ในธุระที่เราต้องไปติดต่อกับกรมขนส่งนั้น ไม่ได้มีแค่ไปต่อใบขับขี่เพียงอย่างเดียว เราต้องเอารถไป
ตรวจสภาพที่ ตรอ. แล้วขอ
ต่อภาษีรถยนต์กับกรมขนส่งทุกปี ทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เชิงพาณิชย์หรือรถส่วนบุคคลก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากไม่ทำตามจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ภาษีรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี เสียค่าปรับเท่าไหร่
หน่วยงานที่มีสิทธิ์ปรับ
|
ค่าปรับ
|
ขาดต่อ 3 ปี กรมขนส่ง ปรับ..
|
1,000
|
*ขาดต่อปีเดียว ตำรวจจับได้ ปรับ..
|
100
|
*ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตที่กำหนด ตำรวจจับได้ปรับ..
|
ไม่เกิน 2,000 บาท
|
*ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายภาษี ตำรวจจับได้ ปรับ..
|
ไม่เกิน 2,000 บาท
|
*ตาม พ.ร.บ. รถยนต์ ปี พ.ศ. 2522
ขาดต่อภาษี 3 ปี ทะเบียนรถยนต์ใช้ไม่ได้
หากค้างจ่างเกิน 3 ปี เขาเรียกว่า “ภาษีระงับ” ที่ระงับคือไม่ให้ใช้ทะเบียนรถเบอร์นั้นไปแล้ว ต้องดำเนินขอทะเบียนใหม่หมดเลย เสียทั้งเงินค่าธรรมเนียม และเสียเวลา
ค่าใช้จ่ายต่อทะเบียนรถใหม่มีอะไรบ้าง?
หากคุณขาดต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์เกิน 3 ปี จะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมอย่างน้อย 525 บาท แต่หากเป็นรถยนต์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอย่างน้อย 565 บาท ถ้าไม่ดำเนินการก็ต้องถูกปรับ 1,000 บาท เมื่อถูกจับ
• ค่าจดทะเบียนรถใหม่ 315 บาท
• ค่าสมุดจดทะเบียนรถ 100 บาท
• ค่าแผ่นป้ายทะเบียน 100 บาท
• ค่าหลักฐานการประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
• ค่าภาษีของรถแต่ละประเภท
• ค่าธรรมเนียมตรวจสภาพ รถยนต์ 50 บาท รถจักรยานยนต์ 10 บาท
หลักฐานขอทะเบียนรถใหม่
ไม่ใช่ว่าไปที่กรมขนส่งแล้วถือเงินค่าธรรมเนียมไปอย่างเดียว จะต้องมีเอกสารอื่น ๆ เกี่ยวกับตัวคุณและรถยนต์อีกด้วย 7 ข้อ ดังนี้
- สมุดคู่มือที่ราชการออกให้ว่าระงับทะเบียน ซึ่งคุณต้องไปชำระภาษีค้างชำระ 3 ปีที่ผ่านมาด้วย ที่สำนักงานขนส่งพื้นที่
- ชำระภาษีค้างจ่ายตามอัตราภาษีรถแต่ละประเภท และเสียภาษีเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน
- ถ้าจะใช้รถต่อ ก็ต้องแจ้งขอใช้รถอีกครั้งหลังถอนอายัติ และจ่ายค่า พ.ร.บ. รวมกับค่าธรรมเนียม
- เตรียมสมุดคู่มือจดทะเบียนรถที่บันทึกการระงับทะเบียนตัวจริง มาด้วย
- เตรียม พ.ร.บ. ที่ซื้อมาแล้วมาด้วย
- เตรียมเอกสารสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ หากเป็นนิติบุคคล ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลอายุไม่เกิน 6 เดือน
- หากไม่ใช่รถของคุณ ต้องการจดทะเบียนในชื่อเจ้าของใหม่ ให้แสดงหลักฐานการได้มาของรถ เช่น หนังสือจะซื้อจะขาย หรือ หลักฐานขายทอดตลาด
**หากเจ้าของรถไม่สะดวก จะทำหนังสือมอบอำนาจจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ 10 บาท ลงลายมือชื่อเจ้ามอบอำนาจด้วย
เห็นได้ชัดว่า กฎหมายจริงจังกับการต่อภาษี (หรือที่เรียกว่าต่อ พ.ร.บ.) มาก เพราะหากรถไม่มี
ประกันภัยภาคบังคับ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ทั้งคนขับ และผู้บาดเจ็บ จะไม่มีค่ารักษาช่วยเหลือเยียวยาเลย ดังนั้นเจ้าของรถควรจะมีความรับผิดชอบต่อรถยนต์ / รถจักรยานยนต์ด้วย
การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์และไปต่อภาษีทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง และเป็นการแสดงความรับผิดชอบของสังคม
READ MORE :