29/10/62

|

อ่านแล้ว 552 ครั้ง

ประกันแบบไหน ใช้ลดหย่อนภาษีได้

ซื้อประกัน ช่วยให้คุณจ่ายภาษีน้อยลง

     เผลอแปปเดียวใกล้สิ้นปีแล้ว เรียกได้ว่าเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกใช้สิทธิทางการเงินเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีในปี 2562 นี้ แต่สำหรับใครที่ยังไม่ได้วางแผน วันนี้พี่หมีมีแนะนำสำหรับ ประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ มาฝากกัน พร้อมจำนวนการลดหย่อนที่จะทำให้เพื่อนๆ เสียภาษีรายได้ต่อปีน้อยลง หรือได้เงินคืนนั่นเอง จะมีประกันอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ประกันที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ 

1. ประกันชีวิต
2. ประกันสุขภาพ
3. ประกันมะเร็ง / โรคร้ายแรง

1. ประกันชีวิต

     ประกันชีวิต เป็นการสร้างหลักประกันและความมั่นคงให้กับผู้ทำประกันชีวิตและครอบครัว โดยสามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. ประกันชีวิตแบบทั่วไป แบ่งออกเป็น 4 แบบ
1.1 ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) คือ ประกันชีวิตที่เน้นความคุ้มครองระยะยาว ซึ่งกลุ่มนี้จะไม่มีเงินคืนระหว่างทาง หรือถ้ามีก็จะมีแต่การจ่ายปันผล 
1.2 ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) คือ ประกันชีวิตที่เน้นความคุ้มครองระยะสั้น สามาระเลือกช่วงเวลาจ่ายเบี้ยและรับความคุ้มครองได้เอง แต่จะไม่ได้เงินคืน คล้ายๆ กับประกันรถยนต์ที่จ่ายแล้วจ่ายเลย
1.3 ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment) คือ ประกันชีวิตที่เน้นการออมเงินโดยได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้ 
1.4 ประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit-Linked) คือ ประกันชีวิตที่คุ้มครองชีวิต พร้อมให้ผลตอบแทนเพิ่มจากการลงทุน โดยค่าเบี้ยประกันชีวิตนำมาลดหย่อนได้ แต่ส่วนของการลงทุนไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
 
     โดยประกันชีวิตแบบทั่วไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษีจะต้องเป็นเบี้ยตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
 
ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้
 
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แบ่งออกเป็น 3 กรณี 
2.1 ลดหย่อนได้สูงสุด 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
2.2 ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท (กรณีไม่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป)
2.3 ประกันชีวิตแบบบำนาญรวมกับ RMF / กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน / กองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
 
     ส่วนในกรณีที่ผู้ทำประกันชีวิตแบบทำสัญญาเพิ่มเติม เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตมาลดหย่อนภาษีได้เท่านั้น ไม่สามารถนำเบี้ยประกันที่เป็นสัญญาเพิ่มเติมมาลดหย่อนภาษีได้

ข้อควรระวังของการทำประกันชีวิต

1. ต้องเป็นเบี้ยประกันที่ผู้ทำประกันได้จ่ายไปในปีภาษีนั้นๆ
2. กรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
3. ต้องทำประกันกับบริษัทประกันชีวิตหรือทำผ่านโบรคเกอร์ในประเทศไทยเท่านั้น
4. กรณีมีจ่ายเงินคืน เงินคืน หมายถึง เงินที่บริษัทประกันสัญญา ว่าจะคืนให้เราเมื่อครบกำหนดตามระยะเวลาและเป็นจำนวนที่แน่นอน โดยส่วนใหญ่จะคิดจากทุนประกันเป็นหลัก เช่น รับเงินคืน 6,000 บาททุกๆ 2 ปี
- จ่ายเงินคืนระหว่างปีในทุกปี เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี
- จ่ายเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา

2. ประกันสุขภาพ

     ประกันสุขภาพ เป็นประกันที่คุ้มครองในส่วนของการรักษาพยาบาลที่เกิดจากการเจ็บปวดและบาดเจ็บ เช่น ค่ารักษา ค่ายา ค่าห้อง ค่าอาหาร จนกระทั่งชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะ ซึ่งเบี้ยที่จ่ายสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ แต่นั้นก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น เพราะหลักๆ แล้ว สิ่งที่จะได้จากการทำประกันสขภาพ คือ การกระจายความเสี่ยงทางการเงิน หากในอนาคตเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงลิบ อย่างน้อยก็มี ประกันสุขภาพช่วยชดเชยค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ เช่นเดียวกับ ประกันสุขภาพฉบับมนุษย์เงินเดือน ที่คุ้มครองสูงสุด 400,000 บาท ผ่อน0% ไม่ต้องสำรองจ่าย เจ็บป่วยแค่ไหน ก็ไม่กระทบเงินเก็บ สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก ประกันสุขภาพมนุษย์เงินเดือน
 
ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีได้

ประกันสุขภาพที่สามารถลดหย่อนภาษี ได้แก่ 

1. ประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี แต่หากทำร่วมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป จะใช้ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท หรือทำร่วมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ จะใช้ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 215,000 บาทต่อปี
2. ประกันสุขภาพพ่อ-แม่ สามารถนำมาใช้เป็นค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี หมายถึง ลดหย่อนพ่อได้ไม่เกิน 15,000 บาท แม่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขทางภาษีดังนี้
2.1 ผู้เสียภาษีต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของพ่อและแม่
2.2 พ่อแม่ต้องมีรายได้ทั้งปีภาษีของแต่ละคนไม่เกิน 30,000 บาท
2.3 พ่อแม่ต้องเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้นๆ
2.4 เป็นความคุ้มครองพ่อแม่อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สุขภาพ อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง เป็นต้น
3. ประกันสุขภาพของคู่สมรส กรณีคู่สมรสไม่มีเงินได้ เราสามารถนำเบี้ยมาลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี

3. ประกันมะเร็ง หรือประกันโรคร้ายแรง

     ประกันโรคร้ายแรง เป็นประกันที่จำกัดความคุ้มครองเฉพาะโรคที่กำหนด ทำให้เบี้ยประกันถูกกว่าเบี้ยประกันสุขภาพ แต่ในขณะเดียวกัน ประกันมะเร็งสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปีเหมือนประกันสุขภาพ แต่ที่สำคัญคือ มะเร็งเป็นภัยร้ายไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่เราสามารถเตรียมความพร้อมทางการเงินไว้ก่อน ด้วยประกันมะเร็ง หรือประกันโรคร้ายแรง ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษา เช่นเดียวกับ ประกันภัยโรคมะเร็งหมดห่วง "เจอ จ่าย จบ"  ลดความเสี่ยงเรื่องค่ารักษา คุ้มครองสูงสุด 5 ล้านบาท ผ่อน0% นาน 12 เดือน สนใจดูรายละเอียดเพิ่ม เติม คลิกเลย ประกันภัยโรคมะเร็งหมดห่วง
 
ประกันมะเร็ง ลดหย่อนภาษีได้

ใช้ประกันลดหย่อนภาษี ต้องแจ้งบริษัทประกันก่อน

     หากเพื่อนๆ ต้องการใช้เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรง ต้องแจ้งบริษัทประกันก่อน เพราะต้องทำการกรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์เพื่อเป็นการยินยอมให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลเราและเป็นหลักฐานยื่นต่อกรมสรรพากร 
 
     สุดท้ายแล้ว ถ้าใครยังสับสนอยู่ว่า ควรซื่อประกันตัวไหน จึงจะเหมาะสมกับตัวเอง และใช้ลดหย่อนภาษีได้ แนะนำให้ปรึกษา พี่หมี TQM เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่องประกันภัย ช่วยค้นหาแผนประกันที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณได้  โทรเลย 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือ แชทกับพี่หมีได้ที่นี่เลย
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล