4 ขั้นตอนต่อเล่มทะเบียนไม่เซียนก็ทำได้
หลายๆคนคงมีปัญหานี้ ใช้รถมาเกือบจะครบปีไม่รู้จะต่อภาษี ต่อเล่มทะเบียนที่ไหน อย่างไร ไม่ยากครับไม่ยาก พี่หมีรวมรวบขั้นตอนง่ายๆมาฝาก จะผู้ขับขี่มือเก่าหรือว่ามือใหม่ ก็ทำตามกันได้สบายเลยล่ะ
1.เตรียมเอกสารให้พร้อม
เบื้องต้นจะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวกับรถยนต์ให้พร้อมก่อน โดยเอกสารที่จะต้องใช้ก็ได้แก่
- สมุดทะเบียนรถพร้อมสำเนา
- หลักฐานการทำพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
ในกรณีที่รถยนต์จดทะเบียนมาแล้ว 7 ปีขึ้นไป ต้องนำรถไปตรวจสภาพที่ ตรอ.ซึ่งจะมีป้ายติดแจ้งให้ทราบตามอู่รถทั่วไป
ในกรณีที่รถเป็นรถติดแก็ส จะต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ และทดสอบถังก๊าซเป็นประจำทุกปีสำหรับ NGV และทุกๆ 5 ปี สำหรับแก็ส LPG เพื่อให้มีใบรับรองสภาพจากวิศวกรที่ได้รับอนุญาตจากทางรัฐ หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า
“ใบวิศวะ” นั่นเองครับ
2. คำนวณภาษีที่จะต้องจ่าย
เตรียมเอกสารแล้วก็เตรียมทรัพย์ให้พร้อม ซึ่งยอดเงินภาษีที่เราต้องจ่ายก็จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ พี่มีจึงขอแจกแจงรายละเอียดในการคำนวณออกเป็นประเภท ให้เข้าใจง่ายขึ้นนะครับ
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) โดยรถ 600 cc แรกอยู่ที่ cc ละ 0.5 บาท , 601-1800 cc ละ 1.50 บาท และ เกิน 1800 cc ขึ้นไป คิด cc ละ 4 บาท
ตัวอย่างการคำนวณ
รถยนต์ Honda Accord เครื่อง 2300cc อายุ 3 ปี
1. 600 cc แรก cc ละ 0.5 บาท = 600x0.5 = 300 บาท
2. 601-1800 cc ละ 1.50 บาท = (1,800-600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
3. เกิน 1800 cc ละ 4 บาท = (2,300 - 1,800) x 4 = 500 x 4.00 = 2,000 บาท
รวม 300 + 1,800 + 2,000 = 4,100 บาท
ในกรณีรถที่ใช้งานนานเกิน 5 ปี จะลดราคาลงทีละ 10 % ตั้งแต่ปีที่ 6 ปีที่ 7 จะเท่ากับลด 20% ปีที่ 8 ก็ลดลง 30% แต่ถ้าไปเสียภาษีล่าช้า จะต้องเสียค่าปรับถึง 1% ต่อเดือน แถมเศษวันยังนับเป็น 1 เดือนอีกด้วย ฉะนั้นต้องระวังนะครับ
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง จะคำนวณภาษีตามน้ำหนักรถ โดยเริ่มต้นที่ 501 - 750 กิโลกรัม 450 บาท แล้วเพิ่มขึ้น 150 บาท ทุกๆ น้ำหนัก 250 กิโลกรัม ไปจนถึง 2001 - 2500 กิโลกรัม อัตราภาษีจะอยู่ที่ 1,650 บาท
รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน
รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ก็คำนวณภาษีตามน้ำหนักเช่นกัน รถยนต์ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 1,800 กิโลกรัม อัตราภาษีอยู่ที่ 1,300 บาท แต่ถ้าหนักเกิน 1,800 กิโลกรัม ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 1,600 บาทครับ
3.ตรวจสอบสภาพรถ
ขั้นตอนต่อไปคือตรวจสภาพรถครับ รถยนต์ที่มีการใช้งานตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป ควรตรวจสภาพกับอู่ทั่วไปที่มีป้าย ตรอ. (ตรวจสภาพรถเอกชน) เป็นเวลาล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือนก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี ขณะที่รถติดแก็สจะต้องตรวจสภาพถังแก็สเพื่อให้ได้ใบรับรองสภาพที่วิศวกรลงนาม โดยรถติดแก็ส NGV ต้องตรวจสภาพปีละครั้ง ส่วนรถติดแก็ส LPG ควรเข้ารับการตรวจสภาพทุกๆ 5 ปี
แต่ในกรณีที่เป็นรถดัดแปลงสภาพ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับตัวเลขจางหายหรือมองไม่เห็น รถที่เจ้าของไม่ได้แจ้งการใช้งาน รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการโจรกรรม หรือขาดการต่อทะเบียนเกิน 1 ปี ไม่สามารถเข้ารับการตรวจสภาพที่ตรอ.ได้ ต้องเดินทางไปตรวจที่กรมขนส่งเท่านั้นนะครับ
4.เลือกช่องทางการต่อทะเบียน
ทีนี้เราก็ไปต่อทะเบียนกันได้แล้วละครับ พี่หมีแนะนำให้เตรียมเงินไปให้พร้อมเพราะการต่อเล่มทะเบียนส่วนใหญ่ต้องใช้เงินสด ส่วนจะต่อที่ไหนก็เลือกได้ตามเวลาที่สะดวกครับ หากต้องการต่อทะเบียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์ในช่วงเวลาราชการ สามารถไปต่อได้ที่กรมการขนส่งทางบอกและที่ทำการไปรษณีย์แต่ถ้าไม่สะดวกในเวลาราชการจะเลือกต่อทะเบียนที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ก็สามารถจัดการได้ 24 ชั่วโมงเลยครับ
นอกจากนี้คุณยังสามารถต่อเล่มทะเบียนเว็บไซต์ของกรมการขนส่งได้ด้วยนะครับ แต่มีข้อจำกัดคืออายุการใช้งานของรถต้องไม่เกิน 7 ปีเท่านั้น ซึ่งช่องทางนี้สามารถชำระเงินได้ทั้งเงินสดและบัตรเครดิตเลยล่ะครับ
รู้ขั้นตอนแบบนี้แล้วรอบหน้าอย่าให้พลาด เตรียมตัวไปให้พร้อมแล้วจัดการให้เรียบร้อย ถ้าต่อทะเบียนล่าช้าต้องเสียค่าปรับ เป็นการเสียทรัพย์โดยใช้เหตุนะครับ ต่อเล่มทะเบียนกันไปแล้ว ก็อย่าปล่อยให้รถประกันขาด เลือก
ประกันภัยชั้น 1 ช่วยดูแลรถคุณอีกแรง เพียงแค่นี้ใช้รถอีกกี่ปีก็หมดปัญหา ถ้าสนใจประกันรถยนต์แบบไหนแต่ยังไม่มีข้อมูล ตามพี่หมีไปดูที่
www.tqm.co.th/ ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.thaisabuy.com/automotive/vehicle-registration/
https://car.kapook.com/view65709.html