เช็คราคาแผนประกัน
กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
รายละเอียดที่อยู่อาศัย
เลือกประเภทที่อยู่อาศัย *
บ้านเดี่ยว
บ้านแฝด
ทาวน์โฮม
คอนโด
ตึกแถว
โครงสร้างบ้าน *
จำนวนชั้น *
ลักษณะการใช้งานบ้าน *
ตำแหน่งบ้านของคุณ *
|
อ่านแล้ว 711 ครั้ง
บ้านมือสอง เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่อยากมีบ้าน ด้วยความที่ราคาจะถูกลงมากว่าการซื้อบ้านมือหนึ่ง แต่แน่นอนว่าหากซื้อบ้านมือสองเราต้องตรวจเช็กบ้านมือสองก่อนซื้อ รวมไปถึงคำนวณค่าใช้จ่ายซื้อบ้านมือสองว่าต้องเตรียมจ่ายอะไรบ้าง วันนี้พี่หมี TQM เลยมาพร้อมกับอัปเดตค่าใช้จ่ายในการซื้อบ้านมือสอง มาฝากเพื่อนๆ กันครับ
หลังจากที่เราตัดสินใจที่จะซื้อบ้านมือสองแล้ว สิ่งแรกเลยคือการวางเงินค่าจอง หรือค่ามัดจำบ้าน เพื่อเป็นการยื่นยันว่าเราต้องการที่จะซื้อบ้านหลังนี้จริงๆ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้คนอื่นซื้อตัดหน้าเราไปด้วย ซึ่งราคาค่ามัดจำบ้านนั้นโดยทั่วไปส่วนใหญ่จะถูกระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขาย โโยยอดจะอยู่ที่ประมาณ 5-20% ของราคาบ้าน
ในกรณีที่เรามีงบประมาณจำกัด ไม่สามารถที่จะซื้อบ้านมือสองด้วยเงินสดได้ ก็สามารถที่จะทำเรื่องขอสินเชื่อกับทางธนาคาร โดยทางธนาคารก็จะเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ กับคุณเป็นค่าดำเนินการสำหรับการประเมินมูลค่าบ้านเพื่อที่ทางธนาคารนั้นจะประเมินวงเงินสินเชื่อในการกู้ซื้อบ้านให้แก่เรา โดยจะแบ่งเป็น ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ , ค่าประเมินราคา และค่าประกันสินเชื่อบ้าน
ในส่วนของค่าจดจำนองบ้านในปี 2567 นี้ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงลดค่าจดจำนอง (กรณีขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน) จาก 1% ลดเหลือ 0.01% หรือภาระค่าใช้จ่ายจดจำนอง จากล้านละ 10,000 บาท ลดเหลือล้านละ 100 บาทเท่านั้น โดยมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เลยทีเดียว
สำหรับการตรวจบ้านก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์นั้นทางผู้ซื้อจะต้องทำการตรวจเช็กตามจุดต่างๆ ของบ้านให้ดีก่อนที่จะเซ็นชื่อโอนกรรมสิทธิ์บ้าน โดยหากเราสามารถตรวจเช็กได้เองก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่สำหรับใครที่อยากตรวจเช็กอย่างละเอียดละก็พี่หมีก็แนะนำให้จ้างบริษัทรับตรวจบ้านมาช่วยเช็กตามจุดต่างๆ ของบ้าน และหากตรวจพบจุดที่ต้องซ่อมแซ่มทางบริษัทก็จะประเมินราคาซ่อมให้เราได้ทราบนั้นเอง
นอกจาก ค่าจดจำนองบ้าน ที่ทางราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่กฎกระทรวงได้ลดแล้ว ในส่วนของค่าโอนกรรมสิทธิ์ ก็ได้ลดเช่นกันโดยได้ลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 2% เหลือ 1% (เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน) และมีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เช่นเดียวกัน
สำหรับการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า และ ติดตั้งประปานั้น ให้ผู้ซื้อบ้านตรวจสอบกรรมสิทธิ์ หากเจ้าของบ้านคนเก่ามีการติดตั้งงไฟฟ้า-ประปาไว้แล้วให้ผู้ซื้อโอนกรรมสิทธิ์มาที่ตัวเองได้เลย และเตรียมเอกสารการโอนค่ามิเตอร์น้ำ-ไฟฟ้า ของทั้งผู้ขายบ้านและผู้ซื้อบ้านให้เรียบร้อยทั้งสองฝ่าย และนำไปยื่นเรื่องกับทางการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำหรับไฟฟ้า) และนำเอกสารไปยื่นที่การประปา (สำหรับน้ำประปา)
ในส่วนค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะขึ้นอยู่แล้วแต่ละบุคคลและบ้านมือสองที่ได้เลือกซื้อว่าจะซื้อของตกแต่ง เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ รวมไปถึงการซ่อมแซมในจุดต่างๆ ของบ้าน ว่าต้องการที่จะทำอะไรบ้าง
ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือหนึ่งหรือบ้านมือสอง ก็สามารถที่จะทำประกันบ้านได้ โดยหากเป็นบ้านมือสองนั้นทางธนาคารจะให้เราทำประกันใน 2 รูปแบบคือ ประกันบ้านภาคบังคับ และ ประกันบ้านภาคสมัครใจ
ข้อมูลจาก : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ , ธนาคารกสิกรไทย
และนี้ก็เป็นข้อสนุปเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายซื้อบ้านมือสอง ที่พี่หมีนำมาฝากนั้นเอง และไม่ว่าบ้านใหม่มือหนึ่ง หรือบ้านมือสอง สิ่งสำคัญคือการมีประกันบ้านไว้ดูแลเพิ่มความอุ่นใจในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัคคีภัย ภัยพิบัติต่างๆ รวมไปถึงการโจรกรรมทรัพย์สิน โดยเพื่อนๆ สามารถเช็กราคาแผนประกันภัยบ้าน กับ TQM Home สนใจเลือกแผนความคุ้มครองด้านล่าง หรือสามารถแชทกับพี่หมีได้ที่มุมขวาล่าง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านเบอร์ Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ
รายละเอียดที่อยู่อาศัย
เลือกประเภทที่อยู่อาศัย *
บ้านเดี่ยว
บ้านแฝด
ทาวน์โฮม
คอนโด
ตึกแถว
โครงสร้างบ้าน *
จำนวนชั้น *
ลักษณะการใช้งานบ้าน *
ตำแหน่งบ้านของคุณ *