13/12/59

|

อ่านแล้ว 293 ครั้ง

7 เคล็ดไม่ลับ พร้อมขับทางไกลช่วงปีใหม่

7 เคล็ด (ไม่) ลับ

พร้อมขับทางไกลช่วงปีใหม่

วันหยุดยาวปีใหม่เป็นเหมือนช่วงเวลาแห่งโบนัสประจำปี หลายคนนิยมขับรถออกต่างจังหวัดกลับบ้านหรือไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจกัน ด้วยจำนวนรถปริมาณมาก ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า สภาพอากาศ และปัจจัยหลายๆ อย่างรวมกันทำให้ช่วงนี้เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุอย่างใกล้ชิด 

 

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ

(ข้อมูลกราฟ สถิติสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2559)

 

  ก่อนอื่นมาดูสถิติการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2559 มีจำนวนรวมกันทั้งหมด 15,819 ครั้ง โดยวันที่ 31 ธันวาคม และวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีมักเป็นวันที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในปี พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา คือ เมาแล้วขับ มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุดถึง 1,166 คน รองลงมาเป็นการขับรถเร็วกว่ากำหนด การตัดหน้าระยะกระชั้นชิด หลับใน และฝ่าฝืนกฎจราจร

 

  เห็นตัวเลขจริงจังขนาดนี้ก็อย่าพึ่งตกใจปิดกันก่อนนะ พี่หมีอยากให้ทุกคนรู้ไว้เพื่อระวังมากกว่า อยากให้รู้ว่าปัญหาทั้งหลายเหล่านี้แก้ได้ด้วยการเตรียมตัวให้พร้อม และด้วยความห่วงใยอย่างสุดซึ้ง พี่หมีมี 7 เคล็ดไม่ลับ แก้ง่วงระหว่างขับทางไกลมาฝากกันครับ

 

1. เตรียมสภาพรถยนต์ให้พร้อม

ข้อนี้สำคัญมาก ก่อนเดินทางไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ควรเช็คสภาพรถยนต์ของเราให้พร้อมใช้งานเสมอ เช็คลมยาง เครื่องยนต์ หม้อน้ำ น้ำมันเครื่อง และเบรก แล้วอย่าลืมแพ็คอุปกรณ์สามัญประจำรถติดตัวไปด้วยทุกครั้งนะ เผื่อไว้ดีกว่าขาด

 

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

นอกจากสภาพความพร้อมรถยนต์ คนขับก็ต้องพร้อมด้วยนะ ก่อนวันเดินทางควรพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 - 10 ชั่วโมง หรือหลีกเลี่ยงการเดินทางตอนกลางคืน เพราะช่วงเวลาตั้งแต่ 24.00 - 06.00 น. และช่วงบ่ายๆ หลังทานอาหารจะเป็นช่วงที่เกิดอาการง่วงและหลับในได้ง่าย ดังนั้นไม่ควรรับประทานอาหารจนอิ่มเกินไป และควรพักสักนิดแล้วค่อยเดินทางต่อดีกว่าครับ

 

3. หาเพื่อนร่วมทาง

หากจำเป็นต้องเดินทางไกลมากๆ แนะนำว่าให้หาเพื่อนร่วมทางที่ขับรถเป็นไปด้วย เพื่อเปลี่ยนกันขับ หรืออาจจะชวนกันพูดคุยเป็นระยะ หรือช่วยทำหน้าที่ดีเจเปิดเพลงแก้ง่วงให้กับคนขับไปด้วยก็ได้ แต่อย่ามัวคุยเพลินจนลืมดูทางกันนะครับ

 

4. ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง

เมื่อต้องเดินทางไกลๆ หากเรานั่งท่าที่เราคิดว่าสบาย แต่ว่าจริงๆ แล้วผิดรูปแบบก็จะทำให้เลือดลมเดินไม่ค่อยดี เกิดอาการเมื่อยและเหนื่อยล้าได้ง่ายๆ ควรปรับระยะห่างของเบาะและพนักพิงให้เอนพอดี ด้วยการทดลองเหยียบเบรกจนสุดแล้วขายังสามารถงอได้ ช่วยให้รู้สึกสบายและควบคุมรถได้อย่างไร้กังวล

 

5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาที่ทำให้ง่วง

“สุรา” เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเป็นอันดับหนึ่ง ช่วงเทศกาลอาจจะเลี่ยงได้ยาก แต่ก่อนวันเดินทางสักหนึ่งวันก็ควรเลี่ยงจะดีกว่านะครับ นอกจากนี้พวกยาที่ทำให้ง่วงอย่าง ยาแก้แพ้ ยาแก้หวัด หากจำเป็นต้องรับประทาน ก็ควรพักผ่อนให้เพียงเพื่อความสดชื่นก่อนการเดินทางในวันถัดไปครับ

 

กินกาแฟ

 

6. หาตัวช่วยแก้ง่วงระหว่างขับ

สิ่งที่ขาดไม่ได้ประจำรถยนต์ทุกคันคือ “น้ำดื่ม” พกไว้จิบบ่อยๆ เพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะจะทำให้อ่อนล้าและเพลียได้ง่าย นอกจากนี้อาจจะมีของทานเล่นอย่าง ผลไม้เปรี้ยวๆ หมากฝรั่ง หรือลูกรสมินท์ เคี้ยวเพลินๆ แก้ง่วง ควรเลี่ยงขนมขบเคี้ยวพวกแป้งๆ หรือขนมหวาน กินมากๆ นอกจากจะทำให้อ้วนแล้วยังทำให้ร่างกายอ่อนเพลียด้วย

 

7. เดินทางไกลเพื่อความปลอดภัยควรพักบ้าง

การขับรถต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลียได้ ดังนั้นควรจอดแวะพักยืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำ เดินเล่นที่ปั๊มน้ำมันหรือจุดแวะพักริมทางทุกๆ 2 -3 ชั่วโมง หรืออาจสลับกับเพื่อนที่มาด้วยบ้างก็ได้

 

สิ่งที่พี่หมีจะย้ำตลอดคือต้องมี “สติ” ทุกครั้งตลอดการขับรถนะครับ ยังไงปีใหม่นี้พี่หมีขอให้ทุกคนเดินทางเที่ยวกันให้สนุกสนานและปลอดภัยจากอุบัติเหตุครับ หากมีข้อสงสัยหรืออยากมีประกันภัยรถยนต์ไว้ให้อุ่นใจก่อนขับรถเดินทางไกล สามารถต่อตรงสายด่วน Hotline 1737 หรือสอบถามได้ที่นี่ www.tqm.co.th ได้เลยครับ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก :

ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยทางท้องถนน

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน

https://auto.sanook.com/3709/

https://health.kapook.com/view86334.html

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลส่วนตัว

ชื่อ *

นามสกุล *

เบอร์โทรศัพท์มือถือ *

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล