01/02/62

|

อ่านแล้ว 12,052 ครั้ง

ขับรถชนคนตาย ต้องติดคุกไหม ?

ขับรถชนคนตาย ต้องติดคุกไหม ?

     อุบัติเหตุบนท้องถนนมักเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดฝัน! บางครั้งก็เกิดจากความประมาทของเพื่อนร่วมทางคนอื่น หรืออาจเกิดขึ้นเพราะความประมาทของตัวเราเอง ยิ่งถ้าเป็นความประมาทเลินเล่อที่ร้ายแรง ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือที่ร้ายแรงกว่านั้นคือถึงขั้นเสียชีวิต นอกจากจะโดนนำเนินคดีตามกฎหมายแล้ว ยังอาจเป็นตราบาปที่ติดตัวคุณไปตลอดชีวิตเช่นกัน! และในปัจจุบันอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่ใช้เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป! เพราะในแต่ละวันมักได้ยินข่าวการขับรถชนคนตาย ที่มีทั้งเกิดจากความประมาทของตนเอง หรือเกิดจากความประมาทของผู้ร่วมทางคนอื่น โดยในทางกฎหมายได้ระบุเอาไว้ว่า
 
ขับรถชนคนตาย ต้องติดคุกไหม
 
การขับรถเร็วที่ส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหคุ ถือเป็นการขับรถโดยประมาท ซึ่งหากเกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ถือเป็นคดีอาญาที่ไม่สามารถยอมความได้ โดยมีความผิดเกี่ยวข้องใน 2 มาตรา ดังนี้
 
- ป.อ.มาตรา 291 ระบุเอาไว้ว่า ผู้ใดที่กระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
- ป.อ.มาตรา 300 ระบุเอาไว้ว่า ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจับทั้งปรับ
 
     สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หากขับรถด้วยความประมาทจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท ในกรณีที่มีผู้เสียชีวติ ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท
 
ขับรถชนคนตาย ต้องติดคุกไหม
 
     ทั้งนี้ทั้งนี้น การขับรถที่ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ผู้ขับไม่ได้ผิดถึงขั้นต้องติดคุก หรือโดนโทษหนักเสมอไป! ซึ่งหากในกรณีที่ขับรถมาด้วยความเร็วปกติ แล้วเกิดมีเหตุคนกระโดดพุ่งชนรถ หรือพุ่งออกมากระทันหันเป็นเหตุให้ถูกรถชนจนเกิดการเสียชีวิต เบื้องต้นผู้ขับขี่มีความผิด แต่หากมีการพิสูจน์ได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการกระทำของผู้บาดเจ็บ หรือผู้เสียชีวิต กฏหมายจะถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากอีกฝ่าย ซึ่งคนขับจะเป็นผู้เสียหายทันที ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก ฐานขับรถโดยประมาท ตามมาตรา 78 ได้ระบุเอาว่า หากผู้ใดขับรถก่อความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของฝ่ายใด ต้องหยุดรถให้ความช่วยเหลือ รวมถึงแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที ซึ่งถือเป็นสามัญสำนึกของผู้กระทำที่ต้องให้ความช่วยเหลือไม่หลบหนี ศาลจะพิจารณาจากพยานหลักฐานว่าเหตุที่เกิดขึ้น ผู้กระทำได้ทำการโดยประมาทหรือไม่ หากมีการนำผู้บาดเจ็บไปส่งโรงพยาบาล เข้าไปเยี่ยมอาการ รวมถึงมีการชดใช้ค่าเสียหาย ตำรวจจะทำการรวบรวมหลักฐานส่งให้อัยการ เพื่อให้ศาลปราณีลดโทษจำคุก รอลงอาญา ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์แทน แต่ในกรณีที่ผู้กระทำหลบหนี ไม่ว่าจะด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่ กฏหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิด และตำรวจมีอำนาจในการยึดรถเอาไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่มาดำเนินคดี
 
     เพื่อป้องกันไม่ให้นำตัวเองไปเสี่ยงคุกเสี่ยงตาราง ควรขับรถด้วยความไม่ประมาท และเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญคือพี่หมีแนะนำให้ติดกล้องหน้ารถยนต์ จะได้นำมาใช้เป็นหลักฐานในการสู้คดีในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายขับรถมาโดยปกติ และควรทำประกันรถยนต์เพื่อจะให้การคุ้มครองในยามเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ด้วยความปรารถนาจากพี่หมี และทีมงาน TQM 
 
 READ MORE : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล