เช็คราคาแผนประกัน
กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *
|
อ่านแล้ว 756 ครั้ง
ด้วยสภาพอากาศในประเทศไทยค่อนข้างที่จะร้อน และร้อนมาก แอร์รถยนต์ ถือเป็นส่วนสำคัญ ที่ทำให้การขับรถของเรามีความสบายมากขึ้น แต่การใช้งานเป็นประจำ มักต้องมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น แอร์ไม่เย็น แอร์มีแต่ลมร้อน หรืออาจเกิดเหตุการณ์แอร์เสียก็เป็นได้ วันนี้พี่หมี TQM ได้รวบรวมวิธีการเปิดแอร์รถยนต์ที่ถูกต้องและวิธีที่ทำให้แอร์รถยนต์เย็นเร็ว พร้อมทั้งสิ่งที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากให้แอร์รถยนต์พังเร็ว
อุณหภูมิจากภายนอกอาจส่งผลให้แอร์รถยนต์ไม่เย็นแล้ว การที่เครื่องยนต์มีความร้อนสูงเกินไปก็ทำให้แอร์รถต้องทำงานหนัก
อาจเป็นเพราะฝุ่นที่จับตัวหนาหรืออาจเกิดจากการสะสมของคราบเชื้อราและคราบสกปรกต่าง ๆ บริเวณเครื่องกรองแอร์
อาจส่งผลต่อการระบายอากาศทำให้อากาศร้อน ชื้น และส่งผลต่ออากาศในรถยนต์ได้
หากคอมเพรสเซอร์เกิดชำรุดขึ้นมาจึงส่งผลให้แอร์ไม่เย็น แต่จะลมออกมาเท่านั้น ซึ่งสาเหตุของคอมเพรสเซอร์แอร์เสียนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ควรนำรถเข้าอู่เพื่อเช็คอาการจะดีที่สุด
หากน้ำยาแอร์รั่วขึ้นมาเมื่อไร แรงดันภายในแอร์ก็จะลดลง ทำให้เวลาเปิดแอร์ในรถจะมีแต่ลมออกมา ไม่มีความเย็นจากแอร์เลย
ทุกครั้งก่อนสตาร์ทรถยนต์ ควรเช็คปุ่มควบคุมคอมเพรสเซอร์ (A/C) ว่าปิดอยู่ไหม ถ้ายังไม่ปิด ต้องกดปิดก่อนที่จะเริ่มสตาร์ทรถยนต์ เพื่อไม่ให้คอมเพรสเซอร์เป็นตัวฉุดกำลังของไฟฟ้าในขณะที่จะสตาร์ทรถยนต์ และควรทิ้งเวลาไว้สักพัก จากนั้นถึงเปิดแอร์ได้ เพื่อรักษาคอมเพรสเซอร์แอร์ไม่ให้ถูกกระชากไฟ
หลังจากสตาร์ทรถยนต์และเปิดแอร์แล้ว ควรทำการเปิดแอร์โดยใช้ความเร็วของพัดลมเสริมก่อน เพื่อเป็นการไล่ความร้อนในระบบแอร์ออกไป หลังจากนั้นจึงค่อยปิดปุ่ม A/C และค่อยปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ
หลังจากเปิดแอร์แล้ว ถ้ารู้สึกว่าในรถของคุณเย็นเกินไป ห้ามปิดช่องแอร์ทันที แต่ควรจะปรับอุณหภูมิของแอร์ให้สูงขึ้น เพื่อที่คอมเพรสเซอร์จะได้ไม่ต้องทำงานหนัก
ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางประมาณสัก 3 – 5 นาที หรือประมาณ 200 - 300 เมตร ให้ปิดปุ่ม A/C และเปิดพัดลมไปที่ความเร็วสูงสุด เพราะวิธีนี้จะช่วยลดการทำงานของคอมเพรสเซอร์ พร้อมทั้งยังไล่ความชื้นออกจากคอยล์เย็นได้
เพราะสารเคมีอาจระเหยและถูกดูดเข้าไปสะสมตัวที่ครีบเล็กๆ ของคอยล์เย็น เลยส่งผลให้คอมเพรสเซอร์ทำงานหนักขึ้น และจะทำให้เกิดผลเสียตามมาต่อระบบการทำงานของคอยล์เย็นได้
เพราะการเปิดกระจกในระหว่างที่ยังขับรถและเปิดแอร์อยู่นั้น อาจทำให้ฝุ่นละอองต่างๆ เข้าไปอุดตันในตู้แอร์ได้เร็วยิ่งขึ้น แถมการเปิดกระจกขับรถนั้นยังทำให้รถยนต์กินน้ำมันมากขึ้นด้วย
