06/11/62

|

อ่านแล้ว 1,368 ครั้ง

อัพเดตค่ารักษาโรคร้ายแรงอย่าง มะเร็ง

 

มะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1

มะเร็งเป็นโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1

     เคยมีสถิติปี 2018 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 ราย และ 5 อันดับโรคมะเร็งที่ทำให้เสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี, มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งหากเจอในระยะแรก ๆ ก็มีสิทธิ์รักษาหายได้ แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของผู้ป่วย และการใช้ชีวิตประจำวันร่วมด้วย
 
     ค่ารักษาในโรคมะเร็งนั้นมักจะสูงตามกระบวนการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการใช้รังสีบำบัด, การใช้เคมีบำบัด เพราะยาบางตัวมีค่าใช้จ่ายสูง หากเป็นผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 และ 39 ก็มีสิทธิ์ได้เข้ารับการรักษาโรคมะเร็งได้ตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมระบุไว้ ซึ่งการรักษาโรคมะเร็ง มีขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงก็คือการใช้บริการทางรังสีศึกษา โดยพี่หมีขอยกตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลจาก สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาไว้ให้ดูกันครับ
 
ค่าบริการสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาอื่น ๆ
(ค่าบริการสำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่ได้มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาอื่น ๆ)
 
ค่าบริการสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า
(ค่าบริการสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า)
 
 
ค่าบริการสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ
(ค่าบริการสำหรับผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ)
 
การส่งตัวรักษาไปยังศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรคมะเร็ง
การรักษาด้วยรังสีและยาเคมีบำบัดนั้น ควรทำที่โรงพยาบาลที่มีการอบรมบุคลากรด้านรังสีเทคนิค และเคมีบำบัดโดยเฉพาะ คุณสามารถเข้ารักษาได้ที่โรงพยาบาลศูนย์ใกล้บ้าน หรือหากต้องการมารักษาที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ก็สามารถเตรียมตัวส่งประวัติ (ซึ่งโรงพยาบาลอื่นก็มีขั้นตอนคล้าย ๆ กัน) ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. เตรียมประวัติการรักษา และ ใบส่งตัว จากโรงพยาบาลต้นสังกัดของคุณ
2. เตรียมผลการตรวจเลือด, ฟิล์มเอ็กซ์เรย์, ประวัติการผ่าตัด
3. รายงานผลการตรวจชิ้นเนื้อ และรายงานพยาธิวิทยา
4. เดินทางมาติดต่อทำบัตรผู้ป่วยที่อาคาร ภปร. ชั้นล่าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในเวลาทำการ 8.00 – 16.00 น. จันทร์ถึงศุกร์
5. ติดต่อเจ้าหน้าที่และพยาบาลที่ตึกว่องวานิช ชั้นล่าง เพื่อรับบัตรนัดและเจอแพทย์เพื่อประชุมวางแผนการรักษา โดยใช้เวลาประมาณ 1 – 2 สัปดาห์หลังจากทำประวัติ 
 
สังเกตอาการมะเร็ง? แบบไหนควรระวัง
หากภายในครอบครัวมีประวัติเคยมีผู้ป่วยมะเร็งแล้ว ลูกหลานก็มีโอกาสที่จะได้รับถ่ายทอดทางพันธุกรรมเช่นกัน แต่ต้องพิจารณาร่วมกับอาการอื่น ๆ หรือหากเริ่มมีโรคหรืออาการผิดปกติที่เป็นติดต่อกันมานาน อาทิ
1. มีก้อนเนื้อหรือแผลเรื้อรังที่ไม่หายภายใน 1 – 2 สัปดาห์
2. มีไฝ ปาน หูด เป็นแผลแตกขยายเร็วกว่าปกติ
3. มีกลิ่นปากอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
4. มีเลือดกำเดาออกเรื้อรัง ไอ ไอเป็นเลือด มีเสมหะหรือเสลดปนเลือดบ่อย ๆ
5. ขับถ่ายเป็นเลือด หรือมูกเลือดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
6. มีไข้สูง หรือไข้ต่ำ ๆ บ่อย
7. ปวดหลังเรื้อรัง และปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ
8. และอื่น ๆ ที่ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา

(ข้อมูลจาก Cancer Hospital Wattanosoth)
 
ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประกันมะเร็ง เจอ จ่าย จบ คุ้มครองสูงสุด 5 ล้านบาท เบี้ยเริ่มต้น 12 บาทต่อวันจากกรุงเทพประกันภัย เลือกผ่อนได้สูงสุด 0% 12 เดือน แบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลและลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท
 
ประกันสุขภาพคุ้มครองโรคร้ายแรง
 
 
     นอกจากโรคมะเร็งแล้วโรคหัวใจก็เป็นโรคยอดฮิตที่มีผลกับสุขภาพของคนไทยมาก หากคุณยังไม่ป่วยเป็นโรคเหล่านี้แต่ต้องการทำประกันสุขภาพไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ควรเลือกเป็นประกันสุขภาพคุ้มครองโรคร้ายแรง หรือทำสัญญาพ่วงประกันชีวิต รวมถึงหลายบริษัทก็มีประกันโรคร้ายแรงที่ออกมาให้ทำเพิ่มได้ด้วยการต่ออายุปีต่อปีเพื่อมอบความคุ้มครองให้กับผู้ป่วยที่เจอโรคแล้วจะได้รับเงินช่วยเหลือทันที ซึ่งหากคุณมีข้อสงสัยในผลิตภัณฑ์ประกันโรคร้ายแรง หรือต้องการให้พี่หมีแนะนำ ก็โทรสอบถามได้ที่ 1737 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อในช่องทาง Live Chat
 
ที่มาจากเว็บไซต์ : www.thaihealth.or.th และ https://www.chulacancer.net/services-list.php?gid=89
 
 READ MORE : 
 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง