07/06/62

|

อ่านแล้ว 877 ครั้ง

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

พรบ.รถยนต์ สำคัญแค่ไหน ต่อพรบ.ต้องเตรียมอะไรบ้าง

พรบ.รถยนต์

 
     ย้อนไปเมื่อสมัยที่มีรถยนต์ครั้งแรก ตอนนั้นถนนลาดคอนกรีตสายแรกของประเทศไทย คือถนนราชดำเนิน และหมุดปักกิโลเมตรที่ 0 ก็อยู่ใกล้ ๆ กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ใกล้กับแยกคอกวัวที่มีถนนข้าวสารที่เรารู้จักกัน ในช่วงสงกรานต์ในทุกวันนี้ ไม่น่าเชื่อว่านับจากวันแรกที่นำเข้ารถยนต์มาในประเทศไทย รวมเป็นเวลา 115 ปีมาแล้ว โดยรถยนต์คันแรกที่เข้ามาวิ่งบนถนนตัดใหม่สด ๆ ในครั้งนั้น เป็นยี่ห้อ Mercedes Benz ซึ่งต้องสั่งประกอบ ไม่ได้ผลิตออกมาก่อนขายเหมือนทุกวันนี้ เจ้าของรถยนต์คันแรกในไทยก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยในใบเสร็จของบริษัท ออโต้โมบิลยูเนียน ปารีส ลงชื่อผู้สั่งซื้อว่า พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยาม  เป็นเครื่องยนต์ 35 แรงม้า โดยมี กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) เป็นผู้ขับถวาย รถยนต์คันนั้นได้รับพระราชทานชื่อว่า “แก้วจักรพรรดิ์” และในช่วงแรกมีรถยนต์เพียง 30 คันในเมืองไทยเท่านั้น และทรงสั่งซื้อจากปารีสเพิ่มอีก 10 คัน พระราชทานให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์และใช้ในราชการ ทรงพระราชทานนามให้สอดคล้องกับรถยนต์พระที่นั่งของพระองค์ดังนี้
1) มณีรัตนา
2) ทัศมารุต
3) ไอยราพตกังหัน
4) ราชอนุยันต์
5) สละสลวย
6) กระสวยทอง
7) ลำพองทัพ
8) พรายพยนต์
9) กลกำบัง
10) สุวรรณมุขี
 
     โดยในช่วงแรกนั้นมีการขยายถนนจากราชดำเนิน ไปยังเขตพระนครโดยรอบ อาทิ ถนนเจริญกรุง และรถยนต์ก็วิ่งกันไม่เป็นระเบียบ ไปวิ่งบนที่ดินส่วนบุคคลจนเป็นที่ร้องเรียนกันมาก จึงมีการร่างกฎหมายและถูกใช้เป็น พ.ร.บ. รถยนต์ฉบับแรก ราวปี พ.ศ. 2452 เพื่อบังคับผู้ใช้รถยนต์ให้เป็นระเบียบ และมีการตราทะเบียนรถยนต์เป็นครั้งแรก ป้องกันการถูกขโมยด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ ทำทะเบียนรถยนต์ และ ต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
 

ในช่วงแรก พ.ร.บ. ภาคบังคับ คุ้มครองอะไรบ้าง?

     สมัยนั้น รถยนต์ Mercedes Benz เป็นรถยนต์ยี่ห้อเดียวในไทย จนผู้คนเรียกติดปากว่า “ออโต้โมบิล” (เหมือนที่เรียกผงซักฟอกว่าแฟ่บ และเรียกผ้าอ้อมเด็กว่าแพมเพิร์สในปัจจุบัน) และกำหนดให้ผู้มีรถยนต์ต้องจดทะเบียน ด้วยค่าธรรมเนียมคันละ 10 บาท มีจำนวนรถยนต์ 412 คัน ในกรุงเทพ และปัจจุบันนี้ พ.ร.บ. รถยนต์ก็ได้ถูกเพิ่มเติมเงื่อนไขมาแล้วหลายฉบับ โดยคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 80,000 บาท หากอุบัติเหตุนั้นเกิดสูญเสียชีวิต,อวัยวะ จนผู้เกิดเหตุทุพพลภาพถาวร จะได้รับค่าชดเชยไม่เกิน 300,000 บาทต่อคน และได้รับเงินชดเชยรายได้รายวันกรณีพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในไม่เกิน 200 บาท ต่อวัน
 

เช็คลิสต์! 4 อย่าง ที่ต้องเตรียมให้ครบก่อนต่อ พ.ร.บ.

1) ทะเบียนรถยนต์ (ในกรณีที่รถติดไฟแนนซ์อยู่ใช้สำเนาทะเบียนรถยนต์)
2) หลักฐานการตรวจสภาพรถ จากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) หรือ สำนักงานขนส่งจังหวัด
3) สำเนาบัตรประชาชน ของเจ้าของรถยนต์
4) ค่าธรรมเนียม
            4.1) รถนั่งส่วนบุคคล    645.21 บาท
            4.2) รถกระบะ             967.28 บาท
            4.3) รถตู้                  1,182.35 บาท
 
พรบ.รถยนต์
 
เคลมค่ารักษากับ พ.ร.บ. รถยนต์ ได้อย่างไรบ้าง?
เอกสาร 5 อย่าง ที่ต้องเตรียม เพื่อขอเคลมค่ารักษาพยาบาลกับทาง บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ภายใน 180 วัน 
1) สำเนาบันทึกประจำวัน หรือ ใบแจ้งความที่ได้จากสถานีตำรวจ
2) ใบรับรองแพทย์ ออกโดยแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องจากโรงพยาบาล หรือ คลินิกที่ได้รับการรับรอง
3) ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล จากสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
4) สำเนาบัตรประชาชนของผู้ได้รับบาดเจ็บ
5) สำเนากรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์
 
เคลมค่ารักษากับ พ.ร.บ. รถยนต์
 
พ.ร.บ. รถยนต์ แตกต่างกับประกันภัยรถยนต์ อย่างไร?
     ตามความเข้าใจง่าย ๆ ว่า พ.ร.บ. กับ ประกันภัยรถยนต์นั้นแตกต่างกันอย่างไร? ก็คือ ตัว พ.ร.บ. นี้คุ้มครองสุขภาพและการบาดเจ็บของผู้ขับขี่ และผู้บาดเจ็บ แต่ไม่คุ้มครองเรื่องค่าซ่อมรถยนต์ และวัตถุต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหาย และด้วยมูลค่าที่ พ.ร.บ. จ่ายสูงสุดเพียง 300,000 บาท จากกรณีทุพพลภาพถาวร แต่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาแล้วทางผู้บาดเจ็บเรียกร้องจากคนขับด้วยมูลค่าที่มากกว่านี้ ทางบริษัทประกันภัยจึงมีวงเงินคุ้มครองมาให้ผู้ขับขี่รถยนต์ได้เลือก ตั้งแต่ความคุ้มครองชีวิตและค่ารักษาของผู้บาดเจ็บ จนถึงความคุ้มครองค่าซ่อมรถด้วย >> ดูรายละเอียดความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. กับ ประกันภัยรถยนต์ได้ที่นี่
 
     รถยนต์ทุกคันในประเทศไทยต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่อย่างนั้นแล้วจะไม่สามารถขอทะเบียนรถยนต์ได้ และไม่สามารถต่อภาษีรถได้ และรถจักรยานยนต์ก็เช่นเดียวกัน ตามกฎหมาย พ.ร.บ. รถยนต์นี้มีกำหนดประเภทของรถยนต์ว่ารถแบบไหนต้องทำ พ.ร.บ. ซึ่งปัจจุบันนี้ยังยกเว้นรถยนต์ไฟฟ้าคันเล็ก ๆ สำหรับวิ่งในสนามกอล์ฟ หรือ วิ่งในหมู่บ้าน แต่หากเป็นรถที่ขับออกถนนใหญ่ จะมีข้อบังคับให้ทำ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกคัน หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ดูรายละเอียดได้ที่ www.oic.or.thหรือ www.rvp.co.th
 
ที่มา : รัชกาลที่ 5 กับราชยานยนต์คันแรกในประเทศไทย 
 
READ MORE : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล