บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าประกันบ้านให้เราเท่าไหร่? หากเกิดเหตุไฟไหม้?
ในปัจจุบันมี
บริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองบ้าน และอาคาร ทั้งที่อยู่อาศัย และร้านค้า อาทิ AXA, ทิพยประกันภัย, เมืองไทยประกันภัย, กรุงเทพประกันภัย เป็นต้น รวมถึงธนาคารต่าง ๆ ที่ออกผลิตภัณฑ์ประกันภัยบ้านและคอนโดสำหรับผู้ขอสินเชื่อบ้าน แต่การทำประกันภัยนี้จะมีเบี้ยประกันสูงมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างคุณกับบริษัทประกันภัย แต่จะมีราคากลางที่เข้ามาสร้างมาตรฐานอย่างยุติธรรมให้กับทั้งสองฝ่ายครับ
เลือกรับความคุ้มครองได้แบบเดียว จาก 2 วิธี
1) จำนวนเงินเอาประกันภัยเป็นมูลค่าตามทรัพย์สินที่เป็นของใหม่
2) จำนวนเงินเอาประกันภัยตามมูลค่าของทรัพย์สินทู่กหักค่าเสื่อมราคาไปแล้ว
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย
[(จำนวนเงินเอาประกันภัย/มูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน ณ เวลาเกิดความเสียหาย) x มูลค่าความเสียหาย]
โดยราคา ณ ปัจจุบัน จะมีการคำนวณค่าเสื่อมราคาเข้าไปด้วย ค่าเสื่อมราคาก็คือมูลค่าของตัวทรัพย์สินที่ลดลงตามอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาอาคารทั้งส่วนโครงสร้าง การตกแต่งทางสถาปัตยกรรม และงานระบบประกอบอาคาร
• ค่าเสื่อมราคาของอาคารอายุต่ำกว่า 60 ปี ราคาลดลงปีละ 1.16 – 1.6 % ต่อปี
• ค่าเสื่อมราคาของอาคารอายุมากกว่า 60 ปี ราคาลดลงปีละ 20 – 40 % ต่อปี
เช็ค “ค่าเสื่อมราคา” คร่าว ๆ ได้จากตารางมาตรฐานสิ่งปลูกสร้าง
เพื่อความชัดเจนระหว่างบริษัทและผู้เอาประกันภัย ในแต่ละปี คปภ. จะกำหนดราคาสิ่งปลูกสร้างมาไว้ในเว็บไซต์เพื่อให้บริษัทต่าง ๆ เอาไปใช้คำนวณเบี้ย โดยจะแบ่งลักษณะของราคาออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ระดับ สูง, กลาง และ ต่ำ โดยพิจารณาจากพวกของตกแต่ง และราคาของวัสดุก่อสร้าง แบ่งออกเป็น อาคารไม้ และ อาคารปูน ทั้งบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด ดังนี้
ทราบราคาประเมินด้วยตัวเองคร่าว ๆ ก่อนได้ โดยใช้โปรแกรมคำนวณเงินเอาประกัน
เพื่อการพิจารณาราคาที่ง่ายขึ้น ทาง คปภ. ได้ระบุจำนวนเงินเอาประกันโดยอิงจากอัคคีภัยไว้เพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้เอาประกันภัยและบริษัท ในกรณีเกิดความเสียหายทั้งหมดจากเพลิงไหม้ โดยเลือกวิธีกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ทั้งแบบสร้างใหม่ หรือ หักค่าเสื่อมราคา ได้จากทรัพย์สินที่เหลืออยู่ ณ เวลาขณะประสบเหตุ โดยเข้าไปลองใช้
โปรแกรมคำนวณเบี้ยประกันภัยบ้านและอาคารของเว็บ คปภ. ได้
ขั้นตอนที่ 1
เลือกประเภทอาคารและการชดใช้ค่าสินไหม
ในที่นี้เราลองเลือกกรอกข้อมูลเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ที่ยอมให้หักค่าเสื่อมราคา ยกตัวอย่างเป็นอาคารที่ใช้งานมา 20 ปีแล้ว โดยสามารถเลือกจำนวนเงินเอาประกันภัยแบบก่อนหรือหลังทำประกันภัย และต้องเลือกระดับราคา จาก ต่ำ / กลาง / สูง ดังนี้
• ระดับต่ำ รูปแบบอาคารเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีของตกแต่งมาก พื้นเป็นพื้นขัดมัน กระเบื้องเป็นกระเบื้องยาง เป็นต้น
• ระดับกลาง รูปแบบอาคารใช้วัสดุที่มีราคาสูงขึ้น เช่น กระเบื้องแกรนิต หินอ่อน หรือปาร์เก้ เป็นต้น
• ระดับสูง เป็นอาคารที่สร้างด้วยรูปแบบซับซ้อนยิ่งขึ้น และมีช่วงเสาเกิน 5 เมตร มีการติดตั้งฝ้า และใช้วัสดุก่อสร้างเกรดดีพิเศษ
ขั้นตอนที่ 2 เลือกพื้นที่ใช้สอย
และอายุการใช้งานเพื่อคำนวณหาค่าเสื่อมราคา
หาค่าเสื่อมราคาจากพื้นที่ใช้สอย และคำนวณเป็นหน่วยตารางเมตร โดยกรอกระยะเวลาก่อสร้างที่แล้วเสร็จ และอายุการใช้งาน ข้อมูลส่วนนี้มีประโยชน์เพื่อวางแผนการกำหนดวงเงินเอาประกันกับบริษัทประกันภัยนั่นเอง
ขั้นตอนที่ 3
คำนวณหาจำนวนเงินเอาประกันภัย
หลังจากกรอกข้อมูลทั้งหมด ระบบจะเลือกมูลค่าที่แท้จริง ที่ได้จากการคำนวณมาแจ้งบอกทางหน้าเว็บ แต่หากคุณคิดว่ากรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออยากเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างระดับสูง กับระดับอื่น ๆ ใหม่ ก็ล้างข้อมูลเพื่อกรอกค่าต่าง ๆ เริ่มต้นใหม่ได้ ถือว่าเป็นการใช้งานประเมินราคาเอาประกันภัยที่ง่ายและสะดวก ก่อนที่จะตัดสินใจวางแผนทำประกัน
ทั้งนี้ราคาอาจจะแตกต่างกันตามที่ผู้ประเมินแต่ละคนพิจารณาไม่เหมือนกัน เพราะต้องดูวัสดุ และโครงสร้างต่าง ๆ ว่ายังใช้งานได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงความรู้ด้านการประเมินที่แตกต่างกันของเจ้าหน้าที่พิจารณาการเคลมวงเงินด้วย ทั้งนี้หากคุณเป็นผู้เอาประกันภัยและคิดว่าได้รับความไม่เป็นธรรม สามารถติดต่อไปยัง คปภ. เพื่อขอคำปรึกษาในลำดับต่อไปได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186
ข้อมูลจาก : http://www.oic.or.th
READ MORE :