เพราะภายในรถยังมีความร้อนอยู่มาก จึงควรเปิดกระจกหน้าต่างและเปิดเฉพาะพัดลมก่อน เพื่อไล่ความร้อนและลดอุณหภูมิภายในรถยนต์เสียก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยเปิดแอร์ภายในรถได้
ควรล้างแอร์ทุกๆ 2 ปี หรือทุก 30,000 กิโลเมตร เพื่อช่วยกำจัดสิ่งสกปรกในระบบแอร์ การเปลี่ยนไส้กรองแอร์ ควรเปลี่ยนทุก 1 ปี หรือเปลี่ยนเมื่อรถยนต์ครบระยะ 20,000 กิโลเมตร ถ้าคนเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจควรเปลี่ยนกรองแอร์ทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
รถยนต์ยังคงใช้ระบบหล่อเย็นสำหรับการทำความเย็นให้แอร์อยู่เช่นกัน การตรวจสอบสารหล่อเย็นที่มีอยู่ในคอมเพรสเซอร์ และคอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อนเป็นเรื่องสำคัญ ควรหมั่นตรวจสอบทุก 6 เดือน
การทำความสะอาดดูดฝุ่นและสิ่งสกปรกอยู่เป็นประจำ จะช่วยลดปัญหาการสะสมของฝุ่นในช่องแอร์ที่เป็นสาเหตุของการทำให้แอร์ตันได้ นอกจากนั้นการเก็บสิ่งของออกจากรถ ก็สามารถทำให้อากาศไหลเวียนได้ดีมากขึ้นด้วย
การจอดรถในที่ร่ม นอกจากจะช่วยถนอมสีตัวถัง และส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถแล้ว ยังทำให้แอร์รถยนต์เย็นเร็ว และควรใช้ที่บังแดดหน้ารถชนิดป้องกันรังสี UV อยู่เสมอ เพื่อช่วยป้องกันความร้อนได้ในระดับนึง
ควรตั้งอุณหภูมิของแอร์ให้เหมาะสมกับภายในรถและไม่ควรตั้งให้เย็นจนเกินไปเพื่อไม่ให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยการเปิดแอร์ในรถควรปรับระดับพัดลมของแอร์ให้อยู่ในระดับปานกลาง หากเป็นระบบอัตโนมัติ ก็ให้เปิดแอร์ในระดับความเย็นปกติที่ 23-25 องศาเซลเซียส
การดูแลรักษาแอร์รถยนต์เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยให้แอร์เย็นฉ่ำท้าทายอำนาจอากาศในเมืองไทยแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของคอมเพรสเซอร์และระบบแอร์ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม เรายังต้องหมั่นดูแลรถยนต์ในส่วนอื่นๆ ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายตามมา แต่หากเกิดขึ้นแล้วจนรถไม่สามารถขับไปต่อได้ การมีประกันรถยนต์ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยเหลือยามฉุกเฉิน มีบริการรถยก รถลาก จากบริษัทประกัน ช่วยให้คุณอุ่นใจในวันที่รถอาจเสียกลางทาง สนใจเช็คราคาประกันรถยนต์ ราคาสุดคุ้ม เพียงกรอกข้อมูลที่กล่องด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันตรงใจ หรือทักแชทหาพี่หมี TQM ได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านทาง Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *