20/04/63

|

อ่านแล้ว 2,025 ครั้ง

อาการแบบไหนที่ว่าใช่ โรคไข้เลือดออก

     โรคไข้เลือดออก ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เมื่อปี 2562 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยกว่า 128,401 ราย และคร่าชีวิต คนไปกว่า 133 ราย บางคนนอนรักษาในโรงพยาบาล ไม่กี่วันก็หายกลับบ้านได้ แต่บางคนอาการหนักจนต้องเข้าห้องไอซียู ให้เลือด ให้น้ำเกลือ ถ้าร่างกายต้านทางเชื้อไม่ไหว ก็อาจเสียชีวิตลง เพราะแบบนี้เราจึงนิ่งเฉยไม่ได้ วันนี้พี่หมีจะพามารู้จัก "อาการของโรคไข้เลือดออก" กันครับ
 
     ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าในปี 2562 (1 มกราคม – 7 ธันวาคม 2562) พบผู้ป่วยเสียชีวิต ด้วยโรคไข้เลือดออก ดังนี้
  • ผู้ป่วยไข้เลือดออก 128,401 ราย
  • เสียชีวิต 133 ราย
     จังหวัดที่มีอัตราผู้ป่วยสะสมโรคไข้เลือดออกสูงสุด 10 อันดับ ได้แก่ เชียงราย อุบลราชธานี ระยอง จันทบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี ร้อยเอ็ด นครศรีธรรมราช ตราด และยะลา
 
     กลุ่มอายุที่เป็นไข้เลือดออกมากที่สุด คืออายุ 10-14 ปี รองลงมาคือ 5-9 ปี, 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ
 

ไข้เลือดออกคืออะไร ติดต่อจากอะไร

     โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกี ซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่มักติดต่อจากคนไปสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะกัดและดูดเลือดคนที่เป็นผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกีหรือไข้เลือดออก จากนั้นเชื้อจะเข้าไปฟักตัวและเพิ่มจำนวนในตัวยุงลายก่อนแล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเป็นการแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป
 
     ประเทศไทยมีสภาพอากาศค่อนข้างร้อนชื้น เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสเดงกี ยิ่งในช่วงฤดูฝน ทำให้ลูกน้ำยุงลายมีปริมาณมากและเจริญเติบโตได้ดี ซึ่งยุงลายนี้จะอาศัยอยู่ในบริเวณบ้าน มักออกกัดเวลากลางวัน มีแหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำนิ่งที่ขังอยู่ในภาชนะเก็บน้ำต่างๆ อาทิ โอ่ง แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ ยางรถยนต์ หรือกระถาง เป็นต้น
 
อาการของโรคไข้เลือดออก

อาการของโรคไข้เลือดออก

     เมื่อเชื้อไวรัสเด็งกีเข้าสู่ร่างกายคนและผ่านระยะฟักตัวนาน 5-8 วัน หรือสั้นที่สุด 3 วัน ยาวนานที่สุด 15 วัน ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ ผู้ป่วยบางรายแค่มีอาการไข้ขึ้นสูง พอไข้ลดก็กลับบ้านได้เลย แต่ผู้ป่วยบางรายอาการหนัก ทั้งนี้ขึ้นอยู่เชื้อที่ได้รับ และภูมิต้านทานโรคของตัวผู้ป่วยเอง

อาการของโรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่

ระยะที่ 1 มีไข้สูงตลอดเวลาอยู่ประมาณ 2-7 วัน และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยในบางราย เช่น หน้าแดง ตาแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ กระหายน้ำ เบื่ออาหาร อาเจียน ซึม ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ มีท้องผูก ถ่ายเป็นสีดำ บางรายอาจมีอาการเจ็บคอ มีผื่นแดงเป็นจุดเล็กๆ ขึ้นตามหน้า ในช่องปาก แขน ซอกรักแร้ ขาและลำตัว 
 
ระยะที่ 2 (ช่วงวิกฤต) มีอาการช็อกและเลือดออกในช่วงวันที่ 3 - 7 ของโรค ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว มีภาวะช็อกเกิดขึ้น คือ กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น มือเท้าเย็น ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ความดันเลือดต่ำ นอกจากนี้มีเลือดออกตามผิวหนังหรือมีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้น เลือดกำเดาไหล อาเจียน และถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดๆ เป็นระยะที่ควรนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับรักษาอย่างทันท่วงที
 
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว เมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการจะเริ่มดีขึ้น เริ่มรับประทานอาหารได้ ลุกนั่งได้ ร่างกายฟื้นตัวสู่สภาพปกติ
 
อาการของโรคไข้เลือดออก
 
     จะเห็นได้ว่าอาการป่วยไข้เลือดออกระยะแรกจะไม่ค่อยรุนแรง แต่เมื่อเข้าระยะที่ 2 จะมีอาการรุนแรงมาก อาจทำให้เกิดการช็อกได้ ควรรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที แต่อย่างที่รู้กันดีว่าโรคไข้เลือดออกนั้น ทำได้เพียงรักษาไปตามอาการ โดยแพทย์ก็จะมีหลักในการรักษา คือ ให้ยาพาราเซตามอลในระยะที่มีไข้สูง ห้ามใช้ยาแอสไพรินเด็ดขาด มีการเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของเกร็ดเลือดเป็นระยะ มีให้สารน้ำชดเชย และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ 
 
     ฉะนั้นเมื่อต้องเข้ารับรักษาโรคไข้เลือดออก สิ่งที่ตามมาคือค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่ายา ค่าแพทย์ ฯลฯ บางคนมีประกันสุขภาพดูแลก็หายห่วง แต่เชื่อว่าหลายคนยังลังเลที่จะทำประกันสุขภาพเพราะเบี้ยที่สูงเกินจ่ายไหว พี่หมีจึงขอแนะนำ ประกันไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก และโรคร้ายจากยุง  คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล มีเงินชดเชยรายวันด้วย สนใจคลิก ประกันไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออกและโรคร้ายจากยุง หรือโทรปรึกษาพี่หมี 1737 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล