เช็คราคาแผนประกัน
กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
ชื่อ *
นามสกุล *
เพศ *
วัน/เดือน/ปีเกิด *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *
|
อ่านแล้ว 842 ครั้ง
ยุงลาย นอกจากเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกแล้ว ยังเป็นพาหะของโรคชิคุนกุนยาด้วย ซึ่งอาการจะคล้ายกับโรคไข้เลือดออก และอันตรายไม่แพ้กัน ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาโรคชิคุนกุนยา มักระบาดช่วงหน้าฝนในพื้นที่ภาคใต้ แต่พอมาปี 63 โรคนี้กลับระบาดหนักทั่วทุกภาคของประเทศไทย และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุ 25-34 ปี แต่หากเกิดขึ้นกับเด็ก อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้พี่หมี TQM จึงจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับ "โรคชิคุนกุนยา ว่าคืออะไร อาการเป็นยังไง ทำไมถึงมีอาการปวดข้อ" กันครับ
โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เป็นภาษามากอนดี แปลว่า ตัวโค้งงอ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสคนละกลุ่มกับไข้เลือดออกและไข้ไวรัสซิก้า ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง มีผื่น ปวดข้อมากจนตัวโค้งงอ จึงตั้งชื่อโรคนี้ตามลักษณะอาการของผู้ป่วย โดยพาหะของโรคเกิดจาก ยุงลายสวย (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) เป็นยุงที่พบได้บ่อยในบริเวณที่มีต้นไม้หนาแน่น
อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 3,258 ราย ใน 56 จังหวัด ยังไม่มีผู้เสียชีวิต
กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 25-34 ปี (18.17%) 35-44 ปี (17.46%) และ 45-54 ปี (16.02%)
ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด 5 อันดับแรกคือ จันทบุรี อุทัยธานี ลำพูน ระยอง ตราด ตามลำดับ โดยจากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ และลำปาง
ส่วนอาการปวดข้อ มักจะพบได้ เนื่องจากเกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อและเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ และอาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ค่ะ ทั้งนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคชิคุนกุนยา ดังนั้น การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลาย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายพันธุ์ของยุง และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด ดังนี้
หลายคนอาจมองข้ามโรคชิคุณกุนยาไป หากไม่ระมัดระวังแล้วได้ป่วยครั้งหนึ่งแล้ว ย่อมส่งผลเสียกับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีความต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็กและผู้สูงอายุ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการและการรักษา ดังนั้นเราจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมถึงทำลายแหล่งลูกน้ำยุงลายให้หมด เพียงเท่านี้ก็สบายใจห่างไกลจากโรค แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดมีประกันภัยเพื่อรับมือด้วย "ประกันไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก *และโรคร้ายจากยุง" คุ้มครองโรคชิคุนกุนยาด้วย สนใจคลิกที่นี่เลย
READ MORE :
ชื่อ *
นามสกุล *
เพศ *
วัน/เดือน/ปีเกิด *
เบอร์โทรศัพท์มือถือ *