อย่างที่ทราบกันดีว่าการมีรถหนึ่งคันจะต้องมีค่าใช้จ่ายตามมา ทั้ง พ.ร.บ. ค่าภาษีรถยนต์ และค่าประกันรถยนต์ ซึ่งวันนี้พี่หมีจะขอพูดถึง ค่าภาษีรถยนต์ที่เราจะต้องชำระในทุกๆ ปี เมื่อมีการ
ต่อภาษีประจำปี ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะทางกรมขนส่งทางบกเขาคำนวณให้เราเสร็จสับ โดยจะขึ้นอยู่กับรุ่นรถยนต์ และขนาดของเครื่องยนต์ เพียงเราควักเงินไปจ่ายที่กรมขนส่งฯ หรือในยุคดิจิตอลแบบนี้ก็สามารถ
ชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ ไม่ต้องไปกรมขนส่งฯ เลย
แต่เพื่อนๆ เคยสงสัยกันไหมเอ่ยว่า ภาษีที่เราจ่ายไปทุกๆ ปีเนี่ย มีวิธีคำนวณอย่างไร วันนี้พี่หมี TQM มีขออาสาแนะนำ "วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือสีดำแบบละเอียด พร้อมยกตัวอย่างให้ด้วย" เพื่อให้คุณรู้จำนวนเงินที่ต้องเตรียมไว้จ่ายก่อนช่วงต่อภาษีรถยนต์มาถึงนั่นเอง
วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ป้ายขาว
รถป้ายทะเบียนสีขาว ตัวหนังสือดำ หรือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง รถ SUV และรถกระบะ 4 ประตู จะใช้วิธีคำนวณภาษีที่ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (ซีซี) ดังนี้
- 1-600 ซีซี / คิดซีซีละ 0.5 บาท
- 601-1,800 ซีซี / คิดซีซีละ 1.5 บาท
- 1,801 ซีซีขึ้นไป / คิดซีซีละ 4 บาท
แต่หากรถประเภทนี้มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษีตามขั้นของอายุการใช้งาน (ยิ่งอายุการใช้งานมากยิ่งได้รับส่วนลดมากขึ้น) ดังนี้
- อายุการใช้งาน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
- อายุการใช้งาน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
- อายุการใช้งาน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
- อายุการใช้งาน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
- อายุการใช้งานตั้งแต่ 10 ปีเป็นต้นไป จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%
ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์
♦ รถเก๋งเครื่องยนต์ 1,500 cc อายุรถ 5 ปี จะเริ่มคำนวณจาก 600 cc แรก จึงค่อยคิดในส่วนที่เกินมาจาก 600 ถึง 1,500 แล้วนำมาบวกกัน
1. 600 cc แรก คิด cc ละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
2. 601 ถึง 1,500 cc คิด cc ละ 1.5 บาท = (1,500 - 601) = 899 x 1.5 = 1,348.5 บาท
|
ฉะนั้นจะได้ค่าภาษี 300 + 1,348.5 = 1,648.5 บาท แต่จะไม่ได้ส่วนลด เพราะรถมีอายุการใช้งานเพียง 5 ปี
หรือในกรณี ♦ รถยนต์มีขนาดเครื่องยนต์เกิน 1,800 cc และอายุการใช้งานเกิน 6 ปี เช่น รถเก๋งเครื่องยนต์ 2,000 cc อายุรถ 7 ปี 3 เดือน จะแยกคำนวณออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. 600 cc แรก คิด cc ละ 0.5 บาท = 600 x 0.5 = 300 บาท
2. 601 ถึง 1,800 cc คิด cc ละ 1.5 บาท = (1,800-601) = 1199 x 1.5 = 1,798.50 บาท
3. 1,801 cc ขึ้นไป คิด cc ละ 4 บาท = (2,000- 1,801) = 199 x 4 = 796 บาท
|
ฉะนั้นจะได้ค่าภาษี 300 + 1,798.5 + 796 = 2,894.5 บาท และได้รับส่วนลดค่าภาษี 20% คือ 2,894.5 x 20% = 578.9 บาท จึงจะต้องจ่ายค่าภาษีทั้งหมด 2,894.5 + 578.9 = 3,473.4 บาท
เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถคำนวณภาษีรถยนต์ได้ด้วยตนเอง และเมื่อถึงเวลาชำระภาษีอย่าลืมไปต่อภาษีรถยนต์ทันที หรือ ไปต่อล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน มิเช่นนั้นจะต้องโดนปรับ 1% ของค่าภาษีรถยนต์ต่อเดือนนะครับ (
ถ้าไม่จ่ายภาษีรถยนต์ โดนปรับเท่าไหร่?) และอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรลืมทำคือ ประกันภัยรถยนต์ เพื่อคุ้มครองรถและคุณยามเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน แต่ก่อนซื้อประกัน ควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ หรือเช็คเบี้ยประกันรถยนต์กับพี่หมีที่พร้อมให้คำแนะนำคุณตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านแชทได้ที่นี้ หรือกรอกข้อมูลด้านล่างให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้เลยครับผม ^^