15/11/65

|

อ่านแล้ว 551 ครั้ง

มะเร็งปากมดลูก กับอาการเริ่มแรก

     มะเร็งปากมดลูก เป็น  1 ใน 5 มะเร็งร้ายที่เกิดขึ้นกับคนไทย จึงสร้างความกังวลใจให้สาวๆ วัย 30 อยู่ไม่น้อย และที่สำคัญมันมักไม่แสดงอาการในระยะแรก ต้องหมั่นสังเกตตนเอง แล้วแบบนี้เราจะรู้ทันโรงมะเร็งปากมดลูกนี้ได้อย่างไร วันนี้พี่หมี TQM จึงมาพร้อม สัญญาณเตือนอาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก ที่ผู้หญิงวัย 30 ขึ้นไป ต้องหมั่นเช็ก!

โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร

     มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อร่างกายได้รับเชื้อ HPV อาจทำให้เซลล์ที่ปากมดลูกเกิดความผิดปกติและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง มะเร็งปากมดลูกจะเกิดขึ้นบริเวณช่วงล่างของมดลูก และเชื่อมต่อกับช่องคลอด เป็นโรคร้ายที่สามารถพบได้ตั้งแต่ผู้หญิงอายุก่อน 30 ปี แต่ส่วนใหญ่มักพบในช่วงอายุ 35 – 50 ปี อย่างไรก็ตามคนส่วนมากที่ได้รับเชื้อไวรัส HPV เซลล์อาจจะยังไม่พัฒนาเป็นมะเร็งตั้งแต่แรกที่ได้รับเชื้อ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหรือรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลอาจส่งผลต่อการเกิดโรคด้วยเช่นกัน
 
โรคมะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร

ปัจจัยการใช้ชีวิตที่เสี่ยงก่อมะเร็งปากมดลูก

  • มีคู่นอนหลายคน หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • สูบบุหรี่
     นอกจากการใช้ชีวิตที่เสี่ยงก่อมะเร็งปากมดลูกแล้ว หากคนนั้นมีภูมิคุ้มกันไม่ดีจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน รวมไปถึงการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆ เช่น โรคติดเชื้อคลามีเดีย โรคหนองในแท้ โรคซิฟิลิส และโรคติดเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ ก็นำพาไปสู่การเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
 
อาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก
 

อาการเริ่มแรกของมะเร็งปากมดลูก

     มะเร็งปากมดลูกในระยะแรก มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ออกมาให้เห็น แต่เมื่อมะเร็งเริ่มหนักมากขึ้น ร่างกายจะเริ่มแสดงอาการผิดปกติที่สามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
  • ตกขาวผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด มีตกขาวมากกว่าปกติหรือตกขาวมีเลือดปน
  • มีภาวะเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น เลือดออกกระปริดกระปรอย เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมาผิดปกติ มานานขึ้นหรือมากขึ้น หรือเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อย ปวดบริเวณหัวหน่าว หรือมีอาการเจ็บขณะ/หลังมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะไม่ค่อยออก หรือปัสสาวะ/อุจจาระปนเลือด
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
     หากพบอาการข้างต้น ควรทำการนัดพบแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก หรือหากไม่มีอาการใดๆ ก็สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีแบบไหนบ้าง

  1. ตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear) คือการตรวจทางเซลล์วิทยาแบบดั้งเดิม แพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคคลอด เพื่อเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งตรวจ ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเซลล์ และแปลผลตรวจ
  2. ตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (ThinPrep Pap Test) คือการตรวจแบบเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว เป็นการตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูกแบบใหม่ แพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูก และส่งเข้าห้องตรวจเพื่อทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเซลล์และแปลผลตรวจ
  3. ตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ด้วยวิธีการตรวจ DNA คือการตรวจหาสายพันธุ์เชื้อไวรัส HPV แพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก และช่องคลอดด้านใน โดยการใช้แปรงเหมือนกับการตรวจทางเซลล์วิทยา และนำไปแช่ในกระป๋องน้ำยา HPV DNA test โดยเฉพาะ จากนั้นทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเซลล์และแปลผลตรวจ
  4. ตรวจด้วยน้ำส้มสายชู คือการตรวจโดยใช้สารละลาย Acetic acid เจือจาง 3-5% ชโลมบนปากมดลูกนาน 1 นาที แล้วสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของสีเยื่อบุปากมดลูก

     ทั้งนี้เมื่ออายุเข้าเลข 3 ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และควรตรวจทุกๆ  2-3 ปี หากไม่พบความผิดปกติ ให้เพิ่มขึ้นเป็น ทุกๆ 3-5 ปี แต่หากเป็นผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรเข้ารับการตรวจทุก 6 เดือน อย่างไรก็ตามผู้หญิงทุกคนควรหมั่นสังเกตอาการแรกเริ่ม ฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกไว้ และพร้อมรับมื่อทุกความเสี่ยงมะเร็งด้วย ประกันมะเร็ง เจอ จ่าย จบ คุ้มครองสูงสุด 5,000,000 บาท ผ่อน 0% เบี้ยเริ่มต้น 12.- /วัน สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

ประกันมะเร็ง

 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล