18/09/67

|

อ่านแล้ว 246 ครั้ง

อาการใจสั่นเกิดจากอะไร ใจสั่นแบบไหนควรไปหาหมอ

     อาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง หลายคนคงเคยมีความรู้สึกแบบนี้กันมาบ้าง โดยบางคนจะชอบนึกว่าอาการใจสั่นนั้นไม่ร้ายแรง ซึ่งอาการใจสั่นนั้นเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรานั้นอาจมีความผิดปกติเกิดขึ้น แล้วอาการใจสั่นเกิดจากอะไร อันตรายไหม อาการใจสั่นแบบไหนที่ควรไปหาหมอ วันนี้พี่หมี TQM มีคำตอบมาฝากครับ 

อาการใจสั่นเกิดจากอะไร ใจสั่นแบบไหนควรไปหาหมอ

อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วเกิดจากอะไร อันตรายไหม

     อาการใจสั่น เป็นอาการที่หัวใจของเราเต้นเร็ว เต้นช้า เต้นแรงไม่เป็นจังหวะ ทำให้รู้สึกไม่สบายใจหรือเป็นกังวล อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาสั้นๆ แล้วหายไปเอง หรือบางครั้งอาจเป็นนานขึ้นและเกิดร่วมกับอาการอื่น ๆ ด้วย โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น มีดังนี้

  • ภาวะความเครียดและความวิตกกังวล : เมื่อร่างกายตอบสนองต่อความเครียด ระบบประสาทและฮอร์โมนต่าง ๆ อย่าง อะดรีนาลีน (Adrenaline) ที่จะถูกปล่อยออกมา ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นหรือเต้นไม่สม่ำเสมอ อาการใจสั่นในกรณีนี้มักเกิดจากปัจจัยทางจิตใจและอารมณ์
  • การออกกำลังกาย : ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่การออกกำลังกายที่หนักเกินพอดี หรือออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้หัวใจต้องทำงานหนักจนเกิดอาการใจสั่นได้
  • การดื่มคาเฟอีน : บางคนที่ดื่มกาแฟแล้วจะมีอาการใจสั่น นั้นก็เป็นเพราะคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มชูกำลัง สามารถทำให้หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ การบริโภคสารเหล่านี้ในปริมาณที่มาก อาจจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการใจสั่นได้
  • ยาบางชนิด : การใช้ยาบางประเภท ยาบางชนิด เช่น ยาสำหรับรักษาโรคหืด ยาลดน้ำมูก ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาลดน้ำหนัก หรือยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง สามารถทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือเร็วกว่าปกติ
  • ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ : ภาวะไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมการเต้นของหัวใจ ทำให้เกิดอาการใจสั่นและหัวใจเต้นเร็ว
  • การขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย : ร่างกายที่ขาดน้ำจะทำให้ระบบต่างๆ ทำงานผิดปกติ รวมถึงหัวใจที่พยายามชดเชยการขาดน้ำด้วยการเต้นเร็วขึ้น
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ : ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยขิงอาการใจสั่น เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลต่อการทำงานของหัวใจและทำให้ร่างกายหลั่งสารเคมีที่กระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน : ในเพศหญิงช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ช่วงตั้งครรภ์ ช่วงประจำเดือน หรือวัยทอง อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอได้

อาการใจสั่นแบบไหนที่ควรพบแพทย์

อาการใจสั่นแบบไหนที่ควรพบแพทย์

     อาการใจสั่นบางครั้งสามารถเกิดขึ้นได้และหายไปเองโดยไม่เป็นอันตราย แต่อาการใจสั่นนั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลย หากเกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือมีความรุนแรง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพราะบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่รุนแรง โดยอาการใจสั่นที่ควรไปพบแพทย์นั้นมีดังนี้

1. อาการใจสั่นที่เป็นบ่อยและนานเกินไป

     หากอาการใจสั่นเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และแต่ละครั้งมีความยาวนานมากกว่า 5-10 นาที หรือเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ไม่ควรเกิด อย่างเช่น ตอนพักผ่อนหรือนอนหลับ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คให้ละเอียด เพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบอื่นๆ ในร่างกาย

 

2. อาการใจสั่นที่มาพร้อมกับอาการอื่น ๆ 

     ถ้าหากใจสั่นแล้วมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการเจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ หน้ามืด หายใจไม่ออก เหนื่อยหอบกว่าปกติ หรือเป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาโรคหัวใจ

 

3. มีประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหัวใจ

     หากคุณมีประวัติเคยเป็นโรคหัวใจมาก่อน หรือมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคหัวใจ อาการใจสั่นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางหัวใจที่ควรได้รับการตรวจอย่างละเอียด

 

4. หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างชัดเจน

     ถ้าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ เต้นข้ามจังหวะ หรือเต้นเร็วมากเกินไปแบบไม่ปกติ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คและรักษาทันที

วิธีแก้อาการใจสั่น เบื้องต้น

วิธีแก้อาการใจสั่น เบื้องต้นทำอย่างไร

  1. ผ่อนคลายความเครียด : ความเครียดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการใจสั่น ให้ลองหาทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ วาดรูป ฟังเพลงที่สงบ หรือทำกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบ รวมไปถึงการหายใจเข้า-ออกช้า ๆ ลึก ๆ ประมาณ 5-10 นาที ก็จะช่วยให้เรามีจิดใจที่สงบได้ 
  2. นอนหลับให้เพียงพอ : การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ร่างกายอ่อนล้าและเกิดอาการใจสั่น ควรพักผ่อนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ระบบประสาทและหัวใจทำงานได้ดีขึ้น
  3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ : การขาดน้ำอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือใจสั่นได้ หากคุณไม่ได้ดื่มน้ำเพียงพอ ให้ลองดื่มน้ำมากขึ้นในแต่ละวัน โดยดื่มน้ำในแต่ละวันประมาณ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น
  4. หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ : คาเฟอีนจากกาแฟหรือชา และแอลกอฮอล์ สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการใจสั่น ลองลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ออกไปก่อน
  5. ทานอาหารที่มีประโยชน์ : ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3  เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทู ถั่วเฮเซลนัท ถั่ววอลนัท นมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนม ผักโขม เป็นต้น
  6. เลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป : ควรออกกำลังกายแต่เพียงพอดี ไม่ออกกำลังกายหนักจนเกินไป หากเกิดอาการใจสั่นขณะออกกำลังกาย ให้หยุดพักและหายใจลึก ๆ ช้า ๆ

เช็คราคาประกันสุขภาพ กับ TQM

     ถึงแม้ว่าอาการใจสั่นอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุที่พี่หมีกล่าวไปข้างต้นและไม่ใช่ทุกครั้งที่เป็นอันตราย แต่อาการใจสั่นนั้นก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าระบบหัวใจอาจทำงานผิดปกติ หากคุณมีอาการใจสั่นบ่อยครั้งหรือเกิดขึ้นพร้อมกับอาการอื่นที่รุนแรง ควรรีบปรึกษาพบแพทย์ทันที 

 

     และอย่าลืมที่จะรักษาสุขภาพหัวใจด้วยการปรับพฤติกรรมและดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอ อีกสิ่งที่ควรมีไว้เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเองก็คือ ประกันสุขภาพ ที่ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการรักษาในยามเจ็บป่วย ทั้งค่าห้อง ค่ายา หรือค่ารักษาพยาบาล สนใจกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันสุขภาพที่ตรงใจคุณ หรือหากต้องการปรึกษาเรื่องประกันภัยกับ TQM สามารถแชทกับพี่หมีได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านเบอร์ Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง