29/03/62

|

อ่านแล้ว 1,691 ครั้ง

เมาแล้วขับ บำเพ็ญประโยชน์กี่ชั่วโมง

ปี 62 เมาแล้วขับ มีโทษอะไรบ้าง

     ใกล้ถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์กันแล้ว อย่างที่ทราบกันดีว่าในช่วงเทศกาลจะมีสถิติต่างๆ ในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มมากขึ้น รวมถึงช่วง 7 วันอันตราย ที่มีการควบคุมมาตรการต่างๆบนท้องถนนอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและยอดผู้เสียชีวิตจากช่วงเทศกาลที่อาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่นั้นเกิดขึ้นจากการเมาแล้วขับสูงที่สุด
 
     ซึ่งเมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมาได้มีข่าวที่แพร่หลายออกมาว่าหากเมาแล้วขับ ปรับแล้วจำคุกได้เลย ไม่ต้องรอลงอาญาหรือคุมความประพฤติ ซึ่งทางเลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับได้ออกมากล่าวว่า ไม่เป็นความจริง เพราะเมาแล้วขับเป็นความผิดทางอาญา เจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อจับกุมผู้กระทำผิดได้นั้นต้องทำสำนวนส่งอัยการฟ้องศาลเพื่อรับโทษต่อไป ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 ระบุว่า ห้ามมิให้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา หรือ ของเมาอย่างอื่นๆ และมีการเพิ่มโทษให้หนักขึ้น กับ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 ระบุว่า ผู้ที่มีระดับแอลกอฮอล์เกิน 50 มิลลิกรัม จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 – 20,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ เพิกถอนใบขับขี่ และศาลสามารถยึดรถได้ไม่เกิน 7 วัน
 
ปี 62 เมาแล้วขับ มีโทษ
 
โทษเมาแล้วขับจนเกิดเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทางร่างกายและจิตใจ
 • มีโทษจำคุก 1-5 ปี โทษปรับตั้งแต่ 20,000 – 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ได้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
 
โทษเมาแล้วขับจนเกิดเหตุทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายอย่างสาหัส
• มีโทษจำคุก 2-6 ปี มีโทษปรับตั้งแต่ 40,000 – 120,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และ ศาลสามารถสั่งพักใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือถูกเพิกถอนใบขับขี่
 
โทษเมาแล้วขับจนเกิดเหตุทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
• มีโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000 – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและสามารถเพิกถอนใบขับขี่ได้เลย
 
     หลังจากโดนข้อหาเมาแล้วขับแล้วนั้น นอกจากเสียค่าปรับ ต้องทำการอบรม รายงานตัว และยังต้องมีเครื่องติดตามตัว อีกทั้งยังต้องบำเพ็ญประโยชน์ โดยทางด้านกรมคุมประพฤติกล่าวว่า ส่วนใหญ่ศาลจะกำหนดเงื่อนไขการคุมประพฤติ หลังจากจ่ายในส่วนของค่าปรับข้อหาเมาแล้วขับ ด้วยการคุมความประพฤติ 1 ปี  รายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 4 ครั้ง ทำงานบริการสังคม 24 ชั่วโมง และเงื่อนไขอื่นๆ อาทิ การอบรมระเบียบวินัยจราจร ห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และ ห้ามออกจากบ้านในช่วงเวลาที่กำหนด โดยใช้เครื่องติดตามที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (EM) ที่เป็นเครื่องติดตามตัว
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมคุมประพฤติ www.probation.go.th
 
สำหรับการติดอุปกรณ์ตามตัวนั้นต้องห้ามออกจากที่พักตั้งแต่ช่วงเวลา 22.00 – 04.00 น. ถ้าออกจากที่พักในช่วงเวลานั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? 
 
ปี 62 เมาแล้วขับ มีโทษ
 
     จากผู้ที่เคยถูกควบคุมการประพฤติในกรณีเมาแล้วขับกล่าวว่า ตัวเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (LM) ไม่สามารถถอดออกเองได้ ถ้าต้องการเอาเครื่องมือออกก็ถือว่ายอมรับในส่วนของความผิดและรับโทษตามกฏหมาย หรือรอหมายศาลในการจำคุกนั่นเอง ซึ่งตัวเครื่องนั้นจะมี GPS ที่ติดตัวเราไว้หากออกไปข้างนอกในเวลาที่กำหนด สัญญาณจะดังและจะถูกดำเนินคดี ต้องติดเครื่องนี้นานเท่าไหร่? คำตอบคืออยู่ที่ 7-15 วันขึ้นอยู่กับศาลว่ามีการสั่งควบคุมความประพฤติเราแบบใด
 
      ทางที่ดี ไม่ควรเมาแล้วขับ หรือหากดื่มก็ควรใช้รถสาธารณะกลับบ้าน ไม่ควรขับรถด้วยตัวเอง เพราะอาจเกิดอันตรายต่อตัวเอง และผู้ใช้รถใช้ถนนเพิ่มมากขึ้น และอีกสิ่งหนึ่งที่สายปาร์ตี้ทั้งหลายควรรู้นั่นก็คือ การมีประกันรถยนต์อยู่ก็จริง แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับประกันรถยนต์ไม่คุ้มครองนะครับ
 
 READ MORE : 
 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล