22/06/64

|

อ่านแล้ว 106 ครั้ง

โรคหลอดเลือดหัวใจกับการฉีดวัคซีนโควิด

     การเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด19 ถือว่ามีความสำคัญต่อมนุษย์ทุกคนอย่างมาก หลายคนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งสองเข็มเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังกังวลผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรับวัคซีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของผู้ป่วยโรคเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดหัวใจ อาจวิตกกังวลบ้าง วันนี้พี่หมี TQM ได้นำข้อมูลจากทางแพทย์เกี่ยวกับการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ มาฝากครับ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ต้องเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร

     นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ หัวหน้าศูนย์ตรวจสมรรถภาพหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ  ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ในคนที่มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรังหากติดเชื้อ COVID-19 มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาเป็นโรคที่รุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ก่อนแล้ว โดยทีมแพทย์ได้ให้คำแนะนำก่อนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจมาดังนี้

1. ตรวจสอบอาการของโรคที่เป็นอยู่ว่ามีอาการหรือไม่

     ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจต้องพิจารณาว่ามีอาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหรือไม่ เช่น มีอาการโรคหลอดเลือดหัวใจตีบชนิดเฉียบพลันจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกแรงหรือออกกำลังกายบริเวณกลางหน้าอกหรือร้าวไปแขนซ้าย และโรคหลอดเลือดหัวใจมีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวชนิดเฉียบพลันร่วมด้วย เช่น เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องนอนหมอนสูง หรือมีภาวะน้ำท่วมปอดร่วมด้วย

2. ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง

     ถ้าความดันโลหิตตัวบนสูงมากกว่า 160 มิลลิเมตรปรอท จำเป็นจะต้องควบคุมความดันโลหิตก่อน ต้องควบคุมความดันโลหิตตัวบนให้ต่ำกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทในวันก่อนมารับวัคซีน

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ต้องเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิดอย่างไร

3. กรณีที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิด Warfarin

     ถ้าระดับ INR คงที่มาตลอดและ INR ต่ำกว่า 4.0 ภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีผลระดับ INR ก่อนหน้านี้อยูในระดับต่ำกว่า 3.0 มาโดยตลอด (ไม่จําเป็นต้องหยุดหรือปรับขนาดยาและไม่จําเป็นต้องตรวจ INR ก่อนรับวัคซีน) สามารถรับการฉีดวัคซีน COVID-19 ได้โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก 25G หรือ 27G ฉีดที่กล้ามเนื้อต้นแขน แล้วกดตําแหน่งที่ฉีดไว้นานประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจประคบเย็นต่อด้วยน้ำแข็งหรือเจลเย็น 

4. ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดกลุ่มใหม่ (NOACs) และยาต้านเกล็ดเลือด

     เช่น Aspirin, Clopidogrel, Ticagrelor หรือ Prasugrel สามารถฉีดวัคซีนได้โดยไม่ต้องงดยาก่อนฉีด ควรใช้เข็มขนาดเล็ก 25G หรือเล็กกว่า และไม่ควรคลึงกล้ามเนื้อหลังฉีดวัคซีน ควรกดตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนนานอย่างน้อย 5 นาทีและแน่ใจว่าไม่มีเลือดออกผิดปกติ แต่หากมีการนัดเพื่อทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจหรือผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจในกรณีที่โรคค่อนข้างสงบหรือไม่ได้แสดงอาการควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเพื่อประเมินโดยละเอียดว่าโอกาสที่จะติดเชื้อสูงหรือไม่ หากประเมินแล้วผลดีของการฉีดวัคซีนมีมากกว่าควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ ก่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และสถานการณ์ในขณะนั้นด้วย

ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19

     ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดตามที่กล่าวมาถ้าได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จะทำให้ร่างกายสามารถฆ่าเชื้อได้เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่สูงพอ สำหรับการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก และหากได้รับวัคซีนแล้วควรสังเกตอาการ 30 นาที หากมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ควรแจ้งแพทย์ทันที และอีกสิ่งที่สำคัญก่อนการฉีดวัคซีนคือการมี ประกันแพ้วัคซีนโควิด-19 คุ้มครองทันใจ ไม่มีระยะเวลารอคอย เบี้ยเริ่มต้นเพียง 40 บาท/ปี คุ้มครองสูงสุดถึงหลักล้าน สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล