ขาดต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เสียค่าปรับไหม
ผู้ที่ใช้รถยนต์คงทราบกันดีกว่า ในทุกๆปี จะต้องทำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นข้อบังคับที่รถทุกคัน ทุกประเภทต้องทำ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ขึ้นมา ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองนั่นเอง แต่เมื่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น ทำให้หลายคนลืมต่อ พ.ร.บ. หรือเมื่อนึกขึ้นได้ พ.ร.บ. ก็หมดอายุไปเสียแล้ว พอเกิดเหตุแบบนี้ จึงเกิดเป็นคำถามว่า ขาดต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เสียค่าปรับไหม วันนี้พี่หมี TQM จะพาไปหาคำตอบกันครับ
พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร
พ.ร.บ. รถยนต์ คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับที่รถทุกคันต้องทำ ซึ่งเป็นข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อให้ความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับผลจากอุบัติเหตุ ซึ่งตัวบุคคลที่ว่านั้นหมายถึง ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยจะได้รับเป็นเงินค่าชดเชยความเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทน
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกปี แล้วได้อะไร
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่าเสียหายที่ผู้เคลมประกัน พ.ร.บ. รถยนต์ สามารถเบิกได้โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด โดยสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นภายใน 7 วัน ดังนี้
-
ค่ารักษาพยาบาล (จ่ายตามจริง) สูงสุด 30,000 บาทต่อคน
-
กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร 35,000 บาทต่อคน
2. ค่าสินไหมทดแทน
-
ค่าสินไหมทดแทน เป็นค่าเสียหายที่ผู้เคลมประกัน พ.ร.บ. รถยนต์จะได้รับหลังจากมีพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูกตามกฎหมาย โดยสามารถเบิกค่าสินไหมทดแทนได้ดังนี้
-
ค่ารักษาพยาบาล สูงสุดคนละ 80,000 บาท
-
กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป หรือทุพพลภาพถาวร 300,000 บาทต่อคน
-
สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
-
สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่นิ้วเดียวขึ้นไป 200,000 บาท
-
กรณีนอนโรงพยาบาล รับเงินชดเชย 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน
ค่าใช้จ่ายสำหรับพ.ร.บ.รถยนต์
สำหรับค่าใช้จ่ายของพ.ร.บ รถยนต์ ต่อปี (รวมค่าอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
รถยนต์เก๋ง ที่นั่งไม่เกิน 7 คน 645.21 บาท
-
รถยนต์กระบะ น้ำหนักไม่เกิน 3 ตัน 967.28 บาท
-
รถตู้ ที่นั่งเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,182.35 บาท
ขาดต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ เสียค่าปรับไหม
การขาดต่อพ.ร.บ. รถยนต์ไม่ได้มีค่าปรับในการต่อ พ.ร.บ. อีกครั้ง เพียงแต่จะส่งผลให้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรเรียกตรวจระหว่างที่ใช้รถยนต์ แล้วเจ้าของรถจะต้องแสดงหลักฐาน พ.ร.บ. หากไม่มีหลักฐานแสดงหรือขาดต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ก็จะโดนปรับนั่นเอง ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ไม่คุ้มเอาเสียเลย
นอกจากจะโดนเสียค่าปรับเมื่อถูกตรวจพบแล้ว หากใครไม่ได้ต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถเสียภาษี หรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้อีกด้วย และเมื่อไม่ได้เสียภาษีรถยนต์หรือปล่อยให้ทะเบียนขาด จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือน
ทางที่ดีต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ล่วงหน้าจะดีที่สุด เพราะทำให้ไม่ทำให้โดนปรับแล้วยังได้รับความคุ้มครองความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย แต่เดี๋ยวนี้การต่อพ.ร.บ. เป็นเรื่องที่สะดวกและง่ายขึ้น ด้วยการทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ควบคู่มากับการทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ต่อประกันพร้อมกันให้คุณไม่ต้องกังวลว่าจะขาดต่อ พ.ร.บ.รถยนต์อีกเลย สนใจเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ คลิกเลย
www.tqm.co.th