เรียกได้ว่าตอนนี้หลายพื้นที่ในประเทศไทยต้องพบกับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวกันแล้วแน่ๆ ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่ก้าวเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเต็มตัว อากาศที่ร้อนจัดแบบนี้ไม่ส่งผลดีต่อร่างกายเราอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าหากเราต้องใช้ชีวิตอย่างกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ส่งผลทำให้ร่างกายเราเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดด (Heat Stroke) ได้อย่างง่ายดาย วันนี้พี่หมี TQM เลยจะพาเพื่อนๆ มาเช็คอาการ สาเหตุ วิธีป้องกันและการรักษาของโรคลมแดด กันครับ
โรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด) มีอาการอย่างไร
- มีไข้สูง อุณหภูมิสูงกว่า 40.5°C ซึ่งอาการไข้สูงนี้จะอยู่เพียงขณะที่เกิดโรคลมแดดนี้เท่านั้น
- อากาศร้อนแต่ไม่มีเหงื่อออก
- มีความผิดปกติของระบบประสาท เช่น มีอาการลุกลี้ลุกลน กระสับกระส่าย เห็นภาพหลอน พูดจาไม่รู้เรื่อง พูดไม่ชัดเจน เป็นต้น
- ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร
- มีความกระหายน้ำ
- ผิวหนังและหน้าเปลี่ยนเป็นสีออกแดง
- ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ หายใจถี่
- ในขั้นสุดท้ายอาจเกิดผลต่อ ระบบหัวใจ ไตวายและเสียชีวิตได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด)
สาเหตุสำคัญของโรคลมแดดนั้น ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ และหัวหน้าหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึงสาเหตุโรคลมแดด จะเกิดได้จากอุณหภูมิที่ร้อนถึงร้อนจัด และร่างกายถูกแสงแดดมากเกินไป หรืออยู่ในที่อากาศร้อนอบอ้าว อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก และสวมใส่เสื้อผ้ามากชิ้นเกินไป เสื้อผ้าระบายความร้อนได้ไม่ดี หรือการหักโหมออกกำลังกายอย่างหนักทำให้กล้ามเนื้อสร้างความร้อนมากก็อาจทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
สถานการณ์โรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด)ในประเทศไทย
โดยข้อมูลจากระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์ Health Data Center (HDC) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบตัวเลขผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนในประเทศไทย ระหว่างปี 2560-2566 มีดังนี้
- ปี 2560 พบผู้เสียชีวิตจากจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 24 ราย
- ปี 2561 พบผู้เสียชีวิตจากจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 18 ราย
- ปี 2562 พบผู้เสียชีวิตจากจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 57 ราย
- ปี 2563 พบผู้เสียชีวิตจากจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 12 ราย
- ปี 2564 พบผู้เสียชีวิตจากจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 7 ราย
- ปี 2565 พบผู้เสียชีวิตจากจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 8 ราย
- ปี 2566 พบผู้เสียชีวิตจากจากภาวะอากาศร้อน จำนวน 37 ราย
วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด)
- เลี่ยงการออกกำลังกายหรือทำงานหนักบริเวณกลางแจ้ง ในช่วงที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน
- ดื่มน้ำบ่อยๆ แม้ไม่รู้สึกกระหาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
- สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งบางและสีอ่อน เพื่อระบายความร้อนได้ดี
- พักผ่อนในร่มหรือบริเวณที่มีการระบายอากาศดี หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในช่วงที่อากาศร้อนจัด
- ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัวควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ซึ่งจะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่ายขึ้น
- ติดตั้งระบบระบายอากาศหรือเครื่องปรับอากาศในบ้าน สถานที่ทำงาน ให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก
- สังเกตอาการของตนเองและผู้อื่นรอบข้าง หากพบอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียน คลื่นไส้ หน้ามืด ให้รีบหยุดกิจกรรมและย้ายไปในที่ร่มเย็นๆ หรือหากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
วิธีการรักษาโรคฮีทสโตรก (โรคลมแดด)
- รีบย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีอากาศร้อนไปยังบริเวณเย็น อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่โดนแสงแดด โดยเร็วที่สุด
- ให้คนป่วย นอนราบ ยกเท้าสูง ทั้งสองข้างเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
- ถอดเสื้อผ้าออกให้หมด เพื่อให้ร่างกายระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็ง ประคบตามจุดต่างๆ ของร่างกาย เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงเปิดพัดลมช่วยระบายความเย็น
- หากผู้ป่วยยังมีสติอยู่ ให้ดื่มน้ำมากๆ หรือหากยังไม่ได้สติให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
และนี่ก็คือความน่ากลังของโรคลมแดด ที่มักเกิดในช่วงหน้าร้อน โดยเราสามารถป้องกันตัวเองจากโรคลมแดดได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ซึ่งโรคลมแดดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย หากเพื่อนๆมีอาการเสี่ยงโรคลมแดดตามข้างต้นที่พี่หมีนำมาฝากควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที และหน้าร้อนนี้เพิ่มความอุ่นใจด้วยการมี ประกันสุขภาพ ดูแลช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย จากการรักษาตัวในโรงพยาบาล สนใจกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อค้นหาแผนประกันสุขภาพที่ตรงใจคุณ หรือหากต้องการปรึกษาเรื่องประกันภัยกับ TQM สามารถแชทกับพี่หมีได้ที่นี่ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านเบอร์ Hotline 1737 ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงครับ
READ MORE :