เมื่อ PM 2.5 กลับมาพุ่งสูงอีกครั้ง มีผลต่อสุขภาพ เราจะรับมืออย่างไร?
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดวิกฤต ฝุ่น PM 2.5 ปกคลุมหลายพื้นที่ในประเทศไทย มองไปทางไหนก็เจอแต่อากาศที่ขมุกขมัว แม้กระทั่งในบ้านก็หนีไม่พ้น แต่เอออ๋..ทำไมมองไปรอบๆ บางคนยังดำเนินชีวิตประจำวันแบบปกติ วันนี้พี่หมี
TQM จึงมาพร้อม
"วิธีรับมือกับ PM 2.5 ให้อยู่หมัด" ดีกว่าสูญเสียสุขภาพในวันที่สายไป
ฝุ่น PM 2.5 คืออะไร
ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่มีมีขนาดเล็กกว่า 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์
ทำไมต้องหาวิธีรับมือกับ PM 2.5
-
ในหนึ่งวัน คนเราหายใจเข้า-ออกเฉลี่ยประมาณ 20,000 ครั้งต่อวัน และรับอากาศ (พร้อมฝุ่นละออง) ประมาณ 8,000-12,000 ลิตรต่อวัน
-
มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมในการเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด หรือ โรคติดเชื้อฉับพลันระบบหายใจส่วนล่าง โดยในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคต่างๆ เหล่านี้ก่อนวัยอันควรกว่า 50,000 คนต่อปี
-
ฝุ่น PM 2.5 เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ
-
สารมลพิษในฝุ่นละอองขนาด 2.5 นี้สามารถเข้าสู่อวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง สามารถทะลุเข้าไปถึงถุงลมปอดได้ทันที ทำให้เกิดการระคายเคืองและมีผลต่ออาการและโรคทางเดินหายใจ สามารถทำลายอวัยวะของระบบทางเดินหายใจโดยตรง และยังทำให้เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดอาการหอบหืด ถุงลมโป่งพอง
-
ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) นับเป็นปัญหาสำคัญ เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชาชนลดลง เพราะเทโลเมียร์ซึ่งเป็นดีเอ็นเอกำหนดอายุขัยของสิ่งมีชีวิตในโครโมโซมมีขนาดสั้นลง ทำให้แก่เร็วขึ้นและอายุสั้นลงได้ด้วย
วิธีรับมือกับ PM 2.5 ให้อยู่หมัด
1. ติดตามข่าวสารฝุ่น PM 2.5 อย่างใกล้ชิด ในช่วงวิกฤตฝุ่นแบบนี้ ควรติดตามข่าวสารเป็นประจำ ไม่ว่าจะตามโทรทัศน์ วิทยุ และเว็บไซต์ข่าวต่างๆ หรือในยุค Thailand 4.0 แบบนี้แนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อเช็คมลพิษทางอากาศ ณ จุดที่เพื่อนๆ อาศัยอยู่ได้เลยครับ อ่านเพิ่มเติม:
รวมแอปตรวจค่าฝุ่นละออง
2. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ซึ่งจะต้องเป็น หน้ากากมาตรฐาน N95 เท่านั้น เพราะ หน้ากาก N95 จะมีเส้นใยพิเศษที่ช่วยกรองฝุ่นละออง หรือเชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน ทำให้ป้องกันฝุ่นขนาด PM 2.5 ไมครอนได้
3. นอนหลับให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนแอ เพราะถ้าพักผ่อนน้อยจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำและป่วยได้ง่าย
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารเสริมอย่างวิตามินซีและวิตามินอี
5. เลี่ยงออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมนอกอาคาร เช่น วิ่งกลางแจ้ง หรือในสวนสาธารณะ ควรงดกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ใส่หน้ากากันฝุ่น N95
6. ลดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละออง เช่น ลดการจุดธูป ลดการเผาขยะ ซึ่งจะเพิ่มปริมาณฝุ่นเป็นจำนวนมาก
7. หากมีร่างกายมีอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์ทันที เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ หายใจติดขัด ปวดหน้าอก หรือเกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย ไม่ควรชะล้าใจเด็ดขาด เพราะอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
8. ทำประกันสุขภาพ ตัวช่วยที่มีไว้ไม่เสียหาย เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมา อย่างน้อยมีประกันสุขภาพช่วยชดเชยค่ารักษาพยาบาลแทนคุณ ขอแนะนำ
ประกันสุขภาพมนุษย์เงินเดือน คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล สูงสุด 400,000 บาท ไม่ว่าจะมีอาการคัดจมูก ระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หรือป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด หรือโรคเยื่อบุตาอักเสบ ฯลฯ ก็สามารถเคลมประกันสุขภาพนี้ได้ ไม่ต้องสำรองจ่าย ผ่อนสบายๆ0% และยังนำเบี้ยไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
และนี่ก็คือวิธีเล็กๆ น้อยๆ หวังว่าเพื่อนๆ จะนำไปใช้รับมือกับฝุ่น PM 2.5 และบอกต่อคนรอบข้างให้ตระหนักถึงภัยอันตรายของฝุ่นนะครับ แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุย่อมดีกว่าการรับมือเสมอ หันมาช่วยกันลดพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ฝุ่น PM 2.5 ก็จะหายไป และทุกคนจะกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ไม่ต้องห่วงเรื่องสุขภาพนะครับผม