เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
โควิดลงปอด เนื่องจากอาการป่วยบางรายแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันและความอันตรายแต่ละสายพันธุ์โควิด หากใครที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงพอก็จะสามารถต่อสู้กับไวรัส และหายป่วยเป็นปกติได้ แต่ใครที่ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตก ก็มีโอกาสติดเชื้อลงปอดได้ง่าย และควรได้รับการรักษาโดยเร็ว วันนี้พี่หมี
TQM จะพาเพื่อนๆ ไปทำความเข้ากับ
เชื้อโควิดลงปอด ใครมีโอกาสเชื้อลงปอด อาการเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ไปดูกันครับ
โควิดลงปอดคืออะไร
โควิดลงปอด หมายถึง การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ตั้งแต่หลอดลมไปถึงปอด มีจะอาการรุนแรงกว่าการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (บริเวณจมูก ปาก คอ) เชื้อไวรัสที่ลงปอดจะทำให้เนื้อปอดและถุงลมบางส่วนได้รับความเสียหาย เกิดอาการหายใจลำบาก และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ใครเสี่ยงติดโควิดลงปอด
ย้อนไปปี 2563 มีผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดลงปอด ประมาณ 20% ซึ่งเป็นโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ในปี 2564 เป็นการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตา มีความรุนแรงขึ้น ทำให้มีโอกาสที่เชื้อจะเข้าปอดง่ายกว่าเดิม โดยผู้ติดเชื้อบางรายที่สุขภาพแข็งแรงแทบจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อทำการเอกซเรย์ปอด กลับเจอฝ้าที่แสดงถึงภาวะปอดอักเสบ และเมื่อสายพันธุ์เดลต้าหมดไป กลายเป็นสายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 แทน มีการแบ่งตัวเร็วและเกาะเซลล์ปอดได้มากกว่า ซึ่งตรงกับข้อมูลที่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยเกี่ยวกับการติดเชื้อในระหว่างวันที่ 2-22 กรกฎาคม 2565 โดยพบว่า ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง คือ ปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จึงอนุมานได้ว่าถ้าติดเชื้อ BA.4 และ BA.5 น่าจะมีโอกาสเกิดอาการรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ BA.2
อาการของโควิดลงปอด
เชื้อโควิดจะลงปอดและมีอาการอักเสบระยะที่ 1 ภายใน 5 วันหลังจากได้รับเชื้อ และในระยะที่ 2 ปอดเกิดการอักเสบในช่วง 10-15 วัน โดยแสดงสัญญาณหรืออาการดังต่อไปนี้
-
อาการหอบ เหนื่อยง่าย เหนื่อยเร็วกว่าเดิม แม้ทำกิจกรรมที่ไม่ได้ออกแรง
-
รู้สึกเจ็บ แน่นหน้าอก
-
อาการไอแห้งๆ มีอาการไอมากขึ้น หรือไอมีเสมหะ
-
หายใจติดขัด หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มปอด
-
พูดติดๆ ขัดๆ เนื่องจากเชื้อที่ลงปอดจะทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณถุงลมปอด ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนและลำเลียงออกซิเจน
-
มีไข้มากกว่า 37.5 องศาขึ้นไป

วิธีวัดระดับออกซิเจนในเลือด
ทดสอบด้วยวิธี ลุกนั่ง 3 ครั้ง หรือ กลั้นหายใจ 10 – 15 วินาที แล้ววัดออกซิเจนในเลือด หากต่ำกว่า 94% ลงไป ให้สงสัยว่าเชื้อโควิดลงปอดไว้ก่อน และรีบพบแพทย์ทันที
โควิดลงปอดอันตรายไหม
ความรุนแรงของเชื้อโควิด-19 ขึ้นอยู่กัน ปริมาณเชื้อที่ได้รับ ภูมิต้านทารของผู้ติดเชื้อ และระยะเวลาที่ได้รับการรักษา โดยมีรายละเอียดดังนี้
-
ปริมาณเชื้อที่ได้รับ ในแต่ละคนได้รับเชื้อในปริมาณไม่เท่ากัน บางคนได้รับเชื้อปริมารน้อย มีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ หายเองได้ แต่บางคนได้รับเชื้อปริมาณมาก เชื่อจะลงไปอยู่ในถุงลม ทำให้ปอดเกิดการอักเสบติดเชื้อ รู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ หายใจไม่ทัน และบางรายอาจต้องรับเครื่องช่วยหายใจ
-
ภูมิต้านทานของผู้ติดเชื้อ หากคนที่มีภูมิต้านทางสูง ไม่มีโรคประจำตัว ถ้าเชื้อลงปอดจะมีโอกาสรักษาให้หายได้โดยใช้เวลาไม่นาน แต่สำหรับผู้ที่ภูมิต้านทางต่ำ มีแนวโน้วแสดงอาการรุนแรงกว่า จนอาจถึงขั้นเสียชีวิต เช่น ผู้สูงอายุ คนอ้วน คนที่มีโรคประจำตัว ผู้ป่วยโรคปอด และคนที่สูบบุหรี่
-
ระยะเวลาที่ได้รับการรักษา หากได้รับการตรวจวินิจฉัยเร็ว จะมีโอกาสหายได้มากกว่า แต่หากได้รับรักษาล่าช้า เชื้อจะลุกลามและทำให้ปอดเสียหายอย่างหนัก ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และการทำงานของอวัยวะอื่นๆ จนเกิดภาวะโคม่า และมีโอกาสเสียชีวิตได้
อาการโควิดลงปอด ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนที่ติดเชื้อ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาการจะค่อนข้างหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ ฉะนั้นผู้ป่วยควรสังเกตอาการของตัวเองอยู่เสมอ วัดออกซิเจนในเลือดอย่างถูกวิธี หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบพบแพทย์ทันที และอีกหนึ่งสำคัญคือการมีหลักประกันสุขภาพ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมายามเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็น ค่าห้อง ค่าอาหาร หรือค่ายา พี่หมีขอแนะนำ
ประกันสุขภาพ เบี้ยเริ่มวันละ 20.- คุ้มครองโควิด-19 ทุกสายพันธุ์ อุ่นใจไม่กระทบเงินเก็บ
สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือโทร 1737