24/04/62

|

อ่านแล้ว 243 ครั้ง

รับมือกับยุงลาย สาเหตุของไข้เลือดออก

วิธีรับมือ "ยุงลาย" สาเหตุของไข้เลือดออกช่วงเปิดเทอม

     นอกจากปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จะเป็นสิ่งที่ประชาชนในประเทศไทยต้องพึงระวังแล้ว โรคไข้เลือดออกยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ใครหลายคนต่างเป็นกังวลเช่นกัน โดยเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค มักระบาดในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะเกิดกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่พบบ่อยคือช่วงอายุ  2-8 ขวบ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในแหล่งชุมชนที่มีน้ำขัง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่มียุงชุกชุมอย่างมาก
 
วิธีรับมือ "ยุงลาย" สาเหตุของไข้เลือดออก
 
     สำหรับสาเหตุของโรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี ที่มียุงลายเป็นพาหะของโรค มักพบมากในประเทศเขตร้อน และอบอุ่น แน่นอนว่าหนึ่งในนั้นมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย! และจัดว่าเป็นโรคที่เป็นปัญหาของสาธารณสุขหลายประเทศทั่วโลก! โดยพบผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ กว่าร้อยละ 2,500 ล้านคน
 

อาการของโรคไข้เลือดออก

1. มีอาการไข้สูงลอยประมาณ 2-7 วัน
2. มีอาการเลือดออกบริเวณผิวหนัง
3. มีอาการตับโต กดแล้วเจ็บ   
4. เกิดภาวะช็อค ไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
 
อาการทั้งหมดทั้งมวลนี้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
1. ระยะไข้ : มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส ซึ่งไข้จะสูงลอยอยู่ประมาณ 2-7 วัน ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดอาการชัก ซึ่งมักเกิดขึ้นกับเด็กที่มีประวัติการชักมาก่อน นอกจากนี้ยังมีอาการไอ น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร และอาเจียน บางรายเกิดอาการผื่นคันชนิด Erythema หรือ Maculopapular คล้ายกับผื่น Rubella นอกจากนี้ยังมีอาการเลือดออกบริเวณผิวหนัง และมีจุดเลือดออกเล็กๆ กระจายไปทั่วบริเวณตามลำตัว แขน ขา และรักแร้ รวมถึงอาจมีเลือดออกตามไรฟัน และเลือดกำเดาไหล ที่ร้ายแรงไปกว่านั้นคืออาจมีอาการอาเจียนรวมถึงถ่ายอุจจาระเป็นเลือด! สำหรับอาการตับโตจะพบได้ประมาณวันที่ 3-4 นับตั้งแต่วันที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก ในช่วงที่มีไข้ ตับจะนุ่มกดแล้วมีอาการเจ็บ
2. ระยะวิกฤติ : เป็นระยะที่มีอาการรุนแรง โดยเกิดอาหารภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ซึ่งจะเกิดขึ้นพร้อมกับอาการมีไข้ลดลงรวดเร็ว รวมถึงอาจเกิดอาการช็อคในระยะเวลาที่มีไข้ ซึ่งอาจเกิดได้ในวันที่ 3 หลังจากที่ป่วยมีไข้ 2 วัน หรือวันที่ 8 หลังจากมีไข้ 7 วัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีความเสี่ยงเสียชีวิตได้ภายใน 12-24 ชั่วโมง
3. ระยะฟื้นตัว : ไข้ลดลงรวดเร็ว โดยมีระยะฟื้นตัวประมาณ 2-3 วัน ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นตามลำดับ
 
     ณ ปัจจุบัน ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคไข้เลือดออกได้ เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการพาตัวเองไปเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงที่ไม่คาดฝัน! พี่หมีมีวิธีป้องกันและรับมือกับโรคไข้เลือดออกมาแชร์ครับ
 
1. ตรวจสอบภายในบ้านมีบริเวณไหน หรือสิ่งของที่เกิดน้ำขังหรือไม่ เพราะถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ที่เสี่ยงเกิดโรคไข้เลือดออก
2. เลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถไล่ยุงได้ ไม่ว่าจะเป็น ยากันยุง หรือเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพไล่ยุงได้ รวมถึงฉีดยากันยุงก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกำจัดเจ้ายุงร้ายที่ได้ผลเช่นกัน
3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในมุมอับ หรือมุมมืดที่มียุงเยอะๆ
4. การใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ป้องกันการโดนยุงกัดได้เช่นกัน  
5. ปิดฝาภาชนะที่เก็บน้ำให้สนิทมิดชิด
6. เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 7 วัน
7 ทำความสะอาดภาชนะทุกครัง เพื่อทำลายไข้ยุงลาย
8. ทำความสะอาดบ้าน และจัดข้าวของให้เป็นระเบียบ
9. ใส่ทรายสำหรับกำจัดลูกน้ำยุงลายลงในภาชนะที่มีน้ำขัง
 
      อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าโรคไข้เลือดออกยังไม่มียาที่ใช้รักษา อีกทั้งยังมีความเสี่ยงเป็นอันตรายอถึงชีวิต เพราะฉะนั้นนอกจากวิธีป้องกันที่พี่หมีได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกได้ดี ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก และองค์การอาหารและยาของไทย ว่ามีความปลอดภัย 
 
      เรื่องโรคภัยไข้เจ็บมักเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน และมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่บางครั้งค่อนข้างสูงพอสมควร เพราะฉะนั้นการทำประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมาเป็นลำดับต้นๆ โดยที่ TQM มีประกันสุขภาพอุ่นใจรักษ์ดีไลท์จากวิริยะประกันภัย ที่ให้การคุ้มครองสูงสุดถึง 1.5 ล้านบาท ที่พร้อมดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737
 
READ MORE : 
 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน
สุขภาพ
มะเร็ง
ลดหย่อนภาษี

ชื่อ *

นามสกุล *

เพศ *

วัน/เดือน/ปีเกิด *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล