรี่สามารถนำเข้าได้ บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือ ซิการ์ หรือยาเส้นอย่างละ 250 กรัม หรือ หลายชนิดรวมกันมีน้ำหนักทั้งหมด 250 กรัม แต่อย่างไรก็ตามบุหรี่ต้องไม่เกิน 200 มวน
 
ขั้นตอนการผ่านศุลกากรช่องแดง (ผู้โดยสารที่มีของต้องสำแดง ของส่วนตัวที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท)
 
• นำกระเป๋าสัมภาระไปพบเจ้าหน้าที่
• เปิดกระเป๋าให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสัมภาระและสิ่งของ
• ศุลกากรนำไปประเมินราคาและภาษีอากร
• ชำระภาษีอาการ และรับใบเสร็จ
 
เลือกซื้อสินค้าจากต่างประเทศอัตราการเสียภาษี
 
     ก่อนเดินทางออกไปท่องเที่ยวทุกครั้งควรตรวจสอบข้อกฎหมาย และภาษีต่างๆ หากมีแพลนจะเลือกซื้อสินค้าต่างๆ กลับเข้ามาในประเทศว่าเป็นสินค้ามูลค่าสูงหรือไม่ หรือ ซื้อของฝากแบบเหมาะสม และสำหรับสายหิ้วก็ต้องเตรียมความพร้อมในการจ่ายค่าภาษีนำเข้าอากรเช่นเดียวกัน และที่สำคัญทุกครั้งที่เดินทางท่องเที่ยวก็อย่าลืมเลือกทำประกันเดินทางเพื่อความอุ่นใจและการป้องกันการเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ในระหว่างเดินทางจะดีที่สุดนะครับ สนใจเช็คเบี้ยประกันเดินทางกับเรา คลิกเลย โปรโมชั่นประกันเดินทาง
 
ข้อมูลจาก กรมศุลกากร : The Customs Department
 
 READ MORE : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลการเดินทาง

เส้นทางการเดินทาง *

ในประเทศ
ต่างประเทศ

รูปแบบการเดินทาง *

รายเที่ยว
รายปี

จำนวนคนเดินทางทริปนี้

ประเทศปลายทาง *

วันเดินทางไป *

วันเดินทางกลับ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล