09/06/61

|

อ่านแล้ว 664 ครั้ง

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เริ่มต้น 645.21 บาท

     หลายครั้งที่เราได้ยินข่าวว่า น้อง ๆ ที่เป็นนักศึกษา ขับรถจักรยานยนต์แล้วเกิดอุบัติเหตุ หากมีบัตรนักศึกษาก็สามารถเคลมประกันอุบัติเหตุของมหาวิทยาลัยได้  แต่หากเป็นการขับรถชนคนอื่น อาจจะต้องออกค่ารักษาเองให้แก่คู่กรณี  ซึ่งบางทีก็กระทบกับค่าใช้จ่ายอื่นไปทั้งเดือน

 
 
     น้องๆ อาจจะยังไม่ทราบว่า พ.ร.บ. จักรยานยนต์ สามารถจ่ายค่ารักษาให้ได้ส่วนหนึ่ง โดยต้องเตรียมเอกสารไปติดต่อกับ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ  ซึ่งหากน้อง ๆ มีรถยนต์เป็นของตัวเองในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถเก๋ง รถกระบะ จะทราบว่า หากเกิดอุบัติเหตุอีก พ.ร.บ. จะเป็นผู้จ่ายค่าคุ้มครองให้ทั้งผู้เจ็บ (คู่กรณี) และ เจ้าของรถยนต์
 

พ.ร.บ. ทำไมต้องทำ

     การต่อ พ.ร.บ. ปีต่อปี นั้นมีประโยชน์อย่างยิ่ง สมควรจะต้องทำ! นอกจากจะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกฎหมายแล้ว ยังเป็นการเช็คสภาพรถปีต่อปี และมีความคุ้มครองให้กับ “ผู้ขับขี่” และ “คนร่วมทาง” อีกด้วย

 
ราคารถแตละประเภทที่ต่อ พ.ร.บ.
 
 

คุณต้องจ่ายค่าต่อ พ.ร.บ. เท่าไหร่?

     การต่ออายุ พ.ร.บ. นี้ สามารถทำได้ทุกที่ แม้กระทั่งร้านสะดวกซื้อ หรือ ธนาคารต่าง ๆ ก็รับเป็นตัวแทนต่ออายุ พ.ร.บ. ได้มากขึ้น  และส่วนใหญ่ผู้มีรถยนต์จะต่ออายุ พ.ร.บ. กับตัวแทนที่มีบริการประกันภัยภาคสมัครใช้ (พวกประกันชั้น 1 ชั้น 2 เป็นต้น) เพื่อลดเวลาติดต่อในขั้นตอนต่าง ๆ
 
     สำหรับ เว็บไซต์ TQM จะมีอัตราค่าต่ออายุ พ.ร.บ. ชัดเจน ปรากฎอยู่ที่หน้าเว็บให้เลือก ดังนี้
  1. รถเก๋ง ต่ออายุ พ.ร.บ. ได้ในราคา 645.21 บาท
  2. รถกระบะ ต่ออายุ พ.ร.บ. ได้ในราคา 967.28 บาท
  3. รถตู้ ต่ออายุ พ.ร.บ. ได้ในราคา 1,182.35 บาท
 
     โดยจะเป็นการต่ออายุจาก 4 บริษัท  ได้แก่  เมืองไทยประกันภัย, กรุงเทพประกันภัย, ทิพยประกันภัย และ เอเชียประกันภัย
 
 
 
 
พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?
 
     เมื่อคุณต่อ พ.ร.บ. ประกันภัย  ก็จะเป็นการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี และมีความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่คนขับ หรือ คู่กรณี ได้รับบาดเจ็บ ต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล (ต้องนอนแอดมิด) ทุพพลภาพ หรือ เสียชีวิต โดยมีวงเงินที่ให้ความคุ้มครอง ดังตารางต่อไปนี้
 
 
ตารางคุ้มครอง พ.ร.บ. รถยนต์
 
 
     แต่หากผู้ขับขี่เป็นฝ่ายผิด จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
 
ขอเบิกกับ พ.ร.บ. มีขั้นตอนอย่างไร?
 
     เมื่อคุณเกิดอุบัติเหตุ ต้องรีบเข้าไปแจ้งความ กับสถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ เพื่อขอเอกสาร ใบแจ้งความ (หรือใบลงบันทึกประจำวัน) เพื่อมาเป็นหลักฐานในการเบิกค่ารักษา ภายใน 180 วัน โดยต้องเตรียมเอกสาร ดังนี้
 
1. ใบแจ้งความ (หรือใบลงบันทึกประจำวัน)
2. ใบรับรองแพทย์
3. ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล ฉบับจริง (ถ่ายสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐาน)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบเหตุ
5. กรณีเสียชีวิต ต้องมีสำเนาใบมรณะบัตร และ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของทายาท
6. แบบยื่นคำร้อง (บด.3) ซึ่งต้องขอจาก บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด

     โดยต้องเตรียมตัวเขียนอธิบายคำร้องว่า ต้องการเรียกร้องค่าสินไหมในกรณีใด ตั้งแต่ บาดเจ็บ, ทุพพลภาพ, สูญเสียอวัยวะ, เสียชีวิต หรือค่าชดเชยรายวันกรณีนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล
 
 
ติดต่อ พ.ร.บ. ได้ที่ไหนบ้าง?
 
     เข้าไปที่เว็บไซต์ www.rvp.co.th เพื่อค้นหาสาขาที่ตั้งของ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ทั่วประเทศ หรือโทรสอบถาม 1791
 
ช่องทางและขั้นตอนการติดต่อ พ.ร.บ.
 
 
 
บทความที่เกี่ยวข้อง:
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล