25/08/66

|

อ่านแล้ว 341 ครั้ง

ข้อเข่าเสื่อม อาการยอดฮิตในผู้สูงอายุ

     อาการข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคข้อที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และก็สามารถพบได้ในวัยทำงานได้เช่นกัน เป็นสภาวะที่กระทบถึงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่อยู่รอบข้อเข่า โดยผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย ซึ่งหากเป็นแล้วควรเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง วันนี้พี่หมี TQM เลยจะมาบอกถึง อาการข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ มีอาการอย่างไรที่ต้องระวัง พร้อมวิธีการรักษาจากโรคนี้ ครับ

ประกันสุขภาพ


เช็กอาการข้อเข่าเสื่อม เป็นอย่างไร

ปวดข้อเข่า

     ปวดที่ข้อเข่า ถือเป็นอาการที่พบได้มากที่สุด อาจมีความเรื้อรังหรือรุนแรงขึ้นตามระยะเวลา โดยอาการปวดมักเกิดขึ้นเมื่อเริ่มเคลื่อนไหวหรือหลังจากกิจกรรมที่ใช้ความเคลื่อนไหวของข้อเข่า เช่น ขึ้นลงบันได  วิ่ง ยืนเป็นเวลานาน หรือทำกิจกรรมที่เข่าต้องใช้แรงมากขึ้น บางครั้งอาจมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงเช้า

ข้อบวมและอักเสบแดง

     เนื่องจากกระบวนการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อข้อเข่า ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการอักเสบและการบวมรอบข้อเข่าได้ ทำให้มีอาการข้อเข่าบวม และร้อน รวมถึงอาจมีความแดงเกิดขึ้นที่บริเวณข้อเข่าได้

มีเสียงดังในข้อเข่า

     ในบางครั้งเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นการเหยีดขา งอเข่า จะเกิดเสียงดังในข้อเข่าออกมา หรือรู้สึกเจ็บเสียวตามแนวบริเวณข้อเข่า แสดงว่าข้อเข่านั้นเสื่อมแล้ว

เข่าโก่งงอผิดรูป

     หากปล่อยละเลยอาการจนนานเกินไป อาจทำให้เกิดข้อเข่าโก่งงอผิดรูปและมีอาการเจ็บปวด และหากรุนแรง อาจถึงขั้นไม่สามารถเดินได้เลยทีเดียว

อาการข้อเข่าเสื่อม เป็นอย่างไร


พฤติกรรมที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม

  • อายุ : การเสื่อมข้อเข่ามักเกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ข้อเข่าที่ใช้งานมานานจะมีโอกาสเสื่อมขึ้นมากกว่าข้อเข่าที่ไม่ได้ใช้งานมานานเท่านั้น แต่คนหนุ่มสาวก็สามารถเป็นได้เช่นกัน หากมีความเคลื่อนไหวมากหรือเคยป่วยบ่อย ก็อาจทำให้เกิดการเสื่อมข้อเข่าได้เร็วขึ้น ซึ่งข้อเข่าเสื่อมมักจะเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 
  • น้ำหนัก: คนที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรือเป็นโรคอ้วน สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเสื่อมข้อเข่า เนื่องจากเกิดการกดทับต่อข้อเข่ามากขึ้น ผิวกระดูกอ่อนที่ข้อเข่านั้นได้รับการเสียดสีมากกว่าปกติ ทำให้เนื้อเยื่อข้อเข่าเสื่อมลงได้
  • ประสบอุบัติเหตุบริเวณเข่า : หากเคยได้รับการบาดเจ็บที่หัวเข่า หรือเกิดภาวะอักเสบเฉียบพลันในข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นข้อเข่าเคลื่อนหลุด หมอนรองเข่าฉีกขาด กระดูกหัวเข่าหัก เป็นต้น อาจทำให้เนื้อเยื่อข้อเข่าเสื่อมและเกิดอาการปวดเร็วขึ้น
  • การใช้งานข้อเข่า : การใช้งานของข้อเข่าเป็นเวลานาน หรือกิจกรรมที่มีการกดขยับบ่อย เช่น การยืนนานๆ การขึ้นลงบันได การคุกเข่า นั่งยองๆ หรือนั่งพับเพียบ  อาจเสี่ยงให้เกิดการเสื่อมข้อเข่า

วิธีการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม

     การรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม นั้นมีหลายวิธีและขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและสภาวะของผู้ป่วยแต่ละคน เป้าหมายของการรักษาคือการบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ และป้องกันการเสื่อมของเนื้อเยื่อข้อเข่าในอนาคต โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

  • การรักษาโดยใช้ยา : แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาต้านการอักเสบ การฉีดยาสเตียรอยด์ ฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียม เป็นต้น เพื่อบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และการวินิจฉัยของทางแพทย์ด้วยครับ
  • การรักษาโดยการแพทย์แผนไทย : การรักษาด้วยการนวดและการบรรเทาอาการด้วยสมุนไพร เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง หากคุณสนใจ ควรพบแพทย์แผนไทยเพื่อรับการประเมินและการวางแผนการรักษา
  • การรักษาโดยทำกายภาพ :  การฝึกกายภาพกับนักกายภาพบำบัดช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเพิ่มความยืดหยุ่นในข้อเข่า เพื่อช่วยลดอาการปวดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับข้อเข่า
  • การรักษาโดยการผ่าตัด : ในกรณีที่อาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรงมากและไม่ได้รับประสิทธิภาพจากการรักษาอื่นๆ แพทย์อาจพิจารณาแนะนำให้ผ่าตัดข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นแบบผ่าตัดเข่าส่องกล้อง ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแบบบางส่วน-ทั้งหมด เป็นต้น

วิธีการรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม


     และนี่ก็เป็น อาการข้อเข่าเสื่อม ที่นอกจากผู้สูงอายุจะต้องระวังแล้ว มนุษย์เงินเดือนวัยทำงานเองก็ต้องระวังจากโรคนี้ด้วยเช่นกัน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าว และหากพบว่ามีอาการผิดปกติที่ข้อเข่า ควรรีบพบพทย์เพื่อเป็นการเช็กอาการทันที และนอกจากนี้ควรมองหาประกันสุขภาพ ไว้ดูแลสุขภาพคุณ หากเจ็บป่วยก็ยังมีประกันที่ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายจากการรักษา เบี้ยเริ่มวันละ 20 บาท คุ้มครองค่ารักษาสูงสุด 400,000 บาท ไม่ต้องสำรองจ่าย สนใจคลิกดูรายละเอียดที่นี่เลย หรือโทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

 READ MORE : 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง