เจ็บแน่นหน้าอกบ่อยๆ ต้องระวัง!!
เคยไหม นั่งอยู่ดีๆ ก็เจ็บแน่นหน้าอกแป๊บๆ แว๊บเดียวแล้วก็หายไป หลังจากนั้นก็มีอาการมาเป็นระยะๆ บอกเลยว่าไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะนี่เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายได้หลายอย่างเลยหละครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ว่าได้ ว่าแต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาการที่เป็น คือโรคนี้จริงๆ วันนี้พี่หมี
TQM จึงมีอาการสำคัญที่ชี้เฉพาะถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาฝากกันครับ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คืออะไร
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดภาวะแข็งตัว กลายเป็นลิ่มเลือดอุตตันในหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไหลผ่านไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อยลง หรือไม่ได้เลย ส่งผลให้เสียชีวิตโดยไม่ทันรู้ตัว ซึ่งภาวะแข็งตัวของเลือดนั้นเกิดจากการสะสมของสารต่างๆ ที่มาเกาะบนผนังด้านในของหลอดเลือด โดยส่วนใหญ่จะเป็นไขมันหรือคอเลสเตอรอล ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัว ช่องว่างของหลอดเลือดจึงตีบแคบหรืออุดตัน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-
พันธุกรรม สำหรับบุคคลที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
-
อายุ ในช่วง 40-60 ปี มีโกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเพิ่มขึ้น 5 เท่า ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-
เพศ จากสถิติพบว่าเพศชาย มีโอกาสและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง
-
การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเล็กลง
-
โรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
-
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ทำให้เกิดการสะสมของไขมันหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูงผิดปกติ
-
ความเครียด เป็นคนเจ้าอารมณ์ โกรธ โมโหง่าย เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-
ขาดการออกกำลังกาย ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เผาผลาญพลังงานน้อย และการสะสมของไขมัน

อาการสำคัญของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-
เจ็บแน่นหน้าอกบริเวณกลางอก แบบเจ็บๆ หายๆ เหมือนมีอะไรมาทับ หรือบีบรัด อาจร้าวไปที่กราม แขน ไหล่ หรือลิ้นปี่
-
เจ็บแน่นหน้าอกและรู้สึกเหนื่อยจากการออกแรง หรือออกกำลังกาย
-
มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อนั่งพัก
วิธีเช็คว่ากล้ามหัวใจกำลังขาดเลือดหรือไม่
-
เช็คประวัติ คนในครอบครัว โรคประจำตัว ประวัติการรักษา
-
เช็คอาการเจ็บหน้าอก เกิดจากการออกแรง หรือความเครียดหรือไม่ เจ็บนานแค่ไหน
-
ตรวจความดันโลหิต เพื่อพิจารณาความรุนแรงของโรค
-
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะออกกำลังบนสายพาน หากคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ อาจแสดงให้เห็นว่ากล้ามเนื้อหัวใจกำลังมีปัญหา
-
ตรวจค่าสารเคมีในเลือด จะสามารถบอกได้ว่า กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือไม่
-
ฉีดสีเข้าหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีที่ทางแพทย์ใช้วินิจฉัยว่า ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่

3 วิธีรักษาโรคกล้ามหัวใจขาดเลือด
-
รักษาด้วยการใช้ยา กรณีมีอาการเจ็บหน้าอก เพื่อปกป้องหัวใจ ยาจะช่วยลดอัตราการเกิดผลแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจในอนาคต (ผู้ป่วยแต่ละรายอาจได้รับยาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค)
-
ในกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง จะ รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจและการทำบอลลูน เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจหรือใช้วิธีขดลวดเพื่อเปิดให้หลอดเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายได้สะดวกขึ้น แต่วิธีนี้ หลอดเลือดอาจพบการตีบซ้ำ แพทย์จะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดต่อไป
-
อีกหนึ่งวิธีรักษาที่ใช้กับกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบรุนแรง คือ รักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ หรือการทำบายพาส (Bypass) เลือดจะสามารถไหลผ่านไปเลี้ยงหัวใจด้วยเส้นทางใหม่ ซึ่งโดยปกติจะต่อหลอดเลือดประมาณ 3 – 5 เส้น และหลังผ่าตัดต้องรับประทานยาต่อเพื่อป้องกันการตีบซ้ำของหลอดเลือด
เมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำอย่างไร
ผู้ป่วยควรทานยาตามคำสั่งแพทย์ อย่างเคร่งครัด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มสุรา งดรับประทานอาหารรสเค็มและมัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ควบคุมอาหารและระดับน้ำตาลในเลือด และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เสมอ
อาการเจ็บแน่นหน้าอก เป็นสัญญาณเตือนที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะหากเกิดขึ้นแล้ว ไม่ส่งผลดีต่อร่างกายแน่นอน ฉะนั้นการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อทำให้เรารู้ทันโรคร้าย และได้รับรักษาอย่างทันท่วงที แต่อย่างไรก็ตาม ก่อน
ตรวจสุขภาพทุกครั้ง เพื่อรับมือกับค่ารักษาของโรคที่ยากจะคาดเดาว่าจะมาทักทายเมื่อไหร่ การมีประกันสุขภาพไว้ ช่วยแบ่งเบาภาระ ถือเป็นตัวช่วยยามป่วยได้ดีเลยหละ พี่หมีขอแนะนำ
ประกันสุขภาพ ผ่อน 0% คุ้มครองค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการการพยาบาล สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม
คลิกที่นี่เลย หรือปรึกษาพี่หมี โทร 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง