มะเร็งกระเพาะอาหาร มีอาการอย่างไร ?
ขึ้นชื่อว่ามะเร็ง ทำใครหลายคนต่างหวาดกลัวไม่น้อย ถ้าเลือกได้ก็ไม่อยากพบเจอตลอดชีวิต! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความป่วยไม่เข้าใครออกใคร เพราะการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงเชื้อโรคที่อยู่รอบๆ ตัว ล้วนเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งด้วยกันทั้งนั้น! ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร อาทิ อาหารฟาสต์ฟู้ด, น้ำอัดลม หรืออาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ อีกทั้งสภาพอากาศ รวมถึงการอยู่ใกล้กับผู้สูบบุหรี่ ล้วนทำให้เกิดการสะสมของโรคร้ายด้วยกันทั้งนั้น! โดยมีข้อมูลระบุเอาไว้ว่าโรคมะเร็งที่ผู้หญิงมัก
ตรวจพบในลำดับต้นๆ คือมะเร็งเต้านม ส่วนผู้ชายคือมะเร็งตับ และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าอาหารบางประเภท เป็นอีกหนึ่งตัวการของโรคร้ายเช่นกัน! โดยมี
ความเสี่ยงเป็นมะเร็ง กระเพาะอาหาร ซึ่งมักเกิดขึ้นในเพศชาย ส่วนสาเหตุของโรคมีดังนี้
พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหาร
- การรับประทานอาหารประเภทรมควัน ของหมักดอง หรือปลาเค็ม
- การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะอาหาร และอาจเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง (Chronic Atrophic Gastritis)
- การสูบบุหรี่
- เกิดจากกรรมพันธุ์ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
โดยมักเกิดกับเพศชายที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน อีกทั้งมักเกิดกับผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 รวมถึงผู้ที่เคยผ่าตัดซ่อมแซมแผลในกระเพาะอาหาร ผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน หรือผ่าตัดเส้นประสาทวากัส (Vagus Nerve) และผู้ที่เป็นโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ อาทิ มะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง,นอนฮอดจ์กิน, มะเร็งเต้านม รวมถึงผู้ที่เคยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งอัณฑะ มะเร็งรังไข่ และ มะเร็งปากมดลูก
อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหารจะไม่ออกอาการในเริ่มแรก และมีอาการไม่รุนแรง โดยเบื้องต้นจะมีอาการ เช่น อาหารไม่ย่อย, เรอบ่อย, แสบร้อนบริเวณกลางอก, รู้สึกแน่นท้องหลังทานอาหาร, ปวดท้อง, กลืนอาหารลำบาก, คลื่นไส้, อาเจียน หรือเบื่ออาหาร แต่หากปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาวที่เนื้อร้ายเติบโต จะมีอาการรุนแรงขึ้นดังนี้
- มีอาการแน่นท้อง หรือปวดท้องหลังรับประทานอาหาร
- มีอาการปวด หรือจุกที่ลิ้นปี่
- อาเจียนเป็นเลือด
- กลืนอาหารลำบาก
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- อุจจาระเป็นเลือด
- เกิดภาวะโลหิตจางที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย
- รู้สึกอิ่มเร็วแม้ทานอาหารมื้อเล็กๆ
- เกิดอาการดีซ่าน ผิวและตาเหลือง
มะเร็งกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่…
ระยะที่ 1 : มะเร็งยังไม่ลุกลามไปส่วนอื่น โดยอยู่ที่บริเวณชั้นเยื่อบุกระเพาะอาหาร หรืออาจแพร่กระจายไปยังบริเวณต่อมน้ำเหลืองแต่ไม่มาก
ระยะที่ 2 : มะเร็งลุกลามไปยังบริเวณชั้นกล้ามเนื้อผนังกระเพาะอาหาร รวมถึงเกิดการแพร่กระจายเพิ่มขึ้นไปที่ต่อมน้ำเหลือง และบริเวณใกล้เคียงจำนวนมาก
ระยะที่ 3 : เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปทั่วบริเวณชั้นกระเพาะอาหาร รวมถึงลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่ใกล้เคียง และแพร่กระจายมากขึ้นบริเวณต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 4 : เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปไกล และกระจายไปทั่วร่างกาย ทำให้ยากต่อการรักษา
ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งกระเพาะอาหาร
- เกิดการอุดตันของกระเพาะอาหารส่วนปลาย รวมถึงรอยต่อหลอดอาหาร และกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก
- มีน้ำในช่องท้อง หรือท้องมาน และเกิดน้ำในเยื่อหุ้มปอด
- มีอาการดีซ่านจากภาวะตับโต หรือท่อน้ำดีอุดตัน
- มีอาการเลือดออกบริเวณทางเดินอาหาร เนื่องจากเกิดภาวะเส้นเลือดหลอดอาหารโป่งพอง
- เกิดอาการอ่อนเพลียจากการขาดสารอาหาร
- มีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกที่เกิดจากเนื้อร้าย
วิธีป้องกันโรคกระเพาะอาหารเบื้องต้น
ณ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่ามะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากสาเหตุใดกันแน่ ทำให้ไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันโรคนี้ได้ ถ้าไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะอาการ พี่หมีมีวิธีป้องกันเบื้องต้นมาบอกครับ
- ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
- เลือกรับประทานผักผลไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยเสริมเส้นใยอาหาร และวิตามินแก่ร่างกาย
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารหมักดอง อาหารที่มีรสเค็ม และอาหารรมควัน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ
- หากร่างกายมีอาการผิดปกติ หรือมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
หากพบอาการที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร แล้วไม่รีบทำการรักษา มะเร็งจะลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย และเกิดอาการแทรกซ้อน ดังนี้
มะเร็งลามไปตับ : มีอาการดีซ่าน ที่ทำให้ตาเหลือง หรือท้องบวมน้ำ
มะเร็งลามไปปอด : เกิดอาการหายใจติดขัด หายใจลำบาก และ เหนื่อย หอบ
มะเร็งอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ : มีอาการปัสสาวะน้อย รวมถึงไตวาย
มะเร็งอุดตันลำไส้ : มีอาการปวดท้อง ทานอาหารไม่ได้ และอาเจียน
ภาวะตกเลือด : อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีดำ อีกทั้งหน้าซีดเซียวเนื่องจากเสียเลือด
เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวคุณมี
ความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง ควรใส่ใจดูแลสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และอย่างที่ทราบกันดีว่าโรคมะเร็งมีค่ารักษาที่ค่อนข้างสูง หากพบว่าเป็นในระยะที่ 2 หรือ 3 ก็จะมีการรักษาหลายขั้นตอน อีกทั้งประเทศไทยมีสภาพอากาศค่อนข้างปรวนแปร หากมีภูมิต้านทานที่ไม่แข็งแรง อาจเกิดอาการเจ็บป่วยได้ เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพเอาไว้แต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเป็นอันขาดครับ พี่หมีมีประกันสุขภาพจาก TQM มาแนะนำ โดยเป็น
ประกันสุขภาพอุ่นใจรักษ์ ดีไลท์ จากวิริยะประกันภัยพร้อมให้การคุ้มครองสูงสุด 1.5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังคุ้มครองค่าห้องผู้ป่วย สูงสุด 10,000 บาท และมี
โปรโมชั่นผ่อน 0% สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง
READ MORE :