13/08/67

|

อ่านแล้ว 5,554 ครั้ง

โซดาไฟคืออะไร? รู้จักประโยชน์และโทษก่อนใช้ เพื่อความปลอดภัย

    ในชีวิตประจำวันของเรานั้น สารเคมีมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค หรือแม้กระทั่งการบำบัดน้ำเสีย หนึ่งในสารเคมีที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในอุตสาหกรรมและในครัวเรือน แต่มีความอันตรายสูง หากใช้งานไม่ถูกต้องก็คือ โซดาไฟ หรือที่รู้จักกันในชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "โซเดียมไฮดรอกไซด์" (Sodium hydroxide) วันนี้พี่หมี TQM จึงจะพาไปทำความรู้จักกับ โซดาไฟคืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง และมีข้อควรระวังอะไรในการใช้ รวมถึงวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อโดนหรือสัมผัสกับโซดาไฟ

 

โซดาไฟคืออะไร?

    โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว มีคุณสมบัติเป็นด่างและมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างรุนแรง สารนี้สามารถดูดซับความชื้นได้ดีและละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เมื่อละลายในน้ำจะกลายเป็นสารละลายที่มีความเป็นด่างสูง มีลักษณะเป็นเกล็ดใส ๆ หรือเม็ดคล้ายทรายหยาบ และสามารถอยู่ในรูปของผงขุ่น ๆ ได้เช่นกัน โซดาไฟถูกใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตสบู่ ผลิตภัณฑ์ซักฟอก การฟอกย้อม และการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากคุณสมบัติในการทำลายคราบสกปรกและการกัดกร่อนสิ่งสกปรกที่ติดแน่น อีกทั้ง โซฟาไฟ ยังถูกนำมาใช้ในครัวเรือนเพื่อแก้ปัญหาท่อตันด้วย

โซดาไฟคืออะไร?

ประโยชน์ของโซดาไฟ ใช้ทำอะไรได้บ้าง

    แม้โซดาไฟจะมีความอันตรายสูง แต่ก็มีประโยชน์อย่างมากในการใช้งาน ทั้งในอุตสาหกรรมและครัวเรือน เช่น

1. การผลิตสบู่

โซดาไฟเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสบู่ โดยทำปฏิกิริยากับไขมันหรือกรดไขมันเพื่อเปลี่ยนเป็นสบู่ที่เราใช้กันทั่วไป

 

2. การแก้ไขปัญหาท่อตัน

โซดาไฟถูกใช้เพื่อขจัดคราบสกปรกและสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ โดยใช้โซดาไฟก้อนหรือโซดาไฟที่ละลายน้ำเพื่อเทราดในบริเวณที่มีการอุดตัน

 

3. การปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำ

โซดาไฟถูกใช้ในการบำบัดน้ำเสียเพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ให้เหมาะสมกับการปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อม

 

4. การฟอกย้อมไหม

โซดาไฟมีบทบาทสำคัญในกระบวนการฟอกย้อมไหม โดยเฉพาะในขั้นตอนการลอกกาวไหม การใช้โซดาไฟจะช่วยต้มและละลายกาวไหมออกจากเส้นไหม ทำให้ได้เส้นไหมที่สะอาดและพร้อมสำหรับการย้อมสี

 

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ

    เนื่องจากโซดาไฟมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง หากใช้งานไม่ถูกต้องหรือขาดความระมัดระวัง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้น ควรปฏิบัติตามข้อควรระวัง ดังนี้

 

  1. อย่าเทโซดาไฟลงท่อโดยตรงโซดาไฟสามารถกัดกร่อนท่อระบายน้ำได้ จึงควรผสมโซดาไฟกับน้ำก่อนที่จะเทลงท่อ เพื่อป้องกันการกัดกร่อน
  2. ระวังการสูดดม โซดาไฟสามารถปล่อยไอที่เป็นอันตรายออกมา ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ปอดอักเสบหรือน้ำท่วมปอดได้ ดังนั้น ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากหรือเครื่องช่วยหายใจ
  3. เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากโซดาไฟเป็นสารเคมีอันตราย จึงควรเก็บให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง เพื่อป้องกันการเผลอหยิบหรือกินเข้าไป
  4. การใช้งานในอุตสาหกรรม ควรปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านการจัดเก็บและการใช้งาน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
  5. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ผู้ที่ต้องใช้โซดาไฟควรสวมใส่แว่นตาครอบกันสารเคมี หน้ากาก ถุงมือยาง และรองเท้าที่ป้องกันสารเคมี เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารอันตราย
  6. การจัดเก็บในโรงงานอุตสาหกรรม ควรเก็บโซดาไฟในภาชนะที่แห้งและปิดสนิท มิดชิด ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่เป็นห้องทึบ และไม่ควรจัดเก็บไว้ใกล้กับสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรด เพื่อป้องกันปฏิกิริยาที่อาจทำให้เกิดอันตราย

ข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ

การเก็บรักษาโซดาไฟที่ใช้ในครัวเรือน

    โซดาไฟที่ใช้ในครัวเรือน สามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยอยู่ในลักษณะของผงหรือเกล็ด เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บโซดาไฟในภาชนะที่เหมาะสม เช่น ภาชนะพลาสติก เซรามิก หรือแก้ว ที่มีฝาปิดมิดชิด และควรหลีกเลี่ยงการเก็บในที่ที่มีความชื้น เพื่อป้องกันการทำปฏิกิริยากับความชื้น นอกจากนี้ ยังต้องระวังไม่ให้โซดาไฟสัมผัสกับกรดหรือสารที่ติดไฟได้ง่าย

 

การกำจัดโซดาไฟอย่างปลอดภัย

    การกำจัดโซดาไฟที่เหลือใช้นั้นไม่ควรทำอย่างพล่อยๆ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ ข้อควรปฏิบัติในการกำจัดโซดาไฟ ได้แก่

 

  1. แยกขยะสารเคมีออกจากขยะทั่วไป ควรทิ้งโซดาไฟในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิด และติดป้ายแยกว่าขยะนี้เป็นขยะสารเคมี
  2. ห้ามทิ้งลงในแม่น้ำหรือพื้นดิน การทิ้งโซดาไฟลงในแม่น้ำหรือพื้นดินอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะที่ทำจากโลหะบางชนิด โซดาไฟสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด เช่น สังกะสี ดีบุก หรืออลูมิเนียม ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟและอาจเกิดเพลิงไหม้ได้

 

การปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสโซดาไฟ

    หากเกิดอุบัติเหตุจากการสัมผัสโซดาไฟ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่าเดิม ดังนี้

 

  1. หากโซดาไฟเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้งทันที เพื่อเจือจางสารเคมีและลดการระคายเคือง
  2. หากสัมผัสกับผิวหนัง ควรล้างผิวหนังที่สัมผัสด้วยน้ำสะอาดและสบู่โดยด่วน จากนั้นใช้ยาแก้แผลไฟไหม้ทาบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
  3. หากเข้าปาก ควรใช้น้ำส้มสายชูล้างท้องทันทีเพื่อช่วยลดความเข้มข้นของโซดาไฟ

 

    โซดาไฟ เป็นสารเคมีที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการใช้งานต่างๆ แต่เนื่องจากมีฤทธิ์กัดกร่อนที่รุนแรง การใช้งานจึงต้องทำอย่างระมัดระวังและปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้ การเก็บรักษาและการกำจัดโซดาไฟที่ถูกต้องยังเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงต่ออันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม โซดาไฟ มิใช่ความเสี่ยงเดียวที่อาจพบเจอในชีวิตประจำวัน การมีประกันอุบัติเหตุและประกันสุขภาพ ไว้คุ้มครองและดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาล และช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้ารับรักษา เพื่อให้คุณไม่ต้องวิตกกังวลไปกว่าเดิมเมื่อเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันนะครับ หากสนใจประกันภัย สามารถกรอกข้อมูลด้านล่าง หรือแชทกับพี่หมีที่นี่ หรือต้องการปรึกษาเรื่องประกันภัย โทร Hotline 1737 พี่หมียินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง