21/03/66

|

อ่านแล้ว 379 ครั้ง

ซีเซียม 137 อันตรายมากแค่ไหน

     กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากอย่างประเด็นท่อเก็บสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ที่ได้หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังงานไอน้ำ และล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566 ก็ได้มีการพบวัตถุดังกล่าวแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นข่าวที่ทำหลายคนตกใจกันเป็นอย่างมาก วันนี้ พี่หมี TQM เลยนำข้อมูลเกี่ยวกับ ซีเซียม 137 คืออะไร ส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอันตรายมากแค่ไหน มาฝากเพื่อนๆ กันครับ


ขอบคุณภาพจาก : ngthai

ซีเซียม 137 คืออะไร

     ซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีลักษณะโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี สลายตัวโดยปล่อยรังสีบีตาและรังสีแกมมา ส่วนมากจะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือทางการแพทย์รักษามะเร็งอีกด้วย

ผลกระทบอันตรายจากซีเซียม 137

     อันตรายจากซีเซียม137 นั้นหากได้รับในปริมาณที่น้อยหรือในระยะเวลาสั้นจะยังไม่เห็นผลที่ชัดเจนมากนัก แต่นั่นก็ทำให้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ ด้านสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ชลบุรี กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า อันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 ได้รับอันตรายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสี ชนิดของรังสีที่ได้รับ 

อาการที่พบเมื่อมีการสัมผัสซีเซียม 137 

  • มีไข้ เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง ถ่ายเหลว
  • ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดแผลไหม้พุพอง
  • ผมและขนหลุดร่วง ปากเปื่อย 
  • เกิดต้อกระจก
  • เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • ระบบเลือด กดไขกระดูก 
  • ระบบประสาท ชักเกร็ง และอาจเสียชีวิตได้

ประกันมะเร็ง

     ส่วนใหญ่แล้วเมื่อมีการได้สัมผัสกับซีเซียม 137 แล้วนั่นตัวสารกัมตรังสีจะกระจายเข้าไปทั่วในร่างกายพบมากสุดจะไปสะสมอยู่ในบริเวณเนื้อเยื่อ และส่วนน้อยอยู่ในตับและไขกระดูก แต่ก็จะถูกขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ ในส่วนของมะเร็ง ซีเซียม 137 เป็นสารก่อมะเร็ง โอกาสที่จะเป็นมะเร็งคือต้องทานอาหารปนเปื้อนสารซีเซียม 137 เป็นระยะเวลานานๆ ต่อเนื่องกัน แต่หากสูดดม หรือรับเข้าไปด้วยความเข้มข้นสูง หรือเป็นระยะเวลาพอสมควร จะก่อให้เกิดมะเร็งกับอวัยวะที่สัมผัส (ข้อมูลจาก thairath)

หากสัมผัสกับซีเซียม 137 ต้องทำอย่างไร

     โดยทางกรมควบคุมโรคได้ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อปฏิบัติหากสัมผัสกับซีเซียม 137 ดังนี้

  • ลดการปนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหารตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้า ใส่ถุงปิดป่ากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรีงสีหรือไม่
  • ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนด ให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพและควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี
  • ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย

ผลกระทบอันตรายจากซีเซียม 137

     และนี่ก็เป็นความอันตรายจากซีเซียม 137 ดังนั้นในอนาคตไม่ว่าเราจะไปเจอวัตถุต้องสงสัยรูปแบบไหนอีกก็ไม่ควรที่จะสัมผัสหรือไปเข้าใกล้ ควรเรียกให้เจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญตรวจสอบให้จะดีที่สุด และสำหรับใครที่สนใจประกันภัยก็สามารถคลิกได้เลยที่นี่ หรือโทรสองถามข้อมูลประกันภัยเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1737 ตลอด 24 ชั่วโมงครับ

 READ MORE : 

        

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล