เช็คราคาแผนประกัน
กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
ชื่อ *
นามสกุล *
เพศ *
วัน/เดือน/ปีเกิด *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *
|
อ่านแล้ว 3,249 ครั้ง
หลายคนยอมทำงานหนักแลกกับค่าตอบแทนที่สูงก็เพื่อนำเงินไปใช้ซื้อความสุขของตัวเอง แต่ถ้าวันหนึ่ง ชีวิตเล่นตลก เกิดทำงานไม่ได้ ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายวัน ทำให้ขาดรายได้ ไม่เพียงแต่พนักงานออฟฟิศที่ได้รับผลกระทบ แต่รวมถึงคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ทำมาค้าขาย หรือฟรีแลนซ์เองก็ตาม อยู่ๆ ขาดรายได้ จะเอาเงินไหนมาใช้และหมุนเวียน การมีประกันชดเชยรายได้จะเข้ามาช่วยรอบรับความเสี่ยงเหล่านั้น ว่าแต่จะมีรายละเอียดอย่างไร วันนี้พี่หมี TQM ขอเป็นตัวแทนพาเพื่อนๆ ไปทำความรู้จักกับ ประกันชดเชยรายได้ คืออะไร เหมาะกับใคร และเลือกยังไง กันครับ
หลักประกันด้านสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยและเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (แอดมิท) ผู้เอาประกัยภัยจะได้รับเป็นจำนวนเงินเพื่อชดเชยรายได้ที่เสียไปขณะนอนโรงพยาบาล โดยทางบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนรายวันให้ผู้เอาประกันภัยตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในกรมธรรม์ ทั้งนี้ ประกันชดเชยรายได้ ไม่ได้คุ้มครองในส่วนของค่ารักษาพยาบาล
ประกันชดเชยรายได้ เหมาะกับคนวัยทำงาน ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ฟรีแลนซ์ วันหนึ่งเกิดเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลติดกันหลายวัน อาจทำให้ขาดรายได้จากการหยุดงาน การทำประกันชดเชยรายได้ จะช่วยชดเชยเงินที่สูญเสียไป และช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ระหว่างรักษาตัว
เมื่อเจ็บป่วยจนต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ก็ยังไม่สูญเสียรายได้ เนื่องจากมีประกันชดเชยรายได้ โดยทางบริษัทประกันภัย จะจ่ายเงินส่วนนี้ให้กับผู้เอาประกันภัยเป็นจำนวนเงินตามแผนความคุ้มครองที่เลือก คูณด้วยจำนวนวันที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล เช่น นาย A เลือกทำประกันชดเชยรายได้ แผน 1 โดยในกรมธรรม์ระบุไว้ว่า จะได้รับเงินชดเชยกรณีเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล เป็นจำนวนเงิน 6,000 บาทต่อวัน ซึ่งนาย A จำเป็นต้องแอดมิทเป็นเวลา 3 วัน จึงจะได้รับเงินชดเชยรายได้จากทางบริษัทประกันภัย เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 6,000 คูณ 3 เท่ากับ 18,000 บาท
ประกันชดเชยรายได้ มีระยะรอคอยขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ประกันภัยนั้นๆ ตัวอย่างเช่น ประกันชดเชยรายได้ จากบริษัทกรุงเทพประกันภัย มีระยะรอคอยกรณีเจ็บป่วยทั่วไป 30 วัน และ 180 วัน สำหรับการเจ็บป่วยเฉพาะโรค เช่น เนื้องอก มะเร็ง ต้อเนื้อ ต้อลม ตัดทอมซิล นิ่วและเยื่อบุโพรงมดลูก ทั้งนี้นับจากวันที่ประกันภัยมีผลบังคับใช้ ฉะนั้นผู้ทำประกันภัยควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกัน
เราสามารถมีกรมธรรม์ประกันชดเชยรายได้หลายฉบับ เพียงแต่จำกัดบริษัทละ 1 กรมธรรม์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น นาย A ซื้อประกันชดเชยรายได้ ของบริษัท ก. ไว้ เงินชดเชย 500 บาท และซื้อประกันชดเชยรายได้ ของบริษัท ข. ไว้ เงินชดเชย 500 บาท เมื่อมีเหตุเจ็บป่วยให้ นาย A ต้องหยุดงานเพื่อเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลา 3 วัน นาย A จะได้รับเงินชดเชยรายได้บริษัทละ 500 คูณ 3 เท่ากับ 1,500 บาท ทั้งนี้ นาย A ทำไว้ 2 บริษัท จึงรวมทั้งหมดเป็นเงิน 3,000 บาท
READ MORE :
ชื่อ *
นามสกุล *
เพศ *
วัน/เดือน/ปีเกิด *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *