อันตรายใกล้ตัวที่คุณอาจละเลย
ใครจะไปคาดคิดว่าปลั๊กไฟแค่ตัวเดียว จะทำให้เกิดไฟไหม้บ้านมอดไปทั้งหลัง! ซึ่งถือเป็นความประมาทที่หลายคนต่างละเลย ส่งผลเสียครั้งใหญ่ต่อตัวบ้าน รวมถึงบ้านใกล้เรือนเคียง
ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านทรงไทยสองชั้นที่ปลูกในลักษณะครึ่งปูนครึ่งไม้ โดยต้นเพลิงมาจากที่เจ้าของบ้านได้เสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ และทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร! เพราะฉะนั้น เมื่อใช้ไฟเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ควรถอดปลั๊กออกทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายแรง ที่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สิน และความปลอดภัยของสมาชิกภายในบ้าน
นอกจากนี้การใช้ปลั๊กไฟผิดวิธี ก็มีส่วนทำให้เกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจร ที่ก่อให้
เกิดเหตุไฟไหม้ได้เช่นกัน! เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน พี่หมีมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ปลั๊กสายไฟพ่วง สำหรับใช้งานในบ้านที่ถูกต้องมาบอกครับ
เลือกซื้อปลั๊กไฟที่มีประสิทธิภาพ
ควรเลือกซื้อปลั๊กไฟที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ซึ่งควรมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรมีฟิวส์ช่วยตัดกระแสไฟ เมื่อใช้ไฟฟ้าเกินกำหนด นอกจากนี้ชุดสายพ่วงควรมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น อีกทั้งเต้าเสียบ และเต้ารับ ต้องมีแรงดันไฟ้ฟ้าที่ได้มาตรฐาน ไม่เกิน 250 โวลต์ รวมถึงรางเต้าต้องมีการผลิตจากพลาสติก AVC ซึ่งเป็นวัสดุที่ทนต่อความร้อนได้ดี มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดไฟไหม้จากปลั๊กไฟ
ใช้งานอย่างระมัดระวัง
เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งมีความเสี่ยงทำให้เกิดไฟไหม้ ควรมีความระมัดระวังในการใช้งาน ดังนี้
- ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งก่อนเสียบปลั๊ก
- ตรวจเช็คปลั๊กไฟก่อนใช้งานว่าเต้าเสียบ เต้ารับแน่น หรือหลวมเกินไปหรือไม่ ซึ่งหากปลั๊กไฟหลวมเกินไป ก็จะทำให้เกิดความร้อน และเป็นประกายไฟ อาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงเกิดเหตุไฟไหม้บ้าน
- ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดพร้อมกัน เนื่องจากส่งผลให้เกิดความร้อนสูงถึงขั้นละลาย สายทองแดงที่อยู่ด้านในทั้งสองเส้นแตะกัน จึงมีส่วนทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดเพลิงไหม้
- ถอดปลั๊กไฟทุกครั้งที่ใช้งานเสร็จ รวมถึงถอดเต้าเสียบสายพ่วงที่ติดผนัง เพื่อจะได้ตัดกระแสไฟฟ้า และช่วยป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้
- ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกจากปลั๊กสายพ่วงทุกครั้งหลังใช้งาน พร้อมถอดเต้าเสียบของสายพ่วงออกจากปลั๊กที่ติดกับผนัง เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าและป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
- หากพบว่าสายไฟมีความผิดปกติ อาทิ มีเสียงดัง, สายไฟร้อน หรือเกิดประกายไฟ ให้รีบหยุดใช้งานทันที
ข้อควรระวังในการใช้งาน
1. ไม่ควรใช้งานปลั๊กไฟที่ชำรุด เพราะมีความเสี่ยงทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเพลิงไหม้
2. ห้ามติดตั้งรางปลั๊กไฟแบบถาวร เพราะทำให้เสื่อมสภาพการใช้งานเร็วกว่าปกติ และเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดไฟไหม้อีกด้วย
3. ห้ามใช้ปลั๊กไฟสายพวงกับเครื่องใช้ที่มีขนาดใหญ่ หรือต้องใช้กระแสไหตลอดเวลา เพราะอาจทำให้เกิดความร้อนสูง ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเสี่ยงทำให้เพลิงไหม้
เพื่อป้องกันเหตุการณ์เพลิงไหม้ ที่เกิดจากความประมาท พี่หมีมีข้อห้ามที่ไม่ควรทำ เพราะเสี่ยงทำให้เกิดไฟไหม้บ้านมอดทั้งหลังมาบอกครับ
- ห้ามเปิดเครื่องไฟฟ้าทิ้งไว้เป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้
- ห้ามวางเครื่องใช้ไฟฟ้าติดกัน เพราะมีส่วนทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้ และเสี่ยงเกิดไฟไหม้บ้าน
- ห้ามต่อสายเครื่องใช้ไฟฟ้าจากปลั๊กพ่วงเยอะเกินไป เพราะมีส่วนทำให้เกิดความร้อนสูง ส่งผลให้ไฟฟ้าลัดวงจร และเสี่ยงเกิดเพลิงไหม้
- ห้ามใช้ปลั๊กไฟชำรุด เพราะมีส่วนทำให้เกิดไฟช็อต ทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน รวมถึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไฟไหม้บ้านเช่นกัน
- ห้ามจุดเทียนทิ้งไว้เป็นอันขาด เพราะถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไฟไหม้บ้านมอดทั้งหลัง
- ห้ามเปิดเตาแก๊สทิ้งไว้! เพราะถือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเหตุไฟไหม้บ้านในลำดับต้นๆ
ทั้งนี้ทั้งนั้น หากต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านแบบไม่คาคฝัน สิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรกคือตั้งสติ และปฏิบัติตามดังนี้
- ห้ามเปิดประต หน้าต่างเป็นอันขาด เนื่องจากออกซิเจนมีผลทำให้ไฟลุกโหมหนักกว่าเดิม
- ให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูก หรือใช้ถุงพลาสติกใสอัดอากาศบริสุทธิ์มาครอบศีรษะ เพื่อช่วยไม่ให้เกิดอาการสำลักควัน จากนั้นให้หมอบคลานต่ำไปยังเส้นทางที่สามารถออกไปยังบริเวณด้านนอกได้
- ห้ามหลบไปอยู่บริเวณที่เป็นมุมอับอย่างห้องน้ำโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอาการสำลักควัน ซ้ำร้ายกว่านั้นคือโดนไฟคอกจนเสียชีวิต
เพียงใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท ก็ช่วยให้แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้เช่นกัน! แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อความอุ่นใจของคนในครอบครัว การทำประกันภัยที่อยู่อาศัย ก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย โดย
TQM มี
ประกันบ้าน ที่ให้การคุ้มครองได้อย่างครอบคลุม คุ้มครองทั้งบ้านและทรัพย์สิน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง
READ MORE :