16/07/67

|

อ่านแล้ว 70,223 ครั้ง

เคาะ! เงินดิจิทัลวอลเล็ต เงื่อนไขล่าสุด 10,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง

    เป็นที่เฝ้ารอกับความถามที่ว่า เงินดิจิทัล 10000 ล่าสุด มีเงื่อนไขอย่างไร ใครได้บ้าง ซื้ออะไรได้บ้าง และเริ่มลงทะเบียนวันไหน ผ่านแอปพลิเคชันอะไร วันนี้พี่หมี TQM รวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับ เงินดิจิทัลวอลเล็ต ครั้งที่ 4/2567 มาฝากกันครับ

 

ดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) คืออะไร

    ดิจิทัลวอลเล็ต หากแปลตรงตัวก็คือ กระเป๋าเงินดิจิทัล ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ชำระเงินต่างๆ หรือทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ โดยมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาปรับใช้ร่วมด้วย
ทั้งนี้ ดิจิทัลวอลเล็ต มีทั้งรูปแบบโปรมแกรมบนเดสก์ทอปคอมพิวเตอร์ รูปแบบกระดาษบันทึก และแอปพลิเคชันบบนมือถือ ซึ่งโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ครั้งที่ 4/2567 จะเป็นการลงทะเบียนผ่าน แอปพลิเคชัน โดยมีเกณฑ์และเงื่อนไขในการลงทะเบียนที่ได้รับการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เงินดิจิทัล 10000 บาท ใครได้บ้าง

เงินดิจิทัล 10,000 ล่าสุด ใครได้บ้าง

  1. ผู้ที่มีสัญชาติไทย และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
  2. ผู้ที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป
    ผู้มีสิทธิลงทะเบียนเงินดิจิทัล ผ่านแอปทางรัฐอายุ 16 ปีบริบูรณ์ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2567 เด็กมีอายุ 16 ปีขึ้นไป แต่มีเงินฝากเกิน 500,000 บาทขึ้นไป แม้จะเป็นเงินที่พ่อแม่ออมให้ลูกก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ เพราะเป็นผู้มีรายได้ อีกทั้งเกณฑ์เงินฝากในบัญชีระบุไว้ชัดเจนว่า หากเกิน 500,000 บาท ถูกตัดสิทธิ์
  3. ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 840,000 บาทต่อปี หรือไม่เกิน 70,000 บาทต่อเดือน
    ผู้มีสิทธิลงทะเบียนเงินดิจิทัล จะต้องอยู่ในเกณฑ์รายได้วัดจากฐานข้อมูลเงินได้ของกรมสรรพากร ปี 2566 ซึ่งสิ้นสุดไปแล้วเมื่อ 31 ธ.ค. 2566 กำหนดว่าจะต้องไม่เกิน 840,000 บาท หรือมีเงินเดือนไม่เกิน 70,000 บาท
    เงินฝากกำหนดไม่เกิน 500,000 บาท
  4. เกณฑ์เงินฝากกำหนดไม่เกิน 500,000 บาท
    นับเฉพาะเงินฝากสกุลบาท รวมกันทุกบัญชี ทั้งในส่วนของธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เช่น บัญชีเงินฝากประจำ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัตรเงินฝาก ใบรับเงินฝาก เงินฝากกระแสรายวัน ไม่นับรวมสลากออมทรัพย์สลากออมสิน หุ้น พันธบัตร โดยนับวันสิ้นสุด 31 มี.ค. 2567

 

ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท วันไหน

    ช่วงเวลาของการลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท พร้อมเปิดให้ลงทะเบียนวันที่ 1 สิงหาคม 2567 และเริ่มรับเงินเพื่อใช้จ่ายนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2567

 

ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่ไหน

    ช่องทางการลงทะเบียน รับเงิน และใช้จ่ายเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะใช้แอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ App Store และ Google Play และมีขั้นตอนการลงทะเบียน ดังนี้

 

  • ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ
  • เปิดแอปฯ ทางรัฐ แล้วเลือกสมัครสมาชิก
  • สแกนบัตรประชาชน และใบหน้าของผู้ใช้งาน เพื่อยืนยันตัวตน KYC
  • ระบุบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อเริ่มใช้งาน
  • ใช้งานบริการจากภาครัฐได้ทันที

เงินดิจิทัล 10000 ซื้ออะไรได้บ้าง

เงินดิจิทัล 10,000 บาท ซื้ออะไรได้บ้าง

    สินค้าที่เงินดิจิทัล 10,000 บาท สามารถซื้อได้ มีดังนี้

 

  • สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร ไข่ไก่ เป็นต้น
  • เครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก กะปิ น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น
  • สินค้าเพื่อการศึกษา เช่น เครื่องแบบนักเรียน เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เป็นต้น
  • สินค้าวัตถุดิบเพื่อการเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์พืช เป็นต้น
  • สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น ผักสด ผลไม้ อาหารสด เครื่องจักสาน เป็นต้น
  • ยารักษาโรค เช่น ยาแก้ไข ยาแก้ท้องเสีย เป็นต้น
  • ธูปเทียนและเครื่องสักการะ ชุดถวายสังฆทาน เป็นต้น

 

    สินค้าที่เงินดิจิทัล 10,000 บาท ไม่สามารถซื้อได้ มีดังนี้

 

  • สลากกินแบ่งรัฐบาล
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ยาสูบ
  • กัญชา
  • กระท่อม
  • พืชกระท่อม
  • ผลิตภัณฑ์กัญชาและกระท่อม
  • บัตรกำนัล
  • บัตรเงินสด
  • ทองคำ
  • เพชร
  • พลอย
  • อัญมณี
  • น้ำมันเชื้อเพลิง
  • ก๊าซธรรมชาติ

 

วิธีใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท

    วิธีใช้เงินดิจิทัล 10,000 บาท ผ่านแอปฯ ทางรัฐ จะแบ่งออกมาเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

 

1. วิธีใช้เงินดิจิทัล ระหว่างประชาชนกับร้านค้า

    ใช้จ่ายเชิงพื้นที่ในระดับอำเภอ (878 อำเภอ) การชำระเงินต้องเป็นแบบพบหน้า (Face to Face) กำหนดให้ใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กที่รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก

 

2. วิธีใช้เงินดิจิทัล ระหว่างร้านค้ากับร้านค้า

    ร้านค้าที่จะรับการใช้จ่ายจากประชาชนต้องเป็นร้านค้าขนาดเล็ก รวมถึงร้านสะดวกซื้อขนาดเล็กโดยไม่รวมห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่ระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ส่วนร้านค้าที่สามารถรับการใช้จ่ายจากร้านค้า ไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า

 

    นอกจากข้อมูลข้างต้นแล้วขอแนะนำให้ติดตามข่าวสารของโครงการดิจิทัลอยู่ตลอด เพื่อไม่ให้พลาดการใช้สิทธิเงินดิจิทัลครั้งนี้นะครับ และเมื่อพูดถึงกาารทำธุรกรรมออนไลน์แล้ว เดี๋ยวนี้มีข่าวมิจฉาชีพพยายามหลอกล้อทุกรูปแบบเพื่อโจรกรรมเงินออนไลน์และข้อมูลส่วนตัว ทางที่ดีมีประกันภัย Shopping Online F เก่ง คุ้มครองเงินส่วนตัว ในบัญชีออนไลน์ หมดกังวลเรื่องเงินหาย สนใจแชทคุยกับพี่หมีได้ที่นี่ หรือโทร 1737 ยินดีให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง