07/10/63

|

อ่านแล้ว 670 ครั้ง

ถนนกทม. จุดไหน น้ำท่วมซ้ำซากหลังฝนตก

เช็คถนนในกรุงฯ น้ำท่วมตลอด

     น้ำท่วมขังในกรุงเทพฯ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงฤดูฝน และมักท่วมในพื้นที่เดิมๆ โดยเฉพาะบริเวณถนนทำให้การจราจรติดขัด รถยนต์ไม่สามารถสัญจรไปมา และพาลทำข้าวของเสียหายไปด้วย ฉะนั้นเวลามีฝนตกหนัก หรือกรมอุตุเตือนเรื่องพายุฝน แนะนำให้เพื่อนๆ หลีกเลี่ยงขับรถผ่านบริเวณที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง ก็จะช่วยให้รถไม่พังเพราะน้ำเข้ารถ แต่พื้นที่ถนนกทม. มีจุดไหน น้ำท่วมซ้ำซากหลังฝนตกบ้าง วันนี้พี่หมี TQM รวบรวมมาไว้ที่นี่แล้วครับ มาดูกัน
 

เหตุผลของน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

     ดร.ศิริลักษณ์ ชุ่มชื่น ประธานคณะอนุกรรมการวิศวกรรมแหล่งน้ำ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ (วสท.) ให้ข้อมูลว่า สาเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ มี 3 ปัจจัย คือ
 
1. “น้ำเหนือ” หรือปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ภาคเหนือ ถือว่าเป็นน้ำภายนอกไหลเข้าสู่กรุงเทพฯ แต่ละปีมีปริมาณน้ำแตกต่างกันออกไป เช่น ในปี 2554 เกิดพายุเข้าปกคลุมประเทศไทย 5-6 ลูก ทำให้ภาคเหนือมีมวลน้ำมหาศาล ที่จำเป็นต้องเร่งระบายน้ำลงทะเล ซึ่งมวลน้ำนี้จะระบายลงทะเลได้ ต้องผ่านกรุงเทพฯ จนเส้นทางน้ำผ่านบางพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ในกรุงเทพฯเกิดน้ำท่วมตามมา
 
2. เกิดจากน้ำทะเลหนุนขึ้นสูงสุด ในช่วงปลายเดือน ต.ค.-พ.ย. ปัญหานี้มีการวางระบบแนวทางป้องกัน คือสร้างแนวคันกั้นน้ำคู่ขนานตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยา และมีการสร้างประตูระบายน้ำเปิดปิดตามคลอง ที่เชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนท่อระบายน้ำใช้ระบบแบบมีฝาปิดปลายท่อ เพื่อให้น้ำระบายลงแม่น้ำเจ้าพระยาทางเดียว และน้ำจะไม่สามารถไหลย้อนกลับเข้าท่อระบายได้
 
3. เหตุผลของน้ำท่วมกรุงเทพฯ 80-90 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ ประกอบกับกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งบางแห่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.5 ซม. ในบางจุดมีลักษณะต่ำแบบหลุมขนมครก เช่น ย่านรามคำแหง บางกะปิ สุขุมวิท และสะพานสูง การระบายน้ำมีความจำเป็นต้องใช้ระบบสูบน้ำมาช่วยระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา หรือทะเล
 

ถนนกทม. จุดไหน น้ำท่วมซ้ำซากหลังฝนตก

     เมื่อวันที่ 7 ต.ค.63 สำนักงานระบายน้ำกทม. ได้เปิดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร แม้จะมีฝนตกน้อยกว่า 60 มม./ชม.ก็ตาม โดยพบว่ามีทั้งหมด 14 จุด ดังนี้

1. ถนนแจ้งวัฒนะ ช่วงจากคลองประปาถึงคลองเปรมประชากร ( เขตหลักสี่)
2. ถนนรัชดาภิเษก บริเวณหน้าธนาคารกรุงเทพ ( เขตจตุจักร)
3. ถนนพหลโยธิน บริเวณหน้าตลาดอมรพันธุ์และแยกเกษตร ( เขตจตุจักร)
4. ถนนประชาราษฎร์ สาย 2 บริเวณแยกเตาปูน (เขตบางซื่อ)
5. ถนนราชวิถี บริเวณหน้าราชภัฏสวนดุสิตและเชิงสะพานกรุงธน (เขตดุสิต)
6. ถนนพญาไท บริเวณหน้ากรมปศุสัตว์ ( เขตราชเทวี )
7. ถนนศรีอยุธยา บริเวณหน้า สน.พญาไท ( เขตราชเทวี)
8. ถนนจันทร์ ช่วงจากซอยบำเพ็ญกุศลถึงที่ทำการไปรษณีย์ยานนาวา (เขตสาทร)
9. ถนนสวนพลู ช่วงจากถนนสาทรใต้ถึงถนนนางลิ้นจี่ (เขตสาทร)
10. ถนนสาธุประดิษฐ์ บริเวณแยกถนนจันทร์ (เขตสาทร)
11. ถนนสุวินทวงศ์ ช่วงจากคลองสามวาถึงคลองแสนแสบ (เขตมีนบุรี )
12. ถนนเพชรเกษม ช่วงจากคลองทวีวัฒนาถึงคลองราชมนตรี ( เขตบางแค)
13. ซอยหมู่บ้านเศรษฐกิจ จากถนนเพชรเกษมถึงวงเวียนกาญจนาภิเษก (เขตบางแค)
14. ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล ช่วงจากถนนพระรามที่ 2 ถึงคลองสะแกงาม (เขตบางขุนเทียน)
 
 
 
     รู้แบบนี้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงขับรถผ่านถนนที่มีความเสี่ยงในช่วงฝนตกนะครับ แต่ถ้าเพื่อนๆ คนไหนเลี่ยงไม่ได้ ก็อย่าลืม เช็คระดับน้ำก่อนลุย เพื่อให้รถไปต่อได้ไม่ชะงักกลางทาง แต่นอกจากจะเช็คระดับน้ำแล้ว สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรลืมยามขับรถหน้าฝนคือ ประกันรถยนต์ เช็ควันหมดอายุประกันก่อนออกเดินทาง หากใกล้หมดแล้วควรรีบต่อประกันล่วงหน้า หรือเช็คราคากับพี่หมีได้ที่ ประกันรถยนต์ราคาถูก หรือโทร 1737 ปรึกษาเรื่องประกันภัยได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 
ประกันรถยนต์ชั้น 1
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล