การยื่นภาษีเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้ทุกคนต้องทำในแต่ละปี โดยจะเริ่มยื่นกันในช่วงต้นปีของเดือนถัดไป หากใครไม่ยื่นภาษีก็จะมีโทษค่าปรับตามมาได้ และสำหรับการยื่นลดหย่อนภาษี 2567 หลายคนกำลังวางแผนรวมข้อมูลรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 เพื่อใช้สำหรับยื่นต้นปี 2568 ก็อยู่แน่ๆ วันนี้พี่หมี TQM มาพร้อมกับรายการลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง และในปี 2567 มาตรการลดหย่อนภาษีจากทางรัฐมีอะไรใหม่เพิ่มเติมเข้ามาบ้าง มาดูกันครับ

รายการลดหย่อนภาษีประจำปี มีอะไรบ้าง
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
-
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว : ผู้มีเงินได้ทุกคนสามารถหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส : หากคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตร : บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรม คนละ 30,000 บาท สำหรับบุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 สามารถหักเพิ่มอีกคนละ 30,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาทต่อการตั้งครรภ์
- ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา : บิดาและมารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี คนละ 30,000 บาท
- ค่าเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ : คนละ 60,000 บาท โดยต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
-
- เบี้ยประกันชีวิต : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยกรมธรรม์ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- เบี้ยประกันสุขภาพ : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
- เงินประกันสังคม : สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) : ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) : ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ : ลดหย่อนภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย : ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise (วิสาหกิจเพื่อสังคม) : ผู้ที่ลงทุนธุรกิจเพื่อสังคมตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
-
- เงินบริจาคทั่วไป : หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา และพัฒนาสังคม : หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ
- เงินบริจาคให้พรรคการเมือง : หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ มาตรการใหม่ ปี 2567
ในการยื่นภาษีปี 2567 นี้ทางรัฐบาลได้ออกมาตรการใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการ Easy E-Receipt แทน โครงการช้อปดีมีคืน 2567 รวมไปถึงโครงการเที่ยวเมืองรอง และกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) โดยรายละเอียด 3 มาตรการลดหย่อนภาษีใหม่ ปี 2567 มีรายละเอียดดังนี้
-
- โครงการ "Easy E-Receipt" : สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการตากร้านค้าที่ร่วมโครงการ และมีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อใช้ยื่นในปี 2568
- โครงการ "เที่ยวเมืองรอง" : สามารถหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวใน 55 จังหวัดเมืองรอง ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2567 โดยต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
- กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) : ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท

ยื่นภาษี 2567 ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สำหรับการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา จะมีด้วยกัน 2 แบบคือ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 โดยทั้งสองประเภท จะต้องเตรียมเอกสารสำหรับใช้ยื่นภาษี ดังนี้
-
- หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
- เอกสารแสดงการลดหย่อนต่างๆ เช่น ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ต่างๆ รวมไปถึงหลักฐานการบริจาค เพื่อประกอบการยื่นภาษี
ยื่นภาษี 2567 เริ่มตั้งแต่วันไหน
ในการยื่นภาษี 2567 สามารถยื่นแบบได้ที่กรมสรรพากร ยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ และ ผ่านทางแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยกำหนดการยื่นภาษี 2567 มีดังนี้
-
- ยื่นด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร : สามารถเริ่มยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2568
- ยื่นภาษีออนไลน์ : สามารถเริ่มยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 8 เมษายน 2568
.jpg)
การเข้าใจรายการลดหย่อนภาษีที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะช่วยลดภาระทางการเงินในปีถัดไป การวางแผนจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารที่จำเป็นให้เรียบร้อยจะช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ในส่วนของประกันเอง การทำประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ สามารถใช้ยื่นลดหย่อนภาษีได้ด้วยเช่นกัน ที่ TQM มีประกันสุขภาพที่คุ้มครองอย่างครอบคลุมหมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายยามเจ็บป่วย ทั้งค่าห้อง ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงลดหย่อนภาษีได้ สนใจเช็คราคาประกันสุขภาพได้ที่นี่ หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันสุขภาพ หากต้องการปรึกษาเรื่องประกันภัยกับ TQM สามารถแชทกับพี่หมีได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านเบอร์ Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