28/09/65

|

อ่านแล้ว 248 ครั้ง

ตรวจสุขภาพหัวใจ มีวิธีไหนบ้าง

     เพื่อนๆ ทราบไหมว่า จากสถิติขององค์การอนามัยโลก ทุก 1 ชั่วโมง มีคนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจถึง 2 คน โดยผู้ป่วยบางรายมีสัญญาณเตือน ก็สามารถเข้ารับรักษาได้ทัน แต่บางรายไม่มีอาการแสดง หรือที่เรียกว่า โรคหัวใจวายเฉียบพลัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า หัวใจมีความผิดปกติ วันนี้พี่หมี TQM รวบรวมวิธีตรวจสุขภาพหัวใจ ทั้งแบบตรวจเองและแบบใช้เครื่องมือ มาฝากครับ
 
ตรวจสุขภาพหัวใจ
 
     โรคหัวใจ หรือ Heart Disease คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ทั้งนี้ทำให้การตรวจสุขภาพโรคหัวใจมีหลายรูปแบบ สามารถตรวจได้ด้วยตัวเองเบื้องต้น หรือพบแพทย์เพื่อคัดกรองอาการ ประวัติการเจ็บป่วย เพื่อทำการวินิจฉัยและส่งตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ต่อไป

วิธีตรวจสุขภาพหัวใจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์

     การตรวจสุขภาพหัวใจกับเครื่องมือทางการแพทย์จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์ด้านหัวใจ 
 
1. การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG,ECG) ใช้ตรวจกระแสไฟฟ้าขณะหัวใจบีบตัว เป็นวิธีที่ง่าย ไม่เจ็บ และใช้เวลานิดเดียว
2. การเอกซเรย์ทรวงอก และปอด (Chest X-Rays) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของปอด หลอดเลือดแดง การกระจายของเลือด ภาวะน้ำท่วมปอด หัวใจล้มเหลว
3. การตรวจเลือดประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ เพื่อบอกถึงค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
4. การตรวจหาความหนาของผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ 2 ด้าน เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อหลอดเลือดตีบในอนาคต
5. การตรวจหาการอุดตันของหลอดเลือดแดง (ABI) เพื่อตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ 
6. การตรวจคราบหินปูนในหลอดลือดหัวใจ (Calcium Score) เพื่อบอกปริมาณหินปูนที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดหัวใจ ใช้สำหรับตรวจหาภาวะเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะเริ่มต้น
7. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือวิ่งบนสายพาน (Exercise Stress Test: EST) เพื่อตรวจหาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดขึ้นในขณะออกกำลังกาย ใช้ตรวจคนที่มีอาการเหนื่อยผิดปกติ หรือเจ็บแน่นหน้าอก
8. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ การไหลเวียนของเลือด ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
9. การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ อีกทั้งสามารถประเมินการไหลเวียนของเลือดในหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. การตรวจด้วยเครื่องบันทึกไฟฟ้าแบบพกพา (Holter Monitoring) ใช้อัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลา สามารถทำกิจกรรมทั่วไป หรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ใช้ตรวจคนที่มีปัญหาใจสั่น หน้ามืด เป็นลม แต่อาจจะเป็นไม่กี่นาทีก็หาย
11. การตรวจวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ (Coronary Artery Angiography) เพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และประเมินว่ากล้ามเนื้อหัวใจตีบหรือไม่ แข็งแรงเพียงใด ลิ้นหัวใจเปิดปิดได้ดีไหม รวมถึงสามารถวัดความดันภายในหัวใจและส่วนอื่นๆ ของหัวใจได้
12. การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan 128 slice) เพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ควบคู่กับการฉีดสี


 

วิธีตรวจสุขภาพหัวใจด้วยตัวเอง

     โรคหัวใจในแต่ละคน อาจเกิดความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจต่างกัน ทำให้มีอาการก็ต่างกัน สามารถเช็กสุขภาพหัวใจเบื้องต้น เพื่อรู้ทันโรคและเข้ารับรักษาอย่างทันท่วงที โดยแต่ละโรคจะมีอาการดังนี้
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ เหนื่อย อ่อนเพลีย หรือหมดสติได้
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าผิดปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลม
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม มักมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ บวมตามแขน ขา นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นม เลี้ยงไม่โต
  • โรคลิ้นหัวใจ หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมาก จะมีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้        
  • โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง 

     จะเห็นได้ว่า ปัญหาสุขภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ การตรวจสุขภาพประจำปี จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าเราจะมีอาการหรือไม่มีอาการ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีซัก 1 ครั้ง/ปี ปัญหาสุขภาพนั้นยากที่จะคาดเดา รับมือด้วย ประกันสุขภาพ จ่ายให้คุ้มครองสูงสุดกว่า 400,000 บาท เบี้ยเริ่มวันละ 20 บาท ผ่อน0% ลดหย่อนภาษีได้ ไม่กระทบเงินเก็บแน่นอน สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ประกันสุขภาพ

 READ MORE : 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง