14/03/68

|

อ่านแล้ว 194 ครั้ง

รวมจุดเสี่ยงไฟไหม้ในบ้านช่วงหน้าร้อน ที่หลายคนมองข้าม

     ไฟไหม้บ้าน เป็นภัยอันตรายที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในช่วงหน้าร้อน ความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากอากาศร้อนทำให้วัสดุต่างๆ ติดไฟง่ายขึ้น หากละเลยเรื่องความปลอดภัย อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันจนสร้างความเสียหายรุนแรง วันนี้พี่หมี TQM จะพาไปรู้จักกับ 5 จุดเสี่ยงทำไฟไหม้บ้าน ที่มักถูกมองข้าม พร้อมแนะนำวิธีป้องกัน รวมถึงการเตรียมตัวไว้ด้วย ประกันภัยไฟไหม้บ้าน เพื่อความอุ่นใจในระยะยาวกันครับ

 

5 จุดเสี่ยงในบ้านที่ต้องระวังไฟไหม้ช่วงหน้าร้อน

1. ห้องครัว – แหล่งรวมต้นตอไฟ

     ห้องครัวเป็นหนึ่งใน จุดเสี่ยงทำไฟไหม้บ้าน ที่พบมากที่สุด เนื่องจากมีการใช้เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า และอุปกรณ์ทำอาหารที่มีความร้อนสูงอยู่เป็นประจำ การทอดอาหารหรืออุ่นของที่ใช้ไฟแรงอาจทำให้น้ำมันกระเด็นหรือลามไปยังวัตถุไวไฟอื่นๆ ได้ง่าย

 

วิธีป้องกันไฟไหม้ในห้องครัว

    • ไม่ควรทอดอาหารแล้วละเลย
    • เช็ดคราบน้ำมันบนเตาและเครื่องครัวเป็นประจำ
    • ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีมาตรฐานและปิดเครื่องหลังใช้งาน
    • หมั่นตรวจสอบท่อแก๊สและหัวเตาเป็นประจำ

5 จุดเสี่ยงในบ้านที่ต้องระวังไฟไหม้ช่วงหน้าร้อน

2. ปลั๊กไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า – ศูนย์รวมไฟฟ้าภายในบ้าน

     การเสียบปลั๊กพ่วงหลายเครื่องพร้อมกัน การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเก่า หรือการใช้ไฟเกินกำลัง เป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ของการเกิด ไฟไหม้บ้าน โดยเฉพาะในหน้าร้อนที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องทำงานหนักขึ้น เช่น พัดลม แอร์ และตู้เย็น อาจก่อให้เกิดความร้อนสะสม จนกลายเป็นต้นเหตุของไฟไหม้บ้านได้ นอกจากนี้สายไฟที่ชำรุดหรือมีรอยหนังกัดก็เป็นความเสี่ยงเช่นกัน

 

วิธีป้องกันไฟไหม้จากการใช้งานปลั๊กไฟ

    • หมั่นตรวจสอบสายไฟและปลั๊กที่ใช้งานบ่อย
    • ไม่ใช้ปลั๊กรางที่ไม่มีมาตรฐาน มอก.
    • ไม่เสียบอุปกรณ์ไฟฟ้าหลายชิ้นในปลั๊กร่วมเดียวกัน
    • ปิดสวิตช์และถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน เพื่อลดความเสี่ยงของกระแสไฟฟ้าลัดวงจร

รวมจุดเสี่ยงไฟไหม้ในบ้านช่วงหน้าร้อน

3. ห้องพระหรือหิ้งบูชา – จุดเสี่ยงไฟไหม้บ้านที่หลายคนมองข้าม

     แม้ว่าเทียนหรือธูปจะดูเป็นสิ่งเล็ก ๆ แต่หากไม่มีการควบคุมให้ดี อาจกลายเป็นจุดเริ่มของ ไฟไหม้บ้าน ได้โดยง่าย บ้านคนไทยส่วนใหญ่มักจะมีห้องพระหรือหิ้งบูชาที่มีการจุดธูปเทียน ซึ่งถ้าไม่มีคนดูแลอย่างใกล้ชิดขณะที่จุดธูปเทียน ก็อาจเป็นอีกสาเหตุของไฟไหม้บ้านได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนที่อากาศแห้งและลมแรง

 

วิธีป้องกันไฟไหม้ในห้องพระ

    • ใช้ธูปไฟฟ้าแทนการจุดไฟจริง
    • หมั่นตรวจสอบว่าเทียนและธูปดับสนิทหลังใช้งาน
    • ไม่วางผ้า หรือของไวไฟใกล้ที่จุดธูป
    • ใช้ถ้วยรองเทียนป้องกันหยดเทียน

จุดเสี่ยงในบ้านที่ต้องระวังไฟไหม้ช่วงหน้าร้อน

4. ห้องเก็บของ – แหล่งสะสมเชื้อไฟ

     ห้องเก็บของหลายๆ บ้านมักถูกใช้เก็บสิ่งของที่ไม่ใช้งานแล้ว เช่น ลังกระดาษ กล่องพลาสติก หนังสือเก่า เสื้อผ้าเก่า หรือเศษไม้ เป็นต้น โดยสิ่งของเหล่านี้เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี หากเกิดประกายไฟเล็กๆ ก็อาจลุกลามจนเกิด ไฟไหม้บ้าน ได้อย่างรวดเร็ว

 

วิธีป้องกันไฟไหม้ในห้องเก็บของ

    • จัดเก็บของให้เป็นระเบียบ ไม่กองสูงหรือเบียดแน่น และกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็น
    • หลีกเลี่ยงการเก็บสิ่งของใกล้ปลั๊กไฟหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
    • ไม่ควรเก็บสารเคมีหรือของเหลวที่ติดไฟง่าย
    • ตรวจเช็คสายไฟที่ผ่านห้องเก็บของอย่างสม่ำเสมอ

ไฟไหม้บ้าน

5. ห้องนอน – จุดที่ไม่คาดคิดว่าอาจเกิดไฟไหม้

     ห้องนอนก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้บ้านได้ หลายคนชอบจุดเทียนหอมหรือธูปก่อนนอนเพื่อสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย แต่หากเผลอหลับไปโดยไม่ดับไฟ อาจทำให้เกิดไฟไหม้บ้านได้ หรือแม้แต่การเสียบปลั๊กชาร์จมือถือทิ้งไว้เป็นเวลานาน โดยเฉพาะการใช้สายชาร์จที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดความร้อนสะสมและเกิดไฟไหม้ได้เช่นกัน

 

วิธีป้องกันไฟไหม้ในห้องนอน

    • หากจุดเทียนหอม ควรดับเทียนก่อนที่จะนอนทุกครั้ง
    • ใช้สายชาร์จที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัย
    • หลีกเลี่ยงการชาร์จมือถือทิ้งไว้ใต้หมอนหรือใกล้วัสดุที่ติดไฟง่าย

จุดเสี่ยงไฟไหม้บ้าน

ทำไมต้องมี ประกันภัยไฟไหม้บ้าน

     แม้เราจะระมัดระวังแค่ไหน แต่เหตุไม่คาดฝันก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ การมี ประกันภัยไฟไหม้บ้าน จึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยคุ้มครองทรัพย์สินและลดภาระทางการเงินเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ คุ้มครองความเสียหายจากไฟไหม้ น้ำท่วม หรือภัยธรรมชาติอื่น ๆ ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมหรือสร้างบ้านใหม่ ให้ความอุ่นใจแม้ในเหตุการณ์ไม่คาดคิด

 

     โดยเพื่อนๆ สามารถเช็คราคาแผนประกันภัยบ้าน กับ TQM Home สนใจเลือกแผนความคุ้มครองด้านล่าง หรือสามารถแชทกับพี่หมีได้ที่มุมขวาล่าง หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านเบอร์  Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ประกันบ้าน TQM

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

รายละเอียดที่อยู่อาศัย

เลือกประเภทที่อยู่อาศัย *

บ้านเดี่ยว

บ้านแฝด

ทาวน์โฮม

คอนโด

ตึกแถว

โครงสร้างบ้าน *

จำนวนชั้น *

ลักษณะการใช้งานบ้าน *

ตำแหน่งบ้านของคุณ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง