05/09/62

|

อ่านแล้ว 237 ครั้ง

วัยทำงานมีอาการปวดท้อง

วัยทำงานมีอาการปวดท้อง เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

     สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงขอวัยทำงาน นอกจากต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับสายตา ที่เป็นผลจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน รวมถึงปวดเมื่อยบริเวณกล้ามเนื้อเพราะนั่งอยู่กับที่แทบตลอดเวลาแล้ว อีกหนึ่งโรคที่มักเสี่ยงเกิดกับคนวัยทำงาน ก็คือโรคกระเพาะอาหา อันเนื่องมาจากพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ที่มีส่วนทำให้รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา โดยนายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคแผลในกระเพาะอาหารเอาไว้ว่า เป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงวัย ซึ่งสาเหตุเกิดจาก 2 ปัจจัย คือ
 
1. ติดเชื้อจากแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล (Helicobacter pylori)
2. การรับประทานยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) รวมถึงยาต้านเกล็ดเลือด
 
     โดยเบื้องต้นผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นสีดำ และเกิดภาวะโลหิตจางทำให้ขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นผลมาจากการเสียเลือกจากแผลในกระเพาะอาหาร
 

เพื่อเป็นการเฝ้าระวังไม่ให้ตกเป็นหนึ่งในผู้ที่มีความเสี่ยงเกิดโรคร้าย พี่หมีมีอาการปวดท้องที่มักเกิดกับผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน มาบอก ดังต่อไป

 
โรคที่มักเสี่ยงเกิดกับคนวัยทำงาน ก็คือโรคกระเพาะอาหาร
 
1.ปวดท้องบิดเกร็ง หรือท้องเสีย
     สาเหตุมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่สด และไม่สะอาด อาทิ อาหารข้างทางริมถนน หรืออาหารที่ปรุงไม่สะอาด ส่งผลให้มีอาการปวกท้องบิด ปวดเกร็งในช่องท้อง ท้องร่วง รวมถึงมีอาเจียนอีกด้วย
 
2.ปวดท้องเป็นประจำเดือน
     เป็นอาการที่ผู้หญิงเท่านั้นจึงจะเข้าใจ! โดยระดับอาการปวดที่รุนแรงต่างกันออกไป มีทั้งที่ปวดน้อยสามารถทนได้ และปวดมาก รวมถึงอาจมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยลามไปถึงสะโพก หลัง และขา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ไม่มีแรงลุกไปไหน
 
3.ปวดท้องกระเพาะปัสสาวะ
     มักปวดบริเวณท้องน้อย ซึ่งผลมาจากการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณมดลูกมีอาการผิดปกติ
 
4.ปวดท้องไส้ติ่ง
     เป็นการปวดท้องที่เสี่ยงมีอันตรายถึงชีวิต! โดยมักจะปวดบริเวณกลางลำตัว ลามไปทางขวา และมีอาการปวดรุนแรงแบบฉับพลัน
แล้วรู้หรือไม่ว่า…บริเวณที่ปวดท้องภายในร่างกาย สามารถบ่งชี้ได้ว่าคุณมีความเสี่ยงเป็นโรคอะไร! โดยพี่หมีมีข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดท้องแต่ละบริเวณของร่างกายมาแชร์กันครับ
 
ปวดท้องด้านขวาช่วงบน : มักเกิดจากโรคตับ และถุงน้ำดี
ปวดท้องด้านขวาช่วงล่าง : อาจเป็นอาการของไส้ติ่งอักเสบแบบเฉียบพลัน หรือลำไส้อักเสบ
ปวดท้องด้านซ้ายช่วงบน : เกิดจากอาการท้องผูก หรือกล้ามเนื้อบริเวณลำไส้ใหญ่หดเกร็ง หรือหากมีอาการแสบกระเพาะอาหาร ก็สันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดจากกรด และอาการเจ็บปวดจากแผลในกระเพาะ
ปวดท้องด้านซ้ายช่วงล่าง : มีอาการปวดสลับกับท้องร่วง หรือเกิดจากท้องผูก รวมถึงอาจเกิดจากโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่อักเสบ
ปวดท้องตรงกลาง : เกิดจากโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ รวมถึงมีเสี่ยงเป็นไส้ติ่งอักเสบอีกด้วย
ปวกท้องบริเวณแอ่งกระเพาะอาหาร : มักเกิดจากอาการแสบบริเวณกระเพาะอาหาร รวมถึงอาหารไม่ย่อย รวมถึงอาจเป็นโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบ
 
     เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเจ็บป่วยลุกลามใหญ่โต รวมถึงมีความเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต หากพบความผิดปกติภายในร่ายกายควรรีบพบแพทย์ทันที จะได้รู้ถึงสาเหตุของอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น และสามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรละเลยเช่นกันคือ การทำประกันสุขภาพเพื่อให้การคุ้มครองค่าใช้จ่ายในยามเจ็บป่วย และต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยที่ TQM มีประกันมนุษย์เงินเดือน “TQM สร้างสุข ชุมชนไทย แผน ทำงานสบายใจ” ที่มาพร้อมเบี้ยประกันเพียง 990 บาท และชดเชยรายได้ 500 บาทต่อวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง
 
READ MORE : 
 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล