รวมประเทศที่มีฝุ่นละอองมากที่สุด
ไม่ได้มีเพียงประเทศไทยเท่านั้นที่กำลังประสบ
ปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน เพราะตอนนี้ทั่วทั้งโลกก็ประสบปัญหาเช่นกัน ซึ่งวันนี้พี่หมีก็ขออัพเดทประเทศที่มีฝุ่นละอองหนาแน่นทั้ง 10 อันดับ เผื่อว่าจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศที่มีฝุ่นพิษระดับอันตรายร้ายแรงในช่วงนี้ จะมีประเทศอะไรบ้าง มาดูกันเลยครับ
จากข้อมูลของแอปพลิเคชัน AirVisual ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันวัดค่าฝุ่นละออง ได้จัดอันดับประเทศและเมืองที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานสูงสุด 10 อันดับทั่วโลก ณ วันที่ 30 มกราคม 2019 เวลา 16.53 น. มีรายชื่อดังต่อไปนี้
• อันดับ 1 Lahore, Pakistan ค่าฝุ่นละออง 215 US AQI
• อันดับ 2 Delhi, India ค่าฝุ่นละออง 190 US AQI
• อันดับ 3 Hangzhou, China ค่าฝุ่นละออง 178 US AQI
• อันดับ 4 Bangkok, Thailand ค่าฝุ่นละออง 169 US AQI
• อันดับ 5 Dhaka, Bangladesh ค่าฝุ่นละออง 160 US AQI
• อันดับ 6 Tashkent, Uzbekistan ค่าฝุ่นละออง 159 US AQI
• อันดับ 7 Skopje, Macedonia ค่าฝุ่นละออง 156 US AQI
• อันดับ 8 Dubai, United Arab Emirates ค่าฝุ่นละออง 156 US AQI
• อันดับ 9 Belgrade, Serbia ค่าฝุ่นละออง 155 US AQI
• อันดับ 10 Mumbai, India ค่าฝุ่นละออง 154 US AQI
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 4 ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก ดังนั้นประชาชนทั่วไปจึงควรป้องกันตนเองด้วยการสวมใส่หน้ากากกันฝุ่น N95 อยู่เสมอ และหากไม่จำเป็นไม่ควรออกนอกอาคารไปเผชิญกับฝุ่นละอองด้านนอก และหลายคนคงสงสัยว่าต้องมีค่าเท่าไหร่จึงจะปลอดภัย พี่หมีก็ได้นำข้อควรรู้มาแนะนำด้วย
AQI หรือ ดัชนีคุณภาพอากาศ บอกเป็นตัวเลขและสี เพื่อแสดงว่าภายในอากาศมีสารมลพิษทั้ง 6 ชนิดมากแค่ไหน และอยู่ในระดับใดที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย แบ่งเป็นดังนี้
0-50 - สีเขียว (Good) อยู่ในระดับดี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
51-100 - สีเหลือง (Moderate) อยู่ในระดับปานกลาง ค่อนข้างไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ผู้ป่วยควรระมัดระวังเป็นพิเศษ
101-150 - สีส้ม (Unhealthy for Sensitive Groups) อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบกับสุขภาพ โดยเฉพาะกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
151-200 - สีแดง (Unhealthy) อยู่ในระดับเริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
201-300 - สีน้ำเงิน (Very Unhealthy) อยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
300 ขึ้นไป - สีม่วง (Hazardous) อยู่ในระดับเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรง
สำหรับสารมลพิษทางอากาศทั้ง 6 ชนิด ได้แก่
1. ฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลกระทบให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้
2. ฝุ่นละออง PM 10 ส่งผลกระทบต่อระบบทางเกิดหายใจ มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้และการก่อสร้าง
3. ก๊าซโอโซน (O3) ส่งผลกระทบให้เกิดการระคายเคืองของตาและระบบทางเดินหายใจ
4. ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) ส่งผลกระทบต่อร่างกายทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและหัวใจทำงานหนัก มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบไม่สมบูรณ์
5. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทการมองเห็น โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และโรคหอบหืด มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม
6. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ส่งผลกระทบให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และอาจก่อให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบและธรรมชาติ
เมื่อทราบอันดับวิกฤติค่าฝุ่นละอองของทั้ง 10 อันดับประเทศทั่วโลกแล้ว ทุกคนจะต้องตระหนักถึง
อันตรายของฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อร่างกาย และช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยเริ่มง่ายๆ จากตัวเราเองที่จะไม่ก่อมลพิษให้เพิ่มขึ้น
READ MORE :