เช็คราคาแผนประกัน
กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *
|
อ่านแล้ว 2,540 ครั้ง
การขับขี่บนถนนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ โดยเฉพาะ การชนท้าย ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยมากในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ คำถามที่มักเกิดขึ้นคือ “ใครผิดใครถูก?” และ “ประกันภัยจะรับผิดชอบอย่างไร?” วันนี้พี่หมี TQM จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการขับขี่ ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย และการประกันภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุชนท้ายเพราะเบรกกระทันหันกันครับ
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการชนท้าย
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับอุบัติเหตุกรณีการชนท้าย ก็คือ รถยนต์คันหนึ่งชนเข้ากับด้านหลังของรถยนต์อีกคันหนึ่ง ซึ่งถ้าพูดถึงสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนี้ได้มีหลายกรณี เช่น การเบรกกระทันหัน การไม่รักษาระยะห่างที่ปลอดภัย การขับขี่ด้วยความเร็วสูง การขาดสมาธิในการขับขี่ หรือการขับขี่โดยไม่ระมัดระวัง
ตามกฎหมายการขับขี่รถยนต์ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย กรณีรถชนท้ายมักจะถือว่าเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถคันหลัง เพราะถือว่าผู้ขับขี่รถคันหลังควรรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากรถคันหน้า ตามพระราชบัญญัติการจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40 ได้ระบุเรื่องระยะที่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัยเอาไว้ว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากคันข้างหน้าพอสมควร ในระยะที่สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัยและเมื่อจำเป็นจะต้องหยุดรถ โดยที่ผู้ขับขี่จะต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถถอยหลังไปชนคันอื่นเมื่อขับรถขึ้นสะพานหรือทางลาดชัน” แต่ในบางกรณีที่รถคันหน้ามีการเบรกกระทันหันโดยไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม การพิจารณาความผิดอาจซับซ้อนขึ้น อย่างกรณีต่อไปนี้
หากมีการเบรกกระทันหันโดยไม่มีเหตุผล เช่น การเบรกเพื่อลดความเร็วโดยกระทันหัน การเบรกเพื่อความสนุก หรือการเบรกเพื่อทำให้รถคันหลังชน การพิจารณาความผิดอาจเข้าข้างผู้ขับขี่รถคันหลัง เนื่องจากการกระทำดังกล่าวอาจถือเป็นการขับขี่ที่ไม่ระมัดระวังหรือมีเจตนาทำให้เกิดอุบัติเหตุ
โดยทั่วไป การชนท้ายมักถือว่าเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถคันหลัง เนื่องจากการไม่รักษาระยะห่างที่ปลอดภัย หรือการขาดสมาธิในการขับขี่ เช่น การขับขี่ด้วยความเร็วสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด การขับขี่ในขณะที่เสียสมาธิ หรือการไม่ระมัดระวังในขณะขับขี่
ประกันภัยรถยนต์ เป็นสิ่งสำคัญที่รถยนต์ทุกคันควรมีเพื่อคุ้มครองทั้งทรัพย์สินและชีวิตของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ประกันภัยรถยนต์แบ่งออกเป็นหลายประเภท ซึ่งมีความคุ้มครองแตกต่างกันไป ดังนี้
ประกันภัยภาคบังคับ เป็นประกันที่กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ทุกคันต้องมี โดยมีความคุ้มครองที่จำกัด เช่น การชดเชยค่าเสียหายสำหรับการรักษาพยาบาลของผู้ประสบภัยในอุบัติเหตุ ไม่คุ้มครองในส่วนของตัวรถยนต์หรือค่าซ่อมรถ
ประกันภัยภาคสมัครใจ จะมีหลายระดับความคุ้มครองด้วยกัน สามารถเลือกทำตามความต้องการและความเสี่ยงที่ต้องการคุ้มครอง เช่น ประกันชั้น 1 ที่มีความคุ้มครองสูงสุด ครอบคลุมทั้งความเสียหายต่อตัวรถยนต์ ค่ารักษาพยาบาล ความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม แนะนำเช็คความคุ้มครองประกันรถยนต์ภาคสมัครใจแต่ละชั้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย
โดยปกติแล้ว ผู้ที่เป็นฝ่ายผิด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น ค่าซ่อมแซมรถ ค่ารถเช่า และค่ารักษาพยาบาล ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง หากทำเพียง พ.ร.บ. ไว้ จะชดเชยในส่วนของค่ารักษาพยาบาลได้เท่านั้น แต่ถ้าทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้ด้วย ประกันภัยของคุณก็อาจจะเข้ามาคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.) จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของผู้ประสบเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารในรถทั้งสองคัน
ประกันภัยภาคสมัครใจ ความคุ้มครองขึ้นอยู่กับประเภทของประกันภัยที่เลือก หากเป็นประกันภัยชั้น 1 จะคุ้มครองค่าเสียหายทั้งต่อรถยนต์ของผู้เอาประกันภัยและรถยนต์ของคู่กรณี รวมถึงค่ารักษาพยาบาล และความรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม กรณีมีผู้บาดเจ็บ
โดยปกติแล้ว ผู้ที่เป็นฝ่ายถูกจะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้จากฝ่ายคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ เป็นต้น แต่หากคู่กรณีไม่มีประกัน ทางตัวแทนบริษัทประกันของเราก็จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยและจัดการเรื่องค่าเสียหายให้แทนทั้งหมด ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วก็จะต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขประกันรถยนต์ที่ทำไว้และวงเงินที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์ด้วย เช่น ประกันชั้น 1, 2+ และ 3+ คุ้มครองครอบคลุมรถยนต์ของเราและคู่กรณี แต่ถ้าเป็น ประกันชั้น 2 และ 3 จะคุ้มครองเฉพาะรถคู่กรณีเท่านั้น
การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุชนท้ายเป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังนี้
เมื่อเกิดเหตุการณ์รถชนท้าย การระบุว่าใครเป็นฝ่ายผิดอาจไม่ใช่เรื่องง่ายเสมอไป เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา การกล้องติดรถยนต์อาจจะช่วยบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหายได้ นอกจากนั้น การมีประกันภัยรถยนต์ที่ดี จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองและสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้อย่างรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น อย่าลืมมองหาประกันรถยนต์กับ TQM เช็คราคาประกันรถยนต์ บริษัทชั้นนำ พร้อมรับสิทธิพิเศษ ผ่อน 0% มีรถใช้ระหว่างซ่อม สนใจกรอกข้อมูลด้านล่างให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หรือโทร Hotline 1737 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *