14/03/67

|

อ่านแล้ว 43,961 ครั้ง

รวมบทสวดคาถาเงินล้าน จากเกจิวัดดัง เสริมความปังด้านการเงิน

    ทำงานหนักแทบขาดใจ ทำไมยังไม่รวยสักที แบบนี้ขอมีที่พึ่งทางใจที่สายมูเตลูไม่ควรพลาด กับ บทสวดคาถาเงินล้าน ที่ได้รับความนิยมเรื่องการสวดเรียกทรัพย์ เรียกเงินล้านจากเกจิอาจารย์ชื่อดัง เอาใจมนุษย์คนทำงานที่ขยันอดทน หมั่นเพียร ตั้งใจทำงาน แต่ก็อยากได้สิ่งจรรโลงใจ ให้ชีวิตมีกำลังใจต่อไป ว่าแต่จะมีบทสวดคาถาไหนบ้าง พี่หมี TQM รวบรวมมาให้แล้ว ไปดูกัน

บทสวดคาถาเงินล้าน


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

 

ประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) ป.ธ.4 หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดจันทาราม (ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี ที่มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานและวิชามโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายไม่เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบัน “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” เป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พระอาจารย์ชื่อดังด้านวิปัสสนา มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศ บุญบารมีของท่านเป็นที่ประจักษ์แก่ศิษยานุศิษย์

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าซุง ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2511 อายุ 52 ปี ได้ทำการบูรณะ สร้างและขยายวัด จากเดิมมีพื้นที่ 6 ไร่ 2 งาน 07 2/10 ตารางวา จนกระทั่งเป็นวัดที่มีบริเวณพื้นที่ประมาณ 289 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา มีอาคารและถาวรวัตถุต่าง ๆ จำนวน 144 รายการในวัด สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 611,949,193 บาท สิ่งก่อสร้างทั้งในวัดและนอกวัด อาทิเช่น หอสวดมนต์, พระพุทธรูป, อาคารปฏิบัติกรรมฐาน, ศาลาการเปรียญ, วิหาร 100 เมตร, โบสถ์ใหม่, บูรณะโบสถ์เก่า, ศาลา 2 ไร่, 3 ไร่, 4 ไร่ และ 12 ไร่, หอไตร, โรงพยาบาลศูนย์แม่และเด็ก ชนบทที่ 61, พระจุฬามณี, มณฑปท้าวมหาราชทั้ง 4, พระบรมราชานุสาวรีย์ 6 พระองค์, พระชำระหนี้สงฆ์, โรงไฟฟ้า, โรงเรียนพระสุธรรมยานเถระวิทยา, ศูนย์สงเคราะห์ผู้ยากจนในแดนทุรกันดารตามพระราชประสงค์ เป็นต้น ทั้งยังได้ช่วยการก่อสร้างที่วัดอื่น ๆ ในประเทศไทยอีกมากมาย

 

ทำไมถึงเรียกว่าหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    ฉายา "ฤาษีลิงดำ" มาจากหนังสือที่ท่านเขียนถึงประวัติ หลวงพ่อปาน โสนนฺโท อาจารย์ของท่านมักเรียกตอนเด็ก ๆ ว่าเป็นลิง เพราะความซุกซนตามรูปร่างลักษณะ เช่น ผิวขาวเรียกลิงขาว ผิวดำเรียกลิงดำ ตัวเล็กเรียกลิงเล็ก เป็นต้น ทีนี้ตอนท่านเขียนหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน ท่านไม่รู้จะใช้นามปากกาอะไร เพราะหากใช้ชื่อพระก็เกรงคนจะหาว่าท่านอวดอุตริมนุสธรรม กับทั้งนึกได้ว่าตอนที่อยู่กับหลวงพ่อปาน หลวงพ่อมักจะเรียกท่านว่า "ลิงดำ" ท่านก็เลยเอาชื่อที่หลวงพ่อปานเรียกมาเป็นนามปากกา แล้วก็เติมคำว่า "ฤาษี" เข้าไปข้างหน้า เพื่อให้สื่อถึงการเป็นผู้บำเพ็ญ จึงรวมเป็นนามปากกาว่า "ฤาษีลิงดำ"

    ต่อมาคนอ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปานกันมาก ก็ตามหากันว่าฤาษีลิงดำเป็นใคร เมื่อเจอตัวจริงก็ไม่มีใครเรียกท่านว่าพระมหาวีระเลย เรียกแต่ท่านฤาษีลิงดำ ตอนแรกท่านก็บอกว่าท่านชื่อมหาวีระ แต่ส่วนมากคนชอบเรียกท่านว่าฤาษีลิงดำมากกว่า ท่านก็เลยบอก "เออ ฤาษีลิงดำก็ฤาษีลิงดำ" แล้วท่านและผู้คนก็พร้อมใจกันใช้ชื่อนี้เรื่อยมา

ขอบคุณข้อมูลจาก Secret Magazine (Thailand)

 

คาถาเงินล้านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    คาถาเงินล้านของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นคาคาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มที่ประกอบอาชีพทำมาค้าขาย หากทำโดยสุจริตและหมั่นสวดคาถาเป็นประจำจะทำให้เกิดสติ ตั้งมั่นในความดีงาม บทสวดคาถาเงินล้านหลวงพ่อฤาษีลิงดำ มีดังนี้

 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม

พรหมา จะ มหาเทวา สัพเพยักขา ปะรายันติ

พรหมา จะ มหาเทวา อภิลาภา ภะวันตุ เม

มหาปุญโญ มหาลาโภ ภะวันตุ เม มิเตภาหุหะติ

พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ

วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา

วิระทาสี วิระทาสา วิระอิทถิโย

พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สวาโหม

สัมปะติจฉามิ เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤา ๆ

สวดบูชา 9 จบ ตัวคาถาต้องว่าทั้งหมด

 

    โดยให้สวดภาวนาเป็นประจำทุกวัน วันละ 9 จบ สามารถแบ่งสวดได้ เช่น สวดหลังตื่นนอนจำนวน 3 จบ สวดก่อนใส่บาตรจำนวน 3 จบ และสวดอีกครั้งก่อนนอนอีก 3 จบ แต่หากสวดในพิธีใหญ่ๆ หรือวันสำคัญตามความเชื่อส่วนบุคคล แนะนำให้สวด 108 จบ


หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก

 

ประวัติหลวงพ่อรวย ปาสาทิโก

    หลวงพ่อรวย ปาสาทิโก เกจิดังวัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2464 มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน บิดามารดาของหลวงพ่อรวย มีอาชีพเกษตรกร เมื่อครั้งยังเป็นเด็กท่านก็ได้ช่วงบิดามารดาเลี้ยงสัตว์ อาทิ วัว ควาย เป็นต้น และเมื่ออายุได้ 12 ปี ก็ได้บวชเรียนที่วัดตะโก เมื่ออายุถึงเกณฑ์ก็อุปสมบทโดยมีเจ้าอาวาสวัดภาชีเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อรวยอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2484 ได้รับฉายาว่า “ปาสาทิโก” ภายหลังได้จำพรรษาอยู่ที่วัดตะโกเรื่อยมา และได้เรียนรู้พระปริยัติธรรมสอบได้นักธรรมชั้นโทใน พ.ศ.2485 และสอบได้นักธรรมชั้นเอกใน พ.ศ.2487

    หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาวิชากรรมฐานแลพุทธาคมต่าง ๆ และฝากตัวเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อชื้น พระอุปัชฌาย์ พอศึกษาจบก็ไปเรียนกับหลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ ซึ่งได้ถ่ายทอดวิชาให้กับหลวงพ่อรวย จนหมด หลวงพ่อรวยท่านจึงเป็นพระคณาจารย์ระดับแนวหน้ารูปหนึ่งของประเทศ

    หลวงพ่อรวย หรือพระครูสุนทรธรรมนิวิฐ มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2560 แต่สังขารไม่เน่าเปื่อย ร่างของท่านถูกเก็บรักษาไว้ในโลงแก้ว ที่วัดตะโก มีศาสนสถานที่สวยงาม เปิดให้เข้าชม 8.00-16.00 น.

 

คาถาเงินล้านหลวงพ่อรวย ปาสาทิโก

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

สัมพุทธชิตา จะสัจจานิ

เกรัตน์สะ พระพุทธชิตา
สัพพะโส คุณะวิภา
สัมปัจโต นะรุตตะโม
มหาลาภัง สัพพะสิทธิ
ภะวันตุเม


หลวงพ่อปาน

 

ประวัติหลวงพ่อปาน

    หลวงพ่อปาน เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปที่ 3 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโคระหว่างปี พ.ศ. 2478 จนถึงปี พ.ศ. 2481 โดยในปี พ.ศ. 2439 ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบางนมโค ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า โสนนฺโท ต่อมาท่านได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงพ่อสุ่นพอสมควรแล้ว จึงได้เดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และวัดเจ้าเจ็ดใน เพื่อเรียนแพทย์แผนโบราณจากวัดสังเวชฯ เรียนวิชาสร้างพระเครื่องดินจากชีปะขาว เรียนการปลุกเสกพระเครื่องและเป่ายันต์เกราะเพชรจากอาจารย์แจง สวรรคโลก ได้รับพระคาถาปัจเจกโพธิสัตว์มาจากครูผึ้ง ชาวนครศรีธรรมราช หลังจากนั้น ท่านจึงได้มาอยู่ที่วัดบางนมโค และในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูวิหารกิจจานุการ หลวงพ่อปานท่านเป็นสหธรรมิก กับ หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ด และหลวงพ่อจงวัดหน้าต่างนอก จนชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาขนานนามให้ว่า "สามเสือแห่งเมืองกรุงเก่า" คือ พระหมอหลวงพ่อปาน เกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาไหลหลงหลวงปู่ยิ้ม พระเครื่องหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นพระเครื่องที่ นักนิยมพระเครื่อง รู้จักกันดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้

 

คาถาเงินล้านหลวงพ่อปาน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ

วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา

วิระอิตถิโย พุทธัสสะ มาณีมามะ พุทธัสสะ สะวาโหมฯ

    แนะนำให้สวดบูชา 3 จบ 5 จบ 7 จบ 9 จบก็ได้ คาถานี้นิยมสวดตอนตื่นนอน ก่อนนอนหรือสวดก่อนเปิดร้านจะทําให้ทำมาค้าขายให้เงินไหลมาเทมา มีโชคทรัพย์มากมาย เรียกเงิน เรียกทอง ร่ำรวย


คาถากวักเงินเข้าบ้าน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

โอม มหาลาโภ โชคะวันตัง เอหิ จงมา ธะนะปาตัง

มากะมายังอักขะโต ปาระติโย วันทิตตะวา นะมามิหัง


คาถาร่ำรวยเงินทอง

ธะนัง โภคัง ทุสะมะนิ

นะนัง โภคัง ทุสะมะนิ

อุมิอะมิ มะหิสุตัง สนะพุทธัง

อะสุนะอะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ

 

    แนะนำให้สวดภาวนากับน้ำสะอาด พอสวดเสร็จให้นำน้ำมาพรมให้ทั่วบ้านหรือร้านค้าเพื่อเสริมโชคลาภเข้าบ้านเข้าร้านค้า ให้ค้าขายดีและร่ำรวยเร็วขึ้น

    คาถาเงินล้านมีให้เลือกสวดอยู่หลายบท ซึ่งทุกบทจะต้องใช้สมาธิและความศรัทธาตามความเชื่อและวิจารณญาณแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม ความมั่งคั่งร่ำรวยย่อมไม่ได้มาจากการสวดเพียงอย่างเดียว จำเป็นต้องตั้งใจมุ่งมั่นทำงาน กล้าที่จะลงมือทำ ขยัน และอดออม พี่หมีเชื่อความสำเร็จก็จะไม่ไกลเกินเอื้อม

    และสำหรับใครที่คิดว่าคาถเงินล้านอย่างเดียวไม่พอ เรายังมี คาถาเสริมดวงโชคลาภ คาถาไหว้รถยนต์ คาถาขับรถทางไกล คาถาให้หายป่วย ช่วยเสริมความปังในทุกรอบด้าน แต่เสริมความปังกันแล้ว อย่าลืมรับมือกับความเสี่ยงรอบด้านด้วย ประกันภัย ที่ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ  ประกันรถยนต์  ประกันอัคคีภัยบ้าน  ประกันเดินทาง หรือ ประกันอุบัติเหตุ ให้คุณอุ่นใจ เงินเก็บไม่หายไปเพราะมีประกันภัยดูแล

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล