“ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” เรื่องสำคัญที่ทุกคนควรรู้
ทุกวันนี้เราต่างใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลาง
สารกระตุ้นการเกิดมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกาย การรับประทานอาหาร รูปแบบการใช้ชีวิต หรือแม้กระทั่งเดินอยู่ภายนอกอาคารสัมผัสแสงแดด รวมถึงการมี
พื้นฐานทางพันธุกรรมที่อาจมีการก่อโรคขึ้นมาในวันใดวันหนึ่ง ดังนั้นควรศึกษาเรื่อง
โรคมะเร็งซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้
เราอาจเคยเห็นภาพผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเจาะคอ จึงเป็นภาพว่าหากมีญาติเป็นผู้ป่วยมะเร็งสุดท้ายต้องจบที่การเจาะคอเพื่อรักษาหรือเปล่า? ในการรักษาตามอาการนี้แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัย ซึ่งส่วนใหญ่การเจาะคอจะเป็นวิธีลดการกดดันทางเดินหายใจเพื่อช่วยหายใจได้ง่าย และเพื่อทำความสะอาดเสมหะในหลอดลม แต่การรับยา หรือการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคต อาจเสี่ยงเกิด “ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด” ตามมา
จากวารสารสงขลานครินทร์เวชสาร ได้ทำการศึกษาภาวะลิ่มเลือดอุดตันในผู้ป่วยมะเร็ง จะพบในผู้ป่วยมะเร็งมากกว่าผู้ป่วยโรคอื่น 7 เท่า และ อันดับ 1 คือมะเร็งปอด รองลงมาคือ มะเร็งทางเดินอาหาร, มะเร็งเต้านม ตามลำดับ และภาวะลิ่มเลือดอุดตันนี้มีโอกาสเกิดภายใน 12 เดือน สูงถึงร้อยละ 70 หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง
อาการ “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” เป็นอย่างไร?
1. เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีการไหลเวียนเลือดที่ช้าลง (Venous Stasis) หรือ เลือดหนืด เนื่องจากก้อนมะเร็งกดการไหลเวียนของเลือด
2. เลือดแข็งตัวง่ายกว่าปกติ (Hypercoagulable State) เพราะมะเร็งไปกระตุ้นการเกิดลิ่มเลือด
3. ภยันตรายต่อผนังหลอดเลือด (Endothelial injury) หลอดเลือดจะมีการเปลี่ยนแปลงเพราะเกิดการกระตุ้นการสร้างหลอดลอดที่ผิดปกติจะตัวมะเร็ง
ผู้ป่วยที่เสี่ยง “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน”
จากการศึกษาในวารสารดังกล่าว ซึ่งศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีประวัติ 43,808 ราย กับมะเร็ง 11 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งมดลูก, มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งปอด, มะเร็งตับ, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งกระเพาะ, มะเร็งปัสสาวะ, มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งไต พบว่า มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” ได้ ดังนี้
1. อายุที่เพิ่มมากขึ้น
2. การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์
3. ดัชนีมวลกายอยู่ที่ภาวะอ้วน (35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
4. ผู้ป่วยมีภาวะแรกซ้อนหลังผ่าตัด เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ, ภาวะหัวใจหยุดเต้น, ติดเชื้อในกระแสเลือด และการนอนโรงพยาบาลนานกว่า 1 สัปดาห์
และผู้ป่วยมะเร็งปอด มีโอกาสเกิด “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” สูงกว่ามะเร็งชนิดอื่นถึง 20 เท่า และผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม thalidomide, lenalidomide และ bevacizumab จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุดตันของ หลอดเลือด โดยเฉพาะเมื่อให้ร่วมกับยาเคมีบำบัด ซึ่งการวินิจฉัยของแพทย์นั้น สามารถทำได้ด้วยการส่งชิ้นส่วนของผนังหลอดเลือดไปตรวจเพิ่ม หรือ ฉีดสีเข้าที่หลอดเลือดแดงเพื่อตรวจวินิจฉัยก่อนทำการรักษา และจะต้องเฝ้าติดตามการให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
การรักษาภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
อันตรายที่ร้ายแรงที่สุดจาก “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน” ก็คือการเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้เลือดออกในอวัยวะสำคัญของผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไตวาย จะต้องได้รับยาอย่างเหมาะสม และผู้ป่วยที่มีอาการเลือดออกง่าย คุณหมอจะให้ยาในกลุ่ม LMWH ทางหลอดเลือดดำ และผู้ป่วยที่มีภาวะเกี่ยวกับไตเป็นพิเศษจะได้รับการพิจารณาลดขนาดยา การฉีดยานี้จะให้อย่างน้อย 5 – 10 วัน ส่วนการรับประทาน จะให้รับประทานหลังจากเริ่มยาฉีดไปแล้ว 24 ชั่วโมง และจะมีการเฝ้าติดตามระดับยาในกระแสเลือดอย่างสม่ำเสมอให้อยู่ในระดับ 2.0 – 3.0 INR (Internation Normalized Ratio) โดยการปรับยานั้นจะต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์เสมอ ห้ามซื้อยารับประทานเอง เพราะฉะนั้นการตรวจพบมะเร็ง ไม่ว่าระยะใดก็ตาม จะต้องเข้ารับการรักษา และเข้าใจธรรมชาติของโรค ให้พิจารณาดูความเสี่ยงจากพื้นฐานกรรมพันธุ์ และการใช้ชีวิตของตัวเอง ก็สามารถประเมินได้ว่าควรทำประกันมะเร็งไว้ในช่วงความคุ้มครองเท่าไหร่
ประกันมะเร็งส่วนใหญ่จะเน้นให้ความคุ้มครองเรื่องการรักษา และเป็นห่วงสภาพจิตใจของผู้เอาประกันภัยเมื่อเจอกับโรคร้าย ด้วยการจ่ายค่าสินไหมให้ทันทีที่เจอ ยกตัวอย่างประกันมะเร็งมะเร็งหมดห่วง TQM Super Cancer ให้ความคุ้มครองจากกรุงเทพประกันภัย เจอเมื่อไรห่จ่ายค่าสินไหมให้ 100% นอกจากนี้ยังใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท ด้วย สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
https://www.tqm.co.th/promotion/cancer หรือหากมีข้อสงสัยก็สอบถามกับพี่หมีได้ที่ Live Chat หรือโทร 1737
READ MORE :