26/07/67

|

อ่านแล้ว 16,150 ครั้ง

โดนเรียกค่าทำขวัญจากคู่กรณี เพราะขับรถชน ประกันจ่ายแทนไหม

    เมื่อเกิดเหตุขับรถชนและคู่กรณีเรียกค่าทำขวัญจากเรา คำถามที่มักจะเกิดขึ้นคือเราควรทำอย่างไร และประกันจะช่วยรับผิดชอบแทนเราไหม การเตรียมตัวและรู้วิธีการใช้สิทธิของเรา จะช่วยให้เราไม่ต้องกังวลกับกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันบนท้องถนนได้ วันนี้พี่หมีจะพาไปทำความรู้จักกับ "ค่าทำขวัญ กรณีรถชน" หากโดนเรียกเก็บ จะต้องจัดการอย่างไร และประกันรถยนต์ที่ทำอยู่นั้น คุ้มครองหรือไม่ มาหาคำตอบกันครับ

 

ค่าทำขวัญ กรณีรถชน คืออะไร

    ค่าทำขวัญกรณีรถชน หรือเรียกได้ว่าเป็น ค่าสินน้ำใจ คือ จำนวนเงินที่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถที่เป็นฝ่ายผิด อาจจ่ายให้แก่คู่กรณีที่ได้รับความเสียหายหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เพื่อเยียวยาความทุกข์ทางร่างกายและจิตใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผู้ที่เป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องได้ตามความสมควร และผู้ที่เป็นฝ่ายผิดสามารถเลือกได้ว่าจะจ่ายหรือไม่ เพราะตามหลักกฎหมาย ไม่มีการกำหนดไว้ว่าผู้ที่เป็นฝ่ายผิดจะต้องจ่ายค่าทำขวัญ เพียงแต่เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ร้องเรียนค่าชดเชยความเสียหายจากบริษัทประกันภัย หรือเพื่อแลกเปลี่ยนไม่ติดใจเอาความใด ๆ

ค่าทำขวัญ กรณีรถชน คืออะไร

โดนเรียกค่าทำขวัญ หลังขับรถชน ควรทำอย่างไร

ขั้นแรกที่ควรทำหลังจากเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน คือ การสำรวจสถานการณ์และตรวจสอบว่ามีผู้บาดเจ็บหรือไม่ หากมี ควรรีบโทรแจ้งกู้ชีพหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที แนะนำให้เซฟ 10 เบอร์โทรฉุกเฉินติดโทรศัพท์ไว้เสมอ จากนั้นควรแจ้งตำรวจเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกเหตุการณ์เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาของประกันภัยในภายหลัง

 

ขั้นตอนที่สอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ชนรถ ไม่ว่าจะมีคนเจ็บหรือไม่ก็ตาม ควรแจ้งประกันภัยที่เราใช้บริการทันที เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประกันมาตรวจสอบสถานการณ์และทำการประเมินความเสียหาย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ประกันยังสามารถเป็นพยานและช่วยเจรจาในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นได้อีกด้วย การแจ้งประกันภัยให้เร็วที่สุดเป็นสิ่งสำคัญ เพราะประกันจะช่วยครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นตามกรมธรรม์ที่เราได้ทำไว้

 

โดนเรียกค่าทำขวัญ ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม

    เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แล้วเราเป็นฝ่ายผิด ทาง คู่กรณีเรียกค่าทำขวัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าเสียหายที่เกินกว่าความเสียหายที่ประกันครอบคลุม อาจจะเป็นค่าชดเชยสำหรับความเจ็บปวดหรืออาการตกใจจากอุบัติเหตุ ถ้าไม่ได้ทำประกันภัยที่ครอบคลุมถึงค่าทำขวัญเช่นนี้ เราจะต้องรับผิดชอบค่าทำขวัญนั้นๆ เอง อย่างไรก็ตาม ในบางประกันภัยชั้น 1 หรือชั้น 2+ อาจคุ้มครองครอบคลุมถึงค่าทำขวัญ ซึ่งก่อนตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ แนะนำให้ตรวจสอบเงื่อนไขของกรมธรรม์อย่างถี่ถ้วน

 

    แต่มิใช่ทุกกรณีเสมอไปที่สามารถเรียกค่าทำขวัญได้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ควรปรึกษาทนายหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เนื่องจากการจัดการสถานการณ์เช่นนี้ต้องใช้ความรู้และความเข้าใจในกฎหมายประกันภัยและการเรียกร้องค่าทำขวัญด้วย

โดนเรียกค่าทำขวัญ ประกันรถยนต์คุ้มครองไหม

ค่าเสียหายที่อาจโดนเรียกเก็บจากคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูก

    นอกจาก ค่าทำขวัญ แล้ว ยังมีค่าเสียหายอื่นๆ ที่คู่กรณีสามารถเรียกร้องจากผู้ที่เป็นฝ่ายผิดได้ ดังนี้

 

  1. ค่าเสียหายรถยนต์
  2. ค่ารักษาพยาบาล ค่าหมอ ค่ายา กรณีมีผู้บาดเจ็บ
  3. ค่าชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ
  4. ค่าปลงศพ กรณีมีผู้เสียชีวิต
  5. ค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถ
  6. ค่ารถลาก หรือ รถยก เพื่อนำรถไปซ่อม

 

    ทั้งหมดนี้ก็เป็นค่าเสียหายคร่าวๆ ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ทางฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องจากฝ่ายผิดได้ ซึ่งถ้าคุณทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้ ประกันจะจ่ายชดเชยความเสียหายให้ไม่เกินทุนประกันและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่บอกเลยว่า มีประกันรถยนต์ไว้ ดีกว่าไม่มี เพราะแค่ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. อาจไม่ครอบคลุมทุกค่าเสียหาย จะมานั่งเสียหายปาดเหงื่อเสียเงินเก็บทั้งหมดไปก็ใช่เรื่อง พี่หมีขอแนะนำ เช็คราคาประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ กับ TQM ที่ยกบริษัทชั้นนำมาไว้ให้ที่นี่ พร้อมบริการผ่อน 0% และรถใช้ระหว่างซ่อมฟรี สนใจกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อเช็คราคาแผนประกัน หรือโทร Hotline 1737 ยินดีให้บริการและคำปรึษาตลอด 24 ชั่วโมงครับ

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง