เชื่อว่าการมีบ้านสักหลัง เป็นความฝันของใครหลายคน และต้องใช้เงินจำนวนมากกว่าจะได้มันมาครอบครอง บางคนขอสินเชื่อแล้วก็ผ่อนบ้านนานกว่าสิบปี แต่ถ้าบ้านหลังนั้นต้องมาพังเพราะเหตุการณ์ ไฟไหม้ ที่เกิดขึ้นจากความประมาทเพียงเสียววินาที หละ ไม่อยากจะประเมินความเสียหาายกันเลยทีเดียว วันนี้พี่หมี
TQM จึงรวบรวม
สถิติไฟไหม้ย้อนหลัง 5 ปี พร้อมสาเหตุและวิธีเอาตัวรอด เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนใช้เตือนสติ ไม่ประมาท และสามารถผ่านเหตุการณ์ไม่คาดฝันนี้ไปได้
ข้อมูลจาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. พบว่า ในพื้นที่ กทม. “อัคคีภัย” นับเป็นสาธารณภัยที่เกิดขึ้นบ่อยอันดับต้นๆ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก ไฟไหม้หญ้าและการเผาขยะ รองมาคือ ไฟฟ้าลัดวงจร พบสาธารณภัยประเภทไฟไหม้หญ้า/ขยะ และไฟฟ้าลัดวงจร ดังนี้
ปี 2560 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้ง
ปี 2561 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้ง
ปี 2562 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 3,085 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 638 ครั้ง
ปี 2563 มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,554 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 629 ครั้ง
ปี 2564 ช่วง 3 เดือนแรก มีการเกิดอัคคีภัย โดยสาเหตุเกิดจากไฟไหม้หญ้า/ขยะ 712 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 104 ครั้ง
แต่นอกจากสาเหตุไฟไหม้หญ้า/ขยะ และ ไฟฟ้าลัดวงจร ยังมี สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ ดังนี้
- ลุกลามจากการเผาขยะและหญ้าแห้ง
- ไฟฟ้าลัดวงจร
- ทิ้งบุหรี่และไม้ขีดไฟไม่เป็นที่
- ลุกลามจากธูปเทียนบูชาพระ
- ดับไฟในแก๊สหุงต้มไม่สนิท
- ใช้น้ำมันเพลิงไม่ถูกวิธี เช่น นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อก่อไฟ
สถานที่เสี่ยงเกิดอัคคีภัยในกทม.ส่วนมากอยู่ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น อาคารขนาดใหญ่ อาคารสูง โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์การค้า สถานบันเทิง ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามักเป็นสถานที่มีการใช้ไฟฟ้า หรือเชื้อเพลิงจำนวนมาก โดยฤดูร้อน ฤดูแล้ง และในห้วงเทศกาลสำคัญถือเป็นช่วงที่ต้องมีการจับตาและเฝ้าระวังการเกิดอัคคีภัยถี่ขึ้น
ทั้งนี้ หากแยก สถิติเพลิงไหม้อาคารตามเขตพื้นที่ในกทม.มากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
ปี 2560 มีนบุรี 15 ครั้ง บางแค 13 ครั้ง วัฒนา 12 ครั้ง
ปี 2561 จตุจักร 16 ครั้ง คลองเตย 14 ครั้ง มีนบุรี 12 ครั้ง
ปี 2562 คลองสามวา บางกะปิ ลาดกระบัง เขตละ 14 ครั้ง
ปี 2563 บางแค ป้อมปราบศัตรูพ่าย ภาษีเจริญ เขตละ 11 ครั้ง
ปี 2564 ช่วง 3 เดือนแรก บางกะปิ 5 ครั้ง จอมทอง/บางเขน/บางพลัด/ประเวศ เขตละ 4 ครั้ง
สิ่งสำคัญเมื่อต้องเผชิญเหตุไฟไหม้ (วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้)
ต้องมี สติ เพราะหลายครั้งที่เกิดไฟไหม้ ทำให้หลายคนตกใจ ไม่มีสติ และพยายามหนีตามสัญชาตญาณ ซึ่งบางครั้งการหนีนั้นอาจเป็นการเดินเข้าหากองเพลิง
รู้จักสังเกต ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือสถานที่ทำงาน อาคารหลายชั้น เมื่อต้องเดินเข้า-ออก ต้องสังเกตที่ตั้งบันไดหนีไฟและทางออกฉุกเฉิน หากเกิดเพลิงไหม้ จะได้คิดออกทันทีว่าต้องเดินไปทางไหน หากมีควันไฟจำนวนมาก ให้พยายามก้มตัวลงต่ำ และคลานไปบันไดหนีไฟหรือทางออก
กรณีเกิดควันไฟเยอะ ให้หาผ้าไปชุบน้ำมาปิดจมูกไว้ แล้วคลานลงต่ำไปจนถึงทางออกฉุกเฉิน
วิธีป้องกันการเกิดไฟไหม้บ้าน
- เก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟลุกไหม้ เช่น หนังสือพิมพ์ เสื้อผ้าเก่าๆ น้ำยาทำความสะอาดบ้าน เป็นต้น
- หมั่นตรวจตราและซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟ และสวิทซ์ไฟ
- ถอดปลั๊กเมื่อไม่ได้ใช้งานทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ
- ปิดแก๊สหุงต้มเมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง เพราะสาเหตุต้นๆ ของอัคคีภัยในบ้านคือความประมาทจากการลืมปิดแก๊สหุงต้มหลังทำอาหาร
- หลีกเลี่ยงการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้
- ไม่จุดธุปเทียนบูชาหรือทิ้งก้นบุหรี่ไว้ภายในบ้าน รวมถึงไฟแช็กหรือไม้ขีดไฟ ควรเก็บให้ห่างจากความร้อนหรือประกายไฟ
- ติดตั้งเครื่องตัดไฟ ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร สาเหตุที่สร้างความสูญเสียอย่างรุนแรงได้
- ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟภายในบ้าน
- เซฟเบอร์สถานีดับเพลิงใกล้บ้าน หรือ เบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉิน 199
รู้จักสาเหตุและวิธีป้องกันกันไปแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่พี่หมีอยากเพิ่มเติมให้คือ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อประสบเหตุไฟไหม้บ้าน ห้ามเข้าไปหลบในบริเวณที่เป็นมุมอับอย่างห้องน้ำโดยเด็ดขาด เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีหน้าต่างน้อย ส่งผลให้เกิดการสำลักควัน และมีความเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
เพื่อความอุ่นใจของคนในบ้านพี่หมีแนะนำให้ทำประกันภัยที่อยู่อาศัย โดย
TQM มี
ประกันบ้าน ที่ให้การคุ้มครองได้อย่างครอบคลุม ทั้งเหตุไฟไหม้ ระเบิด ภัยธรรมชาติ น้ำท่วม และการโจรกรรมทรัพย์สินภายในบ้าน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง หรือคลิก
ซื้อประกันบ้านออนไลน์