29/08/61

|

อ่านแล้ว 428 ครั้ง

10 ถนนในกรุงเทพ ที่น้ำท่วมขังบ่อย ๆ

10 ถนนในกรุงเทพ ที่น้ำท่วมขังบ่อย ๆ ไม่ถึงกับหนักแต่ก็ทำให้รถติด

 
วันไหนตากผ้าฝนก็จะตก วันไหนเพิ่งล้างรถ ฝนก็จะตก ดูไม่มีอะไรพอดีเลย ทุกวันนี้ มนุษย์กรุงเทพจะออกจากบ้านเช็คเพียงความหนาแน่นของเส้นทางจราจรไม่ได้ ต้องเช็คสภาพอากาศด้วย ตอนเช้าเห็นแดดออกร้อนแรง เผลอบ่าย ๆ ฝนอาจจะมาก็ได้ และชอบมาในช่วงที่ต้องเดินทางกลับบ้านกันพอดี  สิ่งที่ตามมาก็คือ น้ำท่วมขังตามสี่แยกไฟแดงทำให้เกิดการติดขัดยาวกันเป็นกิโล โดยเฉพาะ 10 ถนน ต่อไปนี้
 
10 ถนนในกรุงเทพ ที่น้ำท่วม
 

1 กรุงเทพ – นนท์

 
ถนนกรุงเทพนนทบุรี ตั้งอยู่ในเขตบางซื่อ มีส่วนที่เชื่อมต่อมาจากแยกแคราย ตัดเข้าสู่ติวานนท์ได้ ออกวงศ์สว่างได้ และออกจากนครอินทร์ได้  เป็นเส้นทางหลักของชาวนนท์ ที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และเมื่อเวลาฝนตกขึ้นมาล่ะก็ เส้นทางใต้รถไฟฟ้าสายสีม่วงจะหนาแน่นด้วยรถยนต์จำนวนมากจอดแช่น้ำไปไหนไม่ได้ แต่ก็ไม่ถึงกับว่าท่วมถึงกระจกข้างรถเหมือนหน้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ถือว่ารถยนต์พอเคลื่อนตัวได้ แต่ถ้าฝนตกคนที่มีบ้านอยู่ตรงนั้นก็แทบไม่อยากออกจากบ้าน
 

2 จรัญสนิทวงศ์ (บางพลัด)

 
ในส่วนที่ใกล้กันกับถนน “กรุงเทพ-นนท์” ต่อมาทางฝั่งธนบุรีได้ก็ต้องผ่าน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ฝนตกปุ๊บยังไม่ติด พอผ่านไปสักพัก 5 นาที สนิทจริง ๆ สมชื่อ โดยเฉพาะหน้าโรงพยาบาลยันฮี ที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่มุ่งหน้าออกสู่ตลิ่งชัน และ ช่วงโค้งที่จะขึ้นสะพานซังฮี้ จะมีน้ำท่วมขังเล็กน้อย คนเดินฟุตบาทหลบเลี่ยงหนีน้ำ  และรถยนต์ก็ต้องค่อย ๆ เบียดกันเพื่อขึ้นสะพานที่มีอยู่เพียง 2 เลน และเมื่อข้ามมายังฝั่งโรงพยาบาลวชิรพยาบาล ก็จะวิ่งได้เลนเดียว ทำให้การจราจรติดขัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนอย่างมาก
 

3 เยาวราช – เจริญกรุง

 
ถนนเยาวราชไม่ได้ต่ำมาก แต่ติดตลิ่งเจ้าพระยา  เดือนไหนที่น้ำขึ้นสูง แล้วระบายน้ำออกทะเลไม่ทัน ช่วงถนนเยาวราชใกล้ท่าน้ำราชวงศ์จะเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ส่งผลให้ติดยาว ๆ มาถึงสำเพ็ง คลองถม วรจักร  ส่วน “เจริญกรุง” เป็นถนนสายแรกของประเทศไทย ต้นสายรถเมล์สาย 1 วิ่งตลอด  ผ่านเอเชียทีค ช่องนนทรี เป็นถนนสายยาวกว่า 100 ซอย  และกว่าจะผ่านพ้นไปแต่ละซอยในช่วงฝนตก ก็ใช้เวลาไปหลายชั่วโมง แม้น้ำจะขังไม่มาก
 

4 บางรัก – สี่พระยา – พระราม 4

 
ถ้าหากฝนตกหนักมาก ๆ บริเวณหน้าไปรษณีย์บางรัก ยาวมาถึงแยกสามย่าน ตัดกับถนนพระราม 4 จะมีน้ำท่วมขังสูงประมาณตาตุ่ม จนวินรถจักรยานรับจ้างอาจจะขออนุญาตไม่รับผู้โดยสารชั่วคราว เพราะไม่คุ้มกับการลุยน้ำจริง ๆ และอย่าถามว่ารถติดแค่ไหน ..โชคดีที่ไม่ใช่เส้นทางสายหลัก แต่ก็ทำให้ผู้ที่ต้องใช้เส้นทางบางรักปวดหัวประมาณนึง
 

5 สีลม – ศาลาแดง

 
สีลมเป็นแหล่งศูนย์รวมของร้านอาหารและโซนท่องเที่ยว รวมถึงมีออฟฟิศขนาดใหญ่มากมาย มีผู้คนใช้รถยนต์พลุกพล่านทั้งกลางวันและกลางคืน แม้ว่าจะมีทะเลสาบใหญ่อยู่ที่สวนลุมพินี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากรุงเทพมหานครจะระบายน้ำลงสวนลุม เพราะน้ำฝนก็ต้องลงท่อระบายน้ำ สู่ท่อน้ำทิ้งอยู่ดี และโซนสีลม ศาลาแดง ถือว่ามีคนอยู่เยอะมาก และมีร้านอาหาร Street Food รายทาง จึงทำให้เกิดปัญหาขยะอุดตันทางระบายน้ำเสีย ในขณะที่ถนนก็ไม่ได้ต่ำมาก ฝนตกหนักทีไรน้ำระบายไม่ทัน สี่แยกนี้ไฟแดงนานอยู่แล้ว รถชะลอน้ำก็ยิ่งทำให้อาการติดสาหัส
 

6 อโศก-เพชรบุรี

 
ข้ามมาที่ฝั่งอโศก เพชรบุรี ถนนสายนี้ติดกับคลองแสนแสบ มีเรือด่วนคอยวิ่งให้บริการแต่ก็ไม่ทำให้จำนวนรถยนต์น้อยลงเลย มีแต่เพิ่มขึ้นมาก ๆ เพราะเป็นศูนย์กลางของออฟฟิศใหญ่ ๆ และเมื่อฝนตกทีไรก็ทำให้คนเดินถนนลำบากกันมาก รถยนต์ต้องหลบให้คนข้าม และต้องรอไฟแดงกันนานที่สุด ถือได้ว่าเป็นถนนที่รถติดจนเป็นอันดับต้น ๆ ของแยกที่คนมีรถยนต์กลัว
 

7 สุขุมวิท

 
ถนนสุขุมวิทในกรุงเทพ มีเป็น 100 ซอย แต่ละซอยก็แบ่งออกเป็นแยกอย่างใยแมงมุม จนคนนอกพื้นที่เอง ไม่สันทัดกับถนน One Way นี้  และบางซอยถูกต่อเติมทำให้เกิดช่วงพื้นที่ต่ำสูงไม่เท่ากัน เกิดเป็นน้ำเจิงนองบดบังทัศนวิสัยของคนขับต้องชะลอหยุด ชะลอขับ ไปกันลำบากทีเดียว
 

8 รามคำแหง

 
อ้อมมาทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงกันบ้าง เส้นทางนี้บางคนมาจาก พัฒนาการ สุขุมวิท แล้วต้องการเปลี่ยนเส้นทางไปยังลาดพร้าว ก็จะมาติดแน่นตรงทางตัดแถว รามคำแหง 20 ที่กำลังก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง การก่อสร้างไม่ได้ปิดทางระบายน้ำ แต่เส้นทางรามคำแหงบางซอย มีภาวะรถติดสะสมมาเพิ่มถนนหลักอยู่ ทำให้ต้องเผื่อเวลาการเดินทางในวันฝนตกให้มาก
 

9 ลาดพร้าว

 
ลาดพร้าวนี้เป็นถนนที่รถติดอยู่แล้ว และมีแยกให้กลับรถไม่มาก ถนนลาดพร้าวมีเพียง 2 เลน ลักษณะการใช้ถนนของคนขับรถทางนี้ต้องระวังรถเมล์ที่ชอบวิ่งเลนขวา และต้องขับระวังรถจักรยานยนต์ที่มาแทรก และมาเร็ว และวันที่ฝนตกมักไม่ค่อยมีที่หลบมาก ทำให้ต้องแบ่งกันใช้เส้นทางตลอดซอย จึงทำให้รถติดสาหัส
 

10 พัฒนาการ - ศรีนครินทร์-บางนา

 
ในบางช่วงของถนนหากคุณขับรถอยู่และต้องการเลี้ยวเข้าซอยอาจจะกลายเป็น เลี้ยวลงหลุมฝังรถตัวเองไปเลยก็ได้ รถยนต์ที่โหลดต่ำ จะเกิดอาการน้ำเท่าท่อไอเสีย ซึ่งทำให้ห้องเครื่องดับ ไปต่อไปได้ ต้องเอารถส่งศูนย์เคลมประกันอย่างเดียว
 
 
แม้ว่าคอนเซ็ปต์ของกรุงเทพมหานคร จะบอกว่า “..เพื่อชีวิตที่ดีกว่า” แต่หากฝนตกลงมานาน ๆ ก็ออกจากบ้านกันไม่ได้ทีเดียว  ช่วงนี้รัฐบาลกำลังเร่งเปลี่ยนแปลงถนนไม่ให้รถติดภายใน 3 เดือน ซึ่งหากนับไปก็จะสิ้นสุดโครงการช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 พอดี ก็หวังว่าเมื่อกลับมาอ่านบทความนี้กี่รอบผ่านไปก็ตาม คงจะได้เห็นถนนโล่ง ๆ บ้าง 
 
 
READ MORE : 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล