เช็คราคาแผนประกัน
กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *
|
อ่านแล้ว 24,212 ครั้ง
ยามอุบากอง บางคนที่สนใจในเรื่องของศาสตร์การพยากรณ์หรือความเชื่อต่างๆ อาจจะเคยได้ยินชื่อนี้กันมาบ้างแล้ว หรือใครที่พึ่งเคยได้ยินและสงสัยว่าคืออะไร ทำไมคนถึงนิยมใช้หลักยามอุบากองในการดูฤกษ์งามยามดีต่างๆ วันนี้พี่หมี TQM จะพาไปทำความรู้จักกับ ยามอุบากอง พร้อมวิธีดูยามอุบากองอย่างถูกต้องกันครับ
ยามอุบากอง หรือบางคนนิยมเรียกว่า ยันต์อุบากอง คือศาสตร์หนึ่งในการดูฤกษ์งามยามดีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และถูกสืบทอดความเชื่อมาจนปัจจุบัน นิยมใช้เพื่อดูวันดี เวลาดีในการออกเดินทางหรือกระทำสิ่งต่างๆ เช่น ออกรถใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ โดยเชื่อว่าถ้าเลือกเวลามงคลตามตำราอุบากองแล้วจะประสบความสำเร็จ เดินทางปลอดภัยจากอุบัติเหตุและอันตราย ในทางตรงกันข้าม หากเลือกเวลากาลกิณี ก็จะพบเจอกับโชคร้ายหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
คำว่า "อุบากอง" เป็นชื่อนายทหารเอกของพม่า ที่เข้ามาตีเมืองไทยในสมัยต้นรัชกาลกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีประวัติที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ตามตำราพรหมชาติ ดังนี้
เมื่อเดือนห้า ปีพ.ศ.2340 นายทหารยศขุนพล ที่มีชื่อว่า อุบากอง คุมกำลังเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่ แต่อุบากองก็ถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ ทางพ่อเมืองเชียงใหม่จึงสั่งคุมตัวอุบากองลงมายังเมืองกรุงเทพฯ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่า อุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย เพราะมีพ่อ เป็นเชื้อสายพม่า แต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทานเสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน)
ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกคุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตราให้กับพรรคพวก ซึ่งตำรายันต์ยามนี้ สามารถใช้แหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้ ตามที่ตนบอกแล้ว อุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดี จึงพากันแหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปเมืองพม่าได้อย่างปลอดภัย
แต่ตำรายันต์ยามที่อุบากองบอกไว้ บังเอิญมีนักโทษพม่าที่เป็นเชื้อสายไทยบางคนไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกัน และให้ชื่อยามยาตรานี้ว่า "ยามอุบากอง" ซึ่งยามนี้มีผู้นับถือว่าแม่นยำและได้ผลจริงจึงศึกษาเล่าเรียนสืบๆ กัน มาจนถึงปัจจุบัน
หลักๆ แล้ว ยามอุบากอง จะมีวิธีอ่านด้วยกัน 3 แบบ คือ ใช้วันกับเวลา, ใช้วันข้างขึ้น และใช้วันข้างแรม โดยอุบากองที่ได้รับความนิยมมากที่คือแบบใช้วัน-เวลา เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ ตามความเชื่อของคนในสมัยก่อน
การเดินยามอุบากองแบบที่ 1 เป็นแบบที่นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด โดยรูปแบบคือ จะมี 7 วัน ตั้งแต่จันทร์ - อาทิตย์ และช่วงเวลาแบ่งเป็น กลางวัน 5 ยาม กลางคืน 5 ยาม โดย 1 ยามอุบากองเท่ากับ 2 ชั่วโมง กับ 4 บาท หรือ 2 ชั่วโมง 24 นาที โดย 1 บาท (เวลา) เท่ากับ 6 นาที นำมาซึ่งช่วงรอบเวลาดังนี้
มาต่อกันที่ ความหมายหรือคำทำนายของสัญลักษณ์บนตำรายามอุบากอง เราจะพบสัญลักษณ์เลขศูนย์หรือจุดสลับกับกากบาทปรากฎในตารางสี่เหลี่ยม โดยสัญลักษณ์ในแต่ละช่อง ถูกอธิบายผ่านคำกลอนไว้ดังนี้
ศูนย์หนึ่ง อย่าพึ่งจร แม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์ เร่งยาตรา จะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์ พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาท ตัวอัปรีย์ แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผล แม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนา เร่งยาตราจะมีชัย
และจากคำกลอน สามารถตีความหมายได้ดังนี้
เวลา | เช้า | สาย | เที่ยง | บ่าย | เย็น |
กลางวัน | 06:01 น. 08:24 น. |
08:25 น. 10:48 น. |
10:42 น. 13:12 น. |
13:13 น. 15:36 น. |
15:37 น. 18:00 น. |
กลางคืน | 18:01 น. 20:24 น. |
20:25 น. 22:48 น. |
22:49 น. 01:12 น. |
01:13 น. 03:36 น. |
03:37 น. 06:00 น. |
วันอาทิตย์ | 0000 | X | 00 | 0 | |
วันจันทร์ | 0 | 0000 | X | 00 | |
วันอังคาร | 00 | 0 | 0000 | X | |
วันพุธ | 00 | 0 | 0000 | X | |
วันพฤหัสบดี | X | 00 | 0 | 0000 | |
วันศุกร์ | 0000 | X | 00 | 0 | |
วันเสาร์ | 0 | 0000 | X | 00 |
ให้เริ่มจากการดูวันที่ออกเดินทางหรือเริ่มทำกิจสำคัญว่าเป็นวันไหน โดยอิงตามเวลาโบราณพม่า-ไทย คือเริ่มนับวันใหม่ตอนเวลา 06.00 น. อย่างเช่นเวลากลางวันเราจะอิงตามวันปกติ แต่ถ้าเวลาเที่ยงคืนถึงหกโมงเช้า ให้ย้อนเวลาไป 1 วันตั้งต้น และเมื่อได้วันมาแล้วให้ดูช่วงเวลาที่ต้องการออกเดินทาง ช่วงไหนเป็นฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล จะมีสัญลักษณ์จุดสีดำ 2 จุด หรือ จุดสีดำ 4 จุด ให้เลือกออกเดินทางในเวลาเหล่านั้น
การดูฤกษ์ตามตำรายามอุบากอง สามารถนำมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการนัดเจอลูกค้า เริ่มต้นธุรกิจใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ ออกรถใหม่ หรือออกเดินทางท่องเที่ยว ก็สามารถคำนวณวันและเวลาตามตารางข้างต้นได้อย่างง่ายๆ แต่อย่างไรก็ตาม การดูฤกษ์ยามงามดีเป้นเพียงความเชื่อส่วนบุคคลที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่เครื่องยืนยันร้อยเปอร์เซนต์ว่าจะไม่เกิดภัยอันตราย ฉะนั้นก่อนออกเดินทาง ควรตรวจเช็กสภพารถให้พร้อมและเช็กอายุประกันภัย เพราะถ้ามีประกันไว้ อย่างน้อยช่วยให้อุ่นใจขึ้น มีประกันช่วยเหลือยามเกิดเหตุไม่คาดฝัน มองหาประกันรถยนต์จากบริษัทชั้นนำ กับ TQM ผ่อน 0% พร้อมรับสิทธิพิเศษมากมาย กรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อค้นหา หรือต้องการปรึกษาเรื่องประกันภัยโทร 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
READ MORE :
X |
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อ *
นามสกุล *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *