เช็คราคาแผนประกัน
กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *
|
อ่านแล้ว 1,454 ครั้ง
การติดตั้งเครื่องชาร์จภายในบ้าน ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับรถไฟฟ้า EV มากขึ้น เพียงแต่จะต้องเข้าใจในระบบการชาร์จรถไฟฟ้า EV ที่บ้านก่อนติดตั้ง เพื่อความปลอดภัยตลอดการใช้งาน วันนี้พี่หมี TQM จึงจะพาไปรู้จักประเภทของเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และสิ่งที่ต้องคำนึงเพื่อชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านอย่างปลอดภัยและถูกต้อง
เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger) ทำหน้าที่เป็นตัวอัดประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสสลับ (EV AC Charger) และ เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากระแสตรง (EV DC Charger) ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
ข้อดี : ค่าใช้จ่ายต่ำ เหมาะสำหรับการใช้งานที่บ้าน สามารถใช้ประโยชน์จากการชาร์จในช่วงเวลากลางคืนที่มีอัตราค่าไฟฟ้าต่ำ
ข้อเสีย : ความเร็วในการชาร์จช้า
ข้อดี : ความเร็วในการชาร์จสูง ช่วยลดเวลาการรอคอย เหมาะสำหรับการเดินทางไกล
ข้อเสีย : ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงและอาจต้องการการอัพเกรดระบบไฟฟ้า
สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้าน สิ่งแรกเลยที่จะต้องคำนึงก็คือรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นแบบไหน รุ่นและยี่ห้อจะต้องใช้กับเครื่องชาร์จแบบใด จากนั้นจึงมาพิจารณาระบบไฟฟ้าในบ้าน และจุดที่จะติดตั้งเครื่องชาร์จตรงส่วนไหนของบ้าน
สำหรับคนที่ต้องการชาร์จรถไฟฟ้าในบ้าน จะต้องใช้ขนาดมิเตอร์ 30(100) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าขนาดมิเตอร์บ้านพักทั่วไป ที่ใช้มิเตอร์เพียง 15(45) ฉะนั้นควรติดต่อทางการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มาเปลี่ยนมิเตอร์ที่บ้านก่อนติดตั้งเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าเพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้ามากเกินไปจนเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
ขนาดสายเมนจะต้องมีขนาด 25 ตร.มม. และใช้ลูกเซอร์กิตหรือเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) สวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน โดยจะต้องสามารถรับกระแสไฟได้ถึง 100 (A) เพื่อรองรับและสอดคล้องกับขนาดมิเตอร์ที่เพิ่มขึ้น
ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) จะต้องมีช่องว่างสำหรับติดตั้งลูกเซอร์กิตหรือเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) แต่หากตู้ไม่มีช่องว่าง จำเป็นต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด
อุปกรณ์สายชาร์จไฟฟ้ารถ EV จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออก หากไม่มีระบบตัดไฟภายในตัว จำเป็นจะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) เพื่อทำหน้าที่ตัดไฟ เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ได้ แต่หากสายชาร์จไฟฟ้ามีระบบตัดไฟภายในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม
ลักษณะเต้ารับสำหรับเสียบชาร์จรถไฟฟ้า จะขึ้นอยู่กับรูปแบบปลั๊กของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น ซึ่งโดยทั่วไปจะต้องเป็นชนิด 3 รู และทนกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 16(A)
ตำแหน่งที่ติดตั้งเต้ารับแท่นชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ควรห่างจากจุดที่เสียบชาร์จรถไฟฟ้าเกิน 5 เมตร เพราะความยาวของสายชาร์จส่วนใหญ่อยู่ที่ 5-7 เมตร และที่สำคัญจะต้องอยู่ในที่ร่ม กันแดด ฝน และฝุ่นได้ และถ้าเป็นไปได้ควรเลือกจุดชาร์จใกล้ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) จะช่วยประหยัดค่ใช่จ่ายในการเดินสายไฟ
สรุปก็คือ เมื่อต้องการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้านจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักโดยตรวจสอบจากรายการข้างต้น เลือกอุปกรณ์ชาร์จที่ได้มาตรฐาน และพิจารณาจ้างช่างไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตเพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าภายในบ้านเราเป็นไปอย่างเหมาะสมและตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยทั้งหมด แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ ทางที่ดีเตรียมรับมือด้วย ประกันรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่คุ้มครองมากกว่าตัวรถยนต์ คือคุ้มครองรวมถึงเครื่องชาร์จ และสายชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านด้วย หากสนใจ สามารถเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าได้ที่นี่ หรือปรึกษาเรื่องประกันภัยกับ TQM โทร 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *