27/11/67

|

อ่านแล้ว 21,701 ครั้ง

รถความร้อนขึ้น หรือ เครื่องยนต์ Overheat ต้องทำยังไง ขับต่อหรือจอดก่อน?

    รถความร้อนขึ้น หรือที่เรียกกันว่า เครื่องยนต์ Overheat มักเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติจากส่วนใดส่วนหนึ่งในเครื่องยนต์ จนทำให้ภายในห้องเครื่องไม่สามารถระบายความร้อนออกมาเองได้ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัญหาของรถยนต์ที่ผู้ขับขี่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะถ้าหากปล่อยให้เกิดปัญหาขึ้นอย่างบ่อยครั้ง อาจส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์จนเสียหายหนัก หรืออาจทำให้รถยนต์ดับหรือขับไปต่อไม่ได้เลย วันนี้พี่หมี TQM เลยอยากจะมาแชร์วิธีรับมือเมื่อผู้ขับขี่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่รถความร้อนขึ้น ว่าควรแก้ไขยังไงบ้างไปดูกันเลยครับ

เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ กับ TQM

    การขับรถยนต์ในประเทศไทย เป็นประจำทุกๆวัน อาจเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดปัญหารถความร้อนขึ้น หรือ เครื่องยนต์ Overheat ซึ่งบางทีตัวรถยนต์อาจเริ่มมีสัญญาณเตือนออกมา เช่น มีควันออกจากฝากระโปรงรถ มีกลิ่นไหม้หรือกลิ่นน้ำหล่อเย็นออกมา รวมถึงการเร่งเครื่องแล้วรถยนต์ไปได้ช้ากว่าปกติ อันนี้เป็นอาการเตือนจากตัวรถที่เราต้องคอยดู แต่ความจริงแล้วรถยนต์จะมีตัวสัญญาณไฟเตือนเกี่ยวกับความร้อน ซึ่งจะมีรูปแบบดังต่อไปนี้

 

สัญญาณไฟเตือนรถความร้อนขึ้น

    ถ้ารถยนต์มีความร้อนขึ้นจนผิดปกติ รถยนต์จะมีสัญญาณไฟเตือนที่เกี่ยวกับความร้อน ซึ่งรถยนต์แต่ละคันอาจมีสัญญาณเตือนที่แตกต่างกันไป ดังนี้

 

  1. สัญญาณไฟเตือนแบบเข็ม จะมีลักษณะเป็นเข็มชี้อยู่ระหว่างตัวอักษร C (Cool) และ H (Hot) บางครั้งก็มีตัวเลขบอกจำนวนอุณหภูมิกำกับไว้ โดยรถยนต์ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบเข็ม อย่างไรก็ตามเมื่อเข็มวัดอุณหภูมิชี้ขึ้นสูงเกินกว่ากึ่งกลางหรือสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนใกล้ H แสดงว่าความร้อนขึ้น
  2. สัญญาณไฟเตือนแบบไฟเตือน ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ มักจะมีการปรับหน้าแสดงผลให้ทันสมัยขึ้น โดยมีลักษณะเป็นไฟแจ้งเตือน เป็นสีเขียวหรือฟ้า และไฟสีแดง หากรถความร้อนขึ้นจนOverheat จะมีไฟเตือนเป็นสีแดงหรือไฟกระพริบถี่ๆ
  3. อุปกรณ์ต่อเพิ่มแบบไฟดิจิตอล รถบางคันจะมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่อเพิ่มเติม เพื่อวัดอุณหภูมิความร้อนโดยตรง และมีการแสดงผลเป็นตัวเลขดิจิตอล จึงสามารถทราบอุณหภูมิความร้อนได้แม่นยำ

สัญญาณไฟเตือนรถความร้อนขึ้น

รถความร้อนขึ้นต้องทำไง

    เมื่อผู้ขับขี่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์รถความร้อนขึ้นหรือเครื่องยนต์ Overheat สิ่งแรกที่ผู้ขับขี่ต้องทำเลยคือ การตั้งสติ เมื่อเรามีสติแล้วสิ่งต้องปฏิบัติต่อไปก็จะทำได้โดยง่าย ซึ่งจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

 

หาพื้นที่ปลอดภัย เพื่อจอดพักรถ

    เมื่อหน้าปัดรถยนต์เริ่มมีสัญญาณไฟเตือนเกี่ยวกับความร้อนรถยนต์สูงขึ้น ผู้ขับขี่ต้องรีบทำการมองหาพื้นที่ที่ปลอดภัย พร้อมกับการปิดแอร์รถ เพื่อที่จะไม่ให้รถยนต์ต้องทำงานหนักขึ้น หลังจากได้ที่จอดรถที่ปลอดภัย ให้ทำการจอดรถพร้อมกับการดับเครื่องยนต์

 

เปิดฝากระโปรงรถยนต์

    หลังจากจอรถเสร็จ ให้เปิดฝากระโปรงรถ เพื่อที่จะระบายความร้อนออกจากห้องเครื่องยนต์ แต่ต้องระวังตอนเปิดฝากกระโปรงรถ เพราะอาจมีไอความร้อนพุ่งขึ้นมา และสิ่งที่ห้ามทำเด็ดขาด คือ การใช้น้ำราดที่ตัวเครื่องยนต์ เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

 

ทิ้งให้เครื่องเย็น แล้วค่อยเปิดฝาหมอน้ำ

    หลังจากที่ผู้ขับขี่เปิดฝากระโปรงรถไปสักพัก จนเครื่องยนต์เริ่มเย็นลงแล้ว ให้ผู้ขับขี่ลองเปิดฝาหม้อน้ำ เพื่อเช็คระดับน้ำว่าอยุ่ในจุดที่เหมาะสมไหม ที่สำคัญห้ามเปิดฝาหม้อน้ำในขณะเครื่องร้อน เพราะถ้าเปิดตอนที่น้ำร้อนๆ อาจมีไอความน้ำพุ่งขึ้นมาลวกเราได้

 

เติมน้ำลงหม้อน้ำ เมื่อเต็มแล้วทิ้งไว้สักพัก

    หลังจากเปิดฝาหม้อน้ำพร้อมเช็คระดับน้ำแล้ว ให้ผู้ขับขี่เติมน้ำเปล่าหรือน้ำหล่อเย็นช้าๆ จนเต็ม หลังจากนั้นทิ้งรถไว้สัก 5-10 นาที แล้วค่อยสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ และจากนั้นให้ออกตัวพร้อมขับรถช้าๆ และรีบนำรถไปเข้าศูนย์บริการหรืออู่ใกล้เคียง เพื่อตรวจสอบอีกครั้งให้แน่ใจนะครับ

 

รถความร้อนขึ้นมักเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

    การที่รถความร้อนขึ้นมักมีสาเหตุมาจากสิ่งที่เราคาดไม่ถึง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเกิดปัญหาจากอุปกรณ์ระบายความร้อนภายในเครื่องยนต์ที่มีการทำงานผิดปกติหรือเสีย ส่งผลให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้เต็มที่ เลยทำให้เครื่องยนต์ Overheat นั่งเองครับ โดยสาเหตุมักมาจากอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

 

  • หม้อน้ำรั่ว ถือเป็นอาการยอดนิยมที่พบได้บ่อยในปัญหารถความร้อนขึ้น ซึ่งมักจะเกิดจากการเสื่อมสภาพของการใช้งาน หรืออาจจะโดนวัตถุไปกระแทกจนทำให้เกิดรอยรั่วขึ้นได้ ซึ่งส่งผลให้น้ำในหม้อน้ำลดลงจนไม่สามารถระบายความร้อนได้
  • พัดลมหม้อน้ำเสีย หากเกิดการชำรุดที่พัดลมหม้อน้ำขึ้นมา ก็มักจะลงเอยด้วยการที่เครื่องยนต์ Overheat อยู่แล้ว พร้อมกับจะทำให้ภายในเครื่องยนต์ยิ่งมีความร้อนสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ
  • ท่อน้ำชำรุดหรืออุดตัน ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เกิดรถความร้อนขึ้น โดยเฉพาะรถยนต์ที่จอดกลางแจ้งทั้งวัน ไม่ได้พื้นที่จอดภายในบ้าน อุปกรณ์ภายในห้องเครื่องอาจทรุดโทรมได้เร็วกว่าปกติ จนทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
  • ปิดฝาหม้อน้ำไม่สนิท ก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนพลาด หากผู้ขับขี่ปิดฝาหม้อน้ำไม่สนิท ในขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน น้ำหล่อเย็นอาจถูกดันออกมาได้ และอาจทำให้ระดับน้ำในหม้อพักที่คอยส่งไปหล่อเย็นลดลง จนสุดท้ายก็อาจจะมีน้ำหล่อเย็นไม่เพียงพอ และทำให้ความร้อนเกิดขึ้น
  • ปั๊มน้ำชำรุด อาจทำให้ระบบหล่อเย็นจะทำงานไม่ได้เลย เพราะปั๊มน้ำจะทำหน้าที่ในการปั๊มน้ำหล่อเย็นไปหมุนเวียนระบายความร้อนให้กับเครื่องยนต์แบบกลับไปกลับมา ซึ่งหากอุปกรณ์ชิ้นนี้ชำรุดขึ้นมา ก็จะไม่มีน้ำหล่อเย็นไปช่วยระบายความร้อนเครื่องยนต์ได้

รถความร้อนขึ้นมักเกิดจากสาเหตุใดบ้าง

วิธีป้องกันไม่ให้รถความร้อนขึ้น

    ผู้ขับขี่ต้องมั่นตรวจเช็คสภาพรถทั้งภายในและภายนอกให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงอุปกรณ์ภายในห้องเครื่อง อย่างเช่น หม้อน้ำรถยนต์ ที่ต้องคอยเช็คให้ระดับน้ำให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม และการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ ที่ต้องตรวจเช็คว่าพัดลมยังทำงานได้ปกติไหม เพราะตัวพัดลมถือเป็นตัวช่วยชั้นดีในการระบายความร้อนภายในห้องเครื่อง เป็นต้น แต่ทางที่ดีผู้ขับขี่ควรนำรถยนต์เข้าเช็คระยะตามรอบกำหนดของรถทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของตัวคุณเอง

 

    บอกได้เลยว่าปัญหา รถความร้อนขึ้น หรือเครื่องยนต์ Overheat ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้ขับขี่ไม่ควรมองข้าม ทางที่ดีผู้ขับขี่ควรศึกษาวิธีแก้ไขปัญหาและหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ระบายความร้อนภายในห้องเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมความร้อนภายในห้องเครื่องรถยนต์

 

    ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ พี่หมี TQM ขอแนะนำประกันรถยนต์ ที่พร้อมช่วยเหลือคุณในยามเผชิญปัญหาจากอาการรถความร้อนขึ้น ที่อาจส่งผลให้รถยนต์ดับหรือขับรถไปต่อไม่ได้เลย การมีประกับรถยนต์ไว้ จะมาพร้อมบริการที่ช่วยเหลือคุณตลอด 24 ชั่วโมง อย่างเช่น บริการรถยก รถลาก ที่พร้อมจะช่วยคุณเมื่อเกิดปัญหา ถ้าผู้ขับขี่สนใจประกันรถยนต์กับทาง TQM สามารถกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันที่ตอบโจทย์คุณ หรือหากต้องการปรึกษาเรื่องประกัน สามารถทักแชทหาพี่หมี TQM ได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านทาง Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง