13/11/61

|

อ่านแล้ว 2,015 ครั้ง

8 ที่ห้ามจอด ถ้าไม่อยากถูกล็อคล้อ

8 ที่ห้ามจอด

   
    จำแล้วนำไปใช้! 8 สถานที่ห้ามจอดรถในประเทศไทย ใครฝ่าฝืนจะถูกปรับตามที่กฎหมายกำหนด แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือรถคุณอาจเสียหาย เพราะโดนเฉี่ยวชน หรือเกิดอุบัติเหตุได้
 
    ปฎิเสธไม่ได้ว่าทุกปีจะมีปริมาณรถยนต์บนท้องถนนเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้รถติด และอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้รถติดนั่นก็คือ การจอดรถผิดที่ผิดทาง นั่นเอง ซึ่งทาง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มีการแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง พ.ศ.2538 ว่าด้วยการจอดรถผิดกฎหมาย หากใครฝ่าฝืนจะถูกปรับตามกฎหมายกำหนด วันนี้ พี่หมี TQM จึงรวบรวม 8 ที่ห้ามจอด มาฝากกัน ถ้าไม่อยากถูกล็อคล้อหละก็ อย่าเผลอไปจอดเชียว!
 

1. จอดรถในที่ห้ามจอด

 
    สอบใบขับขี่ผ่านมาได้ คงไม่มีใครไม่รู้จักป้ายห้ามจอดแน่ๆ และถ้าบริเวณไหนมีป้ายนี้ปักอยู่หละก็ จงรู้ไว้ว่า ห้ามจอดเด็ดขาด หากฝ่าฝืน ถือว่าผิดกฎหมายจราจรทางบกเต็มๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถล็อคล้อ หรือยกรถไปสถานีตำรวจ แล้วจะมาเรียกร้องหรือแก้ตัวอะไรใดๆ ไม่ได้ด้วยนะ
 
 

2. จอดรถกีดขวางการจราจร หรือจอดห่างจากไหล่ทางเกิน 25 ซม.

 
    กรณีนี้ไม่มีป้ายห้ามจอด แต่จะเป็นเรื่องจิตสำนึกเสียมากกว่า เพราะการจอดรถกีดขวางการจราจร เป็นเหตุทำให้รถติด ยิ่งจอดแช่นานๆ จนรถที่ตามหลังต้องเบี่ยงหลบไปอีกเลนหนึ่ง หรือแม้กระทั่งการจอดห่างจากไหล่ทางออกมาเกิน 25 ซม. ถือเป็นการจอดรถกีดขวางการจราจรเช่นกัน เพราะทำให้รถของคุณกินเนื้อที่ช่องทางรถไปช่องทางอื่น
 
ภาพจาก http://www.komchadluek.net
 

3. จอดรถขวางทางเข้า-ออก

 
    เจ้าของรถไม่ควรนำรถไปจอดขวาง หน้าบ้านหรืออาคารที่ไม่ใช่ของตัวเอง เพราะถือเป็นการทำให้ให้เจ้าของบ้านเดือดร้อน และที่สำคัญมีความผิดตามกฎหมายมาตรา 397 ที่ว่า "ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท" ทางที่ดีหาที่จอดที่ปลอดภัย จะได้ไม่โดนปรับ หรือโดนทุบรถนะครับ
 
ภาพจาก www.hunsa.com
 

4. จอดรถซ้อนคัน

 
    เชื่อว่าเห็นได้ทั่วไปกับ การจอดรถซ้อนคัน แต่จะมีสักกี่คันที่รู้ว่ามันผิดกฎหมาย ยิ่งบางคันจอดซ้อนคันแล้วใส่เบรคมือไว้ ทำให้รถที่จอดอยู่ด้านในเหมือนโดนปิดตาย ออกไปไหนไม่ได้เลย เหตุการณ์แบบนี้มักพบบ่อยตามห้างสรรพสินค้า ถึงจะมีเส้นขีดไว้ว่าจอดซ้อนคันได้ ก็ควรใส่เกียร์ว่างเสมอ ห้ามดึงเบรกมือเด็ดขาด มิเช่นนั้น รถคุณอาจจะถูกยก!
 
ภาพจาก news.mthai.com

5. จอดรถบนทางเท้า ทางเลี้ยว

 
    รถบางคันชอบโชว์เหนือ เห็นฟุตบาลโล่งๆ เป็นไม่ได้ จะต้องขับขึ้นไปจอดเสมือนเป็นพื้นที่ส่วนตัว และยิ่งกว่านั้น คือจอดบริเวณมุมทางเลี้ยว หรือหน้าปากซอยเข้า-ออก ถ้าเป็นคนขับผ่านจะรู้ดีว่า เลี้ยวยากเหลือเกิน บางทีก็กลัวไปขูดรถที่จอดอยู่ กลายเป็นเรื่องเป็นราวกันไปอีก ฉะนั้นเลี่ยงจอดรถบนทางเท้าหรือทางเลี้ยวกันเถอะ เพราะพี่หมีเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้รถเป็นรอยแน่ๆ
 
ภาพจาก https://pantip.com
 

6. จอดรถขวางทางม้าลาย หรือ บนทางแยก

 
    ทางม้าลายมีไว้เพื่อให้คนเดินผ่าน หากมีรถมาจอดจึงเกิดคำถามว่า คนจะข้ามอย่างไร ฉะนั้นจึงมีกฎหมายออกมาบังคับ ห้ามจอดรถขวางทางข้าม มิเช่นนั้นจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย เช่นเดียวกับ การจอดรถในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตร อาจถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยกรถไปที่สถานีตำรวจได้
 
ภาพจาก https://auto.sanook.com
 

7. จอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์

 
    การจอดรถบนสะพานหรือในอุโมงค์ที่มีรถวิ่งผ่านตลอด จะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ สูญเสียทั้งคนและรถได้ ฉะนั้นไม่ควรนำรถไปจอด ณ พื้นที่ดังกล่าว แต่หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น รถเสีย ให้เบี่ยงรถเข้าไหล่ทางและติดต่อเจ้าหน้าที่ให้เร็วที่สุดครับ
 
ภาพจาก www.siamfishing.com
 

8. จอดรถตรงป้ายรถเมล์

 
    หมายถึงการจอดก่อนถึงหรือเลยเครื่องหมายหยุดรถประจำทางในระยะ 15 เมตร ถือว่าผิดกฎหมาย หากฝ่าฝืนอาจถูกปรับได้ ดังนั้นจึงไม่ควรจอดแช่บริเวณป้ายรถเมล์เด็ดขาด แต่ถ้าจอดรับส่งเพียงไม่นาน ยังพอให้อภัย 
 
    เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับ 8 ที่ห้ามจอด ถ้าไม่อยากถูกล็อคล้อ เพื่อนๆ เคยพบเจอ หรือเคยเผลอไปจอดในบริเวณดังกล่าวบ้างหรือเปล่า หากเคยทำ ให้เปลี่ยนไปจอดในที่ที่สามารถจอดได้ เพื่อป้องกันการจราจรติดขัด และลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด คือการมีประกันภัยชั้น 1 ไว้คุ้มครองรถยนต์ หากมีการเฉี่ยวชนขึ้นมา เคลมประกันได้ หมดห่วง สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 1737 หรือกรอกข้อมูลด้านล่าง ให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้เลยครับผม ^^
 
READ MORE :
 
 

► รู้ลึกถึงความหมายป้ายห้ามจอด

►  เช็คด่วน 66 ถนนทั่วกรุงเทพฯ เก็บค่าจอดรถ

 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล